แม้ว่าโลกทุกวันนี้ ชายหญิงต่างเท่าเทียม และสามารถทำงานประเภทเดียวกันได้ แต่ในบางครั้ง บางโอกาส รวมไปถึงจังหวะชีวิตของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน บางครอบครัวต้องประสบปัญหาเมื่อคู่ชีวิตไม่สามารถหารายได้เพิ่มเติม หรือบางครอบครัว ต้องการให้คู่ชีวิตของตนนั้น อยู่ดูแลเรื่องในบ้าน ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร แต่ว่า… เราจะจัดการกับการเงินอย่างไรดีนะ ให้เงินเพียงพอใช้ทั้งบ้านได้อย่างสมดุลมากที่สุด มาดูกันดีกว่า

1.ตกลงกันเรื่องของเงินให้เรียบร้อย ในกรณีที่คู่ชีวิตนั้นไม่มีรายได้ ปัญหาหลักๆ ที่ตามมานั้นก็มักจะเป็นเรื่องเงินๆ ทองๆ โดยเฉพาะการแบ่งเงินให้กับคู่ชีวิต รวมถึงการจัดการว่าใครจะเป็นผู้ถือกระเป๋าหลักของบ้านกันแน่? ซึ่งในข้อนี้ คุณและคู่ชีวิตควรจะตกลงให้แน่ชัดว่า ในแต่ละเดือนจะมีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ และจะแบ่งไปใช้ภายในบ้านอีกเท่าไหร่ โดยเบื้องต้นให้ลองพิจารณาจากการใช้จ่ายเงินว่า ใครสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ดีมากกว่ากัน ก็ให้คนนั้นเป็นคนที่ถือกระเป๋าเงินหลักของบ้านไป และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมตกลงกันเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแต่ละคนให้เรียบร้อย ว่าจะจำแนกแจกจ่ายอย่างไร หรือแบ่งให้เท่าไหร่ เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาในครอบครัวภายหลัง

2. แบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายคนละครึ่ง
ในกรณีที่ไม่ต้องการให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ถือกระเป่าเงินหลักของบ้าน ลองแบ่งให้ถือกันคนละครึ่งดูสิ โดยให้ฝ่ายคู่ชีวิตดูแลรับผิดชอบเรื่องค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหารการกินต่างๆ ในขณะที่คุณอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเทอม ค่าขนม ของลูกหลาน รวมถึงเงินดูแลพ่อแม่ก็ได้ ทั้งนี้ การแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายนั้น นอกจากจะลดปัญหาการเผลอใช้จ่ายเงินในครอบครัวจนหมดแล้ว ยังช่วยให้คุณคุมรายจ่ายงาน เพราะต่างฝ่ายก็แค่รับผิดชอบเงินที่ถืออยู่กับมือ เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ทริค ลองแบ่งเงินเป็นก้อนๆ เพื่อใช้จ่ายในส่วนต่างๆ แล้วค่อยแบ่งให้คุณและคู่ชีวิตนำไปใช้จ่ายสิ จะช่วยให้ไม่เผลอใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ แถมยังเป็นสัดส่วน เข้าใจตรงกันได้ง่าย ป้องกันการสับสนในช่วงใช้จ่ายเงินได้อีกด้วย เช่น หนี้สินที่จำเป็นต้องจ่าย 40%, เงินเก็บออม 10%, เงินใช้ส่วนตัวคนละ 5%, เงินใช้จ่ายในชีวืตประจำวันของทั้งครอบครัว 40% เป็นต้น
3. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร่วมกัน ในเมื่อจัดสรร แบ่งปันเงินใช้จ่ายร่วมกันแล้ว หากบอกเอาปากเปล่าก็อาจจะทะเลาะกันเปล่าๆ ได้ ดังนั้น ลองหันมาทำบัญชีรายรับรายจ่ายร่วมกัน โดยในแต่ละเดือน ทั้งคุณ และคู่ชีวิตก็ต่างแจกรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วนำมาปรึกษากันในต้นเดือนถัดไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ได้เช่นกัน นอกจากการทำบัญชีเพื่อชี้แจงกันเองระหว่างสามีและภรรยาแล้ว การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะช่วยให้คุณเห็นสภาพการเงินของครอบครัวได้ชัดเจน เป็นรูปธรรมมากขึ้น และรู้ว่าควรลดทอนรายจ่ายอะไรบ้าง เพื่อให้ในครอบครัวมีเงินเก็บมากขึ้นนั่นเอง

4. อย่าลืมเก็บออมเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
การที่ครอบครัวนั้น มีเพียงใครคนใดคนหนึ่งเป็นเสาหลักครอบครัวแต่เพียงอย่างเดียวนั้น มีความเสี่ยงมากกว่าครอบครัวที่ทั้งสามีและภรรยาทำงาน เพราะหากผู้ที่ทำงานหารายได้เข้าครอบครัวนั่น ล้มป่วย เกิดอุบัติเหตุต้องออกจากงาน ขั้นร้ายแรงอาจจะพิการจนไม่สามารถกลับไปทำงานได้นั้น อาจทำให้ครอบครัวเข้าสู่สภาวะฝืดเคืองทางการเงินได้ ดังนั้น การเก็บออมเงินไว้ เผื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะช่วยให้อย่างน้อยๆ ครอบครัวของคุณมีเงินทุนไว้ตั้งตัว ก่อนที่จะเริ่มหาลู่ทางทางการเงินใหม่ต่อไปได้นั่นเอง ซึ่งการออมนั่น คุณสามารถเก็บออมได้เอง โดยการหักจากเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือจะเก็บนำเงินไปแบ่งสัดส่วนลงทุนเพื่อให้การเงินงอกเงยก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ วิธียอดฮิตอย่างการทำ ประกันไว้เป็นมรดก หรือทำ ประกันไว้เพื่อเก็บออมเงิน ก็ดูเป็นหนทางที่ไม่เลว เพราะนอกจากจะช่วยบังคับให้คุณต้องจ่ายเงินตรงตามที่กรมธรรม์ระบุไว้ ทำให้คุณมีวินัยเก็บออมแล้ว เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คุณก็จะได้รับเงินดังกล่าวทันทีอีกด้วย ซึ่งเราขอแนะนำประกันดีๆ ดังนี้
iProtect S สร้างมรดกให้ครอบครัวจากเบี้ยประกันเริ่มต้นที่วันละ 91 บาท (สำหรับเพศหญิงอายุ 30 ปี ที่ทำทุนประกัน 1 ล้านบาท) คุ้มครองชีวิต 100% ของทุนประกัน ตั้งแต่วันแรกที่จ่ายเบี้ย อีกทั้งเบี้ยประกันยังลดหย่อนภาษีได้
iGen ออมสั้นๆ แค่ 6 ปี แต่คุ้มครองจนถึงปีที่ 10 พร้อมผลประโยชน์ตลอดสัญญาสูงถึง 198 % และยังนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
และถ้าถามว่าการทำประกันในเบี้ยประกันเท่าไหร่ ถึงจะพอเหมาะให้ครอบครัวสามารถตั้งต้นได้นั้น เราสามารถลองใช้สูตร เงินที่ใช้จ่ายในแต่ละปี x 5 ปี (จำนวนที่เหมาะสมกับการให้ครอบครัวตั้งตัว) = ทุนประกันที่เราต้องการจริงๆ ซึ่งสูตรนี้เอง จะช่วยให้คุณเลือกทำประกันได้ถูกใจ และตรงกับไลฟ์สไตล์มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ จะช่วยให้คุณเก็บออมเงินไว้ได้ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
5. บางครั้ง คู่ชีวิตไม่มีรายได้ ก็มีประโยชน์ หลายคนมักจะมองว่า การที่มีคู่ชีวิตไม่มีรายได้นั้น เป็นการสร้างภาระอย่างหนักให้แก่ครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องแบบนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละบ้านด้วย นอกจากนี้ การที่มีคู่ชีวิตไม่มีรายได้นั้น แท้จริงแล้วก็ยังประโยชน์อยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น สามารถนำไปขอลดหย่อนภาษีได้ หรือถ้าหากคู่ชีวิตไม่มีรายได้ จะให้ช่วยดูแลเรื่องราวในบ้าน ก็สามารถทำได้อย่างเต็มที่ โดยที่คุณไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง
และถ้าหากการเงินของคุณเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ จนไม่สามารถรับมือได้ไหวด้วยตัวคนเดียว ก็อย่าลังเลที่จะปรึกษาคู่ชีวิตของคุณ เพื่อเริ่มต้นหาทางออกร่วมกันด้วยล่ะ ไม่แน่ว่าคู่ชีวิตของคุณอาจจะมีหนทางที่ช่วยเหลือชนิดที่คุณคาดไม่ถึงได้เหมือนกันนะ! อย่าให้การเงิน กลายเป็นปัญหาของชีวิตคู่ เพียงแค่คุณเปิดใจ พูดคุย และปรึกษาซึ่งกันและกัน จะช่วยให้ทั้งครอบครัวสามารถหาทางออกได้ แม้จะเกิดเรื่องวิกฤตขึ้นได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญที่สุด อย่าลืมเก็บออมเงินไว้เผื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝัน เพื่อให้คนที่คุณรักไม่ต้องลำบากภายหลังด้วยล่ะ!

หมายเหตุ : ภาพประกอบบทความ บางภาพไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด

ขอบคุณข้อมูลจาก : จัดสรร เงิน อย่างไรดี เมื่อคู่ชีวิตไม่มีรายได้