ตอบคำถามเรื่อง "ข้อกำหนดการออกแบบอาคารชุด(กรุงเทพมหานคร)"
พระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. 2522 ให้นิยามของอาคารชุด ว่า
“อาคารชุด” หมายความว่า อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง
กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้นิยามของอาคารขนาดใหญ่ ว่า
“อาคารขนาดใหญ่” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน1,000 ตารางเมตร การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
กฏกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ให้นิยามอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง ว่า
“อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภทโดยมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
“อาคารสูง” หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ ๒๓ เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยา ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
TerraBKK Research ได้ทำการสรุปกฎหมายเรื่องควบคุมอาคาร จากกฎกระทรวงฉบับที่33, ฉบับที่55, และข้อบัญญัติกรุงเทพมหนคร ปี 2544 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้พัฒนาหน้าใหม่และบุคคลทั่วไปที่ยังไม่ทราบถึงข้อกฎหมายได้รู้ถึงประเด็นกฎหมายหลักที่สำคัญๆ เรียบเรียงเอาไว้ ดังนี้
*กฎหมายที่ใช้ในเป็นกฎหมายที่อิงจากกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะมีบางข้อจัดที่แตกต่างกัน **ข้อกำหนดที่เรียบเรียงยังไม่ได้กล่าวถึงงานระบบและส่วนกล่าวถึงอัคคีภัยที่กฎหมายบังคับเอาไว้
จะเห็นว่ากฎหมายควบคุมอาคารประเภทอาคารสูงจะมีข้อกฎหมายพิเศษออกมาโดยเฉพาะโดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในอาคารทั่วไป