สัมมนาอสังหา 4.0 กับ PROP2MORROW พร้อมลุยเปิดเพิ่ม 2 ธุรกิจ "Prop Vestors" และ "Propa Chill"
PROP2MORROW ลุยเพิ่มเปิด 2 ธุรกิจ Property Agent ภายใต้แบรนด์ Prop Vestors และ Property Tech ในแบรนด์ Propa Chill หวังช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
นายสุธาทร สุทธิสนธิ์
นายสุธาทร สุทธิสนธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด เว็บไซต์ www.prop2morrow.com สื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่ให้บรการเป็นที่ปรึกษาแบบครบวงจร เผยถึงการขยายธุรกิจ ด้วยการเปิดเพิ่มอีก 2 ธุรกิจ คือ บริษัทนายหน้าอสังหาฯ Property Agent ช่วยระบาย Stock ของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ให้บริการ ซื้อ ขาย เช่า ทั้งชาวไทย กับต่างชาติ โดยเป็นตัวแทนขายทั้งในประเทศ กับต่างประเทศ รวมไปถึงการร่วมลงทุนกับนักลงทุนในโครงการที่มีศักยภาพ
นายเนติ นฤมิตร และ นายกรณ์กวินท์ พีระเดชไพศาล
"สำหรับทีมงานในการดำเนินงานนั้นพร้อมให้บริการด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านอสังหาฯ แบบครบวงจร และเชื่อมั่นในประสบการณ์การทำงานจะสามารถช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้" นายสุธาทร กล่าว
และเพื่อการความัดเจนในการบริหาร ทางบริษัทจึงได้แต่งตั้ง นายเนติ นฤมิตร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Prop Vestors ตั้งเป้าพานักลงทุนชาวไทย ลุยอสังหาฯ ที่ประเทศอังกฤษ โดยอยู๋ในระหว่างารเจรจา และในส่วนของ Propa Chill มอบหมายให้ นายกรณ์กวินท์ พีระเดชไพศาล เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งบริษัทนี้ได้ผู้ถือหุ้นหลักเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯ ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นต้นแบบ ในการทำธุรกรรมทางการเงินกับการลงทุนอสังหาฯ โดยเฉพาะด้านการเช่าอสังหาฯ
สัมมนาอสังหา 4.0
คุณสุรเชษฐ กองชีพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันที่ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัยเพราะว่าช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว กำลังซื้อลดลง ความเชื่อมั่นคนไทยลดลงตามปัจจัยลบต่างๆ รวมไปถึงเหตุการณ์ที่นอกเหนือความคาดหมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศซึ่งปัจจัยลบต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้การที่คนไทยจำนวนหนึ่งอยู่ในภาวะที่มีหนี้ครัวเรือนมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมาและมีผลโดยตรงต่อการใช้จ่ายและการขอสินเชื่อธนาคารซึ่งเรื่องการขอสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะผู้ซื้อในกลุ่มระดับกลางลงไปหรือคนที่มีรายได้ครัวเรือนประมาณ 40,000 – 50,000 บาทต่อเดือนลงไป
การที่คนไทยกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่าช่วง 40,000 – 50,000 บาทต่อเดือนลงไปและมีผลกระทบต่อเนื่องมายังตลาดที่อยู่อาศัยนั้นผู้ประกอบหลายรายเลือกที่จะปรับเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าของตนเองโดยการเปิดขายโครงการในระดับราคาสูงขึ้นหรือว่าเพิ่มสัดส่วนโครงการระดับกลางขึ้นไปมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการหลายรายที่ในอดีตให้ความสำคัญกับตลาดระดับกลางลงไปก็จำเป็นต้องขยับมาเล่นในตลาดระดับกลางขึ้นไปมากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเพิ่มสัดส่วนโครงการราคาต่ำแต่อยู่ในทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง หรือผู้ประกอบการที่ในอดีตเน้นการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในเมืองก็เพิ่มสัดส่วนโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้น ผู้ประกอบการที่มีทั้งโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมก็เพิ่มสัดส่วนบ้านจัดสรรระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปมากขึ้นจะเห็นได้ว่าตลาดบ้านจัดสรรเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกเป็นช่องทางหารายได้ในช่วงนี้ เพราะผู้ซื้อบ้านจัดสรรส่วนใหญ่เป็นการซื้อเพื่อการอยู่อาศัยจริงและไม่จำเป็นต้องก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการ
คุณสุรเชษฐ กองชีพ
ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่จับมือกันพัฒนาโครงการร่วมกันรวมไปถึงการร่วมทุนกับผู้ประกอบการต่างชาติเพื่อเป็นพันธมิตรร่วมกันในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมหรือโครงการรูปแบบอื่น ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่วนใหญ่นั้นมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเพื่อการสร้างรายได้แบบต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่ผู้ประกอบการรายเล็กหรือหน้าใหม่หลายรายเริ่มมีปัญหาโดยเฉพาะเรื่องของเงินทุนเพราะติดขัดที่ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและไม่มีช่องทางการระดมทุนแบบรายใหญ่ นอกจากนี้ผู้ประกอบการทุกรายมีการเฝ้าระวังเรื่องของโอเวอร์ซัพพลายอีกทั้งมีธนาคารต่างๆ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่คอยควบคุมจึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจสำหรับคนทั่วไป ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายที่เปิดขายโครงการในพื้นที่เมืองชั้นในมีการออกไปเปิดขายโครงการที่ต่างประเทศเพื่อจะได้เข้าถึงผู้ซื้อต่างชาติโดยตรงรวมไปถึงมีการใช้บริการนายหน้าต่างชาติในการขายในต่างประเทศมากขึ้นแม้จะเสียค่าคอมมิชชั่นสูงๆ ก็ตาม
ผู้ซื้อทั่วไปต่างหากที่ควรปรับตัวเพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมากระแสการลงทุนในคอนโดมิเนียมนั้นค่อนข้างรุนแรง ทำให้คนจำนวนไม่น้อยอยากจะลงทุนในคอนโดมิเนียมบ้างโดยเฉพาะการลงทุนระยะสั้นแบบเก็งกำไรใบจองทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาติดขัดเพราะมีผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยทิ้งใบจองไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องมีการประนีประนอมกับทางผู้ซื้อกลุ่มนี้ ผู้ประกอบการหลายรายจึงมีปัญหาเรื่องของยูนิตเหลือขายที่สร้างเสร็จมีการจัดโปรโมชั่นลดราคามากขึ้น จัดกิจกรรมหรืองานต่างๆ เพื่อระบายยูนิตเหล่านี้มากขึ้น รวมไปถึงมีการปล่อยขายแบบบิ๊กล้อตในราคาพิเศษให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ผู้ซื้อทั่วไปต้องเข้าใจก่อนว่าการลงทนในคอนโดมิเนียมในปัจจุบันนี้ทำได้ยากขึ้นเนื่องจากอุปทานในตลาดมีเยอะมาก การจะเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในปัจจุบันจึงต้องใช้เวลาและการพิจารณาที่คอนข้างนานและไม่ควรซื้อตามแรงเชียร์หรือว่าแรงยุจากสังคมออนไลน์ ควรใช้ประโยชน์จากสังคมออนไลน์ในเรื่องของข้อมูลประกอบการสำรวจและเก็บข้อมูลด้วยตนเองก่อนการตัดสินใจ อีกทั้งควรมั่นใจก่อนที่จะซื้อว่าคอนโดมิเนียมที่เราจะซื้อนั้นเราสามารถกู้ธนาคารหรือว่ามีเงินเพียงพอที่จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยเพราะจะได้ไม่กังวลเกินไปเวลาขายต่อไม่ได้ เพราะมีผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยที่เป็นทุกข์จากการที่คอนโดมิเนียมที่ซื้อมาเพื่อขายใบจองนั้นขายต่อไม่ได้และไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของตนเองได้ด้วยหลากหลายสาเหตุ
ฝั่งผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่องผันแปรไปตามภาวะตลาดจะน่าห่วงก็กลุ่มของรายเล็กและรายใหม่ที่ยังปรับตัวได้ช้าและติดขัดในเรื่องของเงินทุน กลุ่มของผู้ซื้อเองก็น่าเป็นห่วงเพราะถ้าทุกคนยังคิดว่าการลงทุนในคอนโดมิเนียมนั้นง่ายและเป็นช่องทางในการสร้างรายได้แบบเป็นกอบเป็นกำอยู่ก็น่าเป็นห่วงแน่นอน ปัจจุบันการเก็งกำไรใบจองนั้นทำได้ยากมากๆ ต่างจากในอดีตมากมาย ซึ่งเรื่องของการปรับตัวตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนทั้งผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปจำเป็นต้องปรับตัวให้ได้เพราะถ้าไม่ได้ก็อาจจะมีผลกระทบต่อรายได้บริษัทหรือว่ากระแสเงินสดของบริษัท ผู้ซื้อทั่วไปก็อาจจะกลายเป็นคนมีหนี้จากสนเชื่อธนาคารมากเกินความจำเป็นเพราะต้องโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมที่ซื้อมาอีกทั้งยังต้องถือกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องไปอีกหลายปีเพราะว่าตัวเลือกในตลาดมีเยอะเกินไปนั่นเอง
การขออนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร ค่อนข้างคงที่ ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน อัตราการขายคอนโดมืเนียมในกรุงเทพมหานคร คอนโดมิเนียมประมาณ 159,600 ยูนิตเปิดขายในตลาด อัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 71% และส่วนใหญ่ยูนิตเหลือขาย จะเป็นราคาช่วงที่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดอสังหาริมทรัพย์ การปรับตัวของผู้ประกอบการ อย่างการจับมือพันธมิตร ทั้งในไทยและต่างชาติ การขยับเข่าสู่ตลาดใหม่ การมองหาตลาดใหม่ๆ ทำเลใหม่ จากสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สายสีส้ม สายสีเขียว ย่านสะพานใหม่ สายสีเขียวย่านบางนา แบริ่ง รวมถึงการทำโครงการในระดับราคาใหม่ๆ ที่สูงขึ้น หาช่องทางการขายใหม่ ทั้งการขายให้เอเย่นต์ต่างชาตื หาพันธมิตรทางธุรกิจต่างชาติ โรดโชว์ต่างประเทศ เทคโนโลยี ในตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างกลยุทธ์ของแสนสิริ นำโครงการเข้าไปอยู่ในเว็บไซต์จีน จึงได้ลูกค้าชาวฮ่องกง การปรับตัวของผู้ซื้อทั่วไป - การลงทุนมีความเสี่ยง - หาข้อมูลให้มากขึ้น - การโอนกรรมสิทธิ์ - ยูนิตที่ซื้อมาจะสามารถโอนได้ไหม อ.เลิศมงคล วราเวณุชย์ SME Developerกลยุทธ์ที่สร้างความแตกต่าง และประสบความสำเร็จ "เล็กสั้น ขยันซอย" ผู้ประกอบการรายเล็ก ต้องพยายามหาพื้นที่ทำเลที่อยู่ในซอย โดยที่ควรมองพื้นที่ที่มีจุดขาย Selling Point ชัดเจน อาทิ ใกล้โรงเรียนนานาชาติ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องติดรถไฟฟ้า หรือต้องเป็นเจ้าใหญ่ เป็นรายเล็กก็ปรับตัวได้ ฉะนั้น "ไม่สูงต้องเขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน" ถึงเป็นผู้ประกอบการรายเล็กต้องขยัน และคุมต้นทุน รวมถึงการบริการหลังการขายที่ดี อาทิเช่น ช่วยดูแลการขายต่อ การปล่อยเช่า โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
อ.เลิศมงคล วราเวณุชย์
- New Segment สร้างตลาดที่รายใหญ่ไม่สนใจ หรือทำแล้วไม่คุ้ม
- Location เลือกทำเล ที่มีความต้องการจริง อย่าเล่นตลาดเก็งกำไร
- Product พัฒนาสินค้าให้ดีกว่า คุ้มกว่า เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พัฒนาทีละเฟส
- Services ให้ความสำคัญบริการหลังการขาย มากกว่าพื้นที่โฆษณา