สภาวิศวกร ลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งสร้าง “วิศวกรอาสา” ทำประโยชน์เพื่อสังคม
สภาวิศวกร ลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่ายมุ่งสร้าง “วิศวกรอาสา” ทำประโยชน์เพื่อสังคม
ดร.กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร ลงนามข้อตกลงร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยมีนายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิก ,นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ,นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ลงนาม MOU เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมกันในการส่งเสริมและพัฒนา วิศวกรอาสา สถาปนิกอาสา และนายช่างอาสาที่จะลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพ
นายกมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า โครงการวิศวกรอาสา สภาวิศวกร มีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ ภัยพิบัติคลื่นยักษ์ถล่มภาคใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน พ.ศ. 2547 โดยในช่วงเวลานั้น สภาวิศวกรได้ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรมขึ้น โดยมีวิศวกรอาสาจากทั่วประเทศกว่า 100 คน ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของงานทางด้านวิศวกรรม เช่น การตรวจสอบอาคารที่ได้รับ ความเสียหายหรือ ได้รับผลกระทบ การให้คำแนะน าเพื่อการฟื้นฟูหรือซ่อมบำรุงอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย พ.ศ. 2557 สภาวิศวกร โดยคณะอนุกรรมการประสานงานด้านภัยพิบัติ ได้ ร่วมกับองค์กรวิชาชีพ และหน่วยงานราชการ จัดวิศวกรอาสาเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน และเข้า ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง พร้อมให้คำแนะน าด้านวิศวกรรม ล่าสุด เหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้ เมื่อ มกราคม 2560 สภาวิศวกรร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นำทีม วิศวกรอาสาลงพื้นที่ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและโครงสร้างของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมเปิดรับ สมัครวิศวกรอาสาเพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารที่ได้รับความเสียหายตามรายการตรวจสอบที่สภาวิศวกรกำหนด และมีการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแก่วิศวกรอาสา ที่อำเภอทุ่งสง และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จากเหตุการณ์ดังกล่าว สภาวิศวกรจึงได้จัดตั้งโครงการวิศวกรอาสา สภาวิศวกรขึ้น โดยรับสมัครสมาชิก สภาวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ไม่เคยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณใดๆ ที่มี จิตอาสา เสียสละ มีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่มุ่งหวังค่าตอบแทน และไม่เป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเหตุร้ายต่อสาธารณชน หรือเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยใช้ความรู้ความสามารถตามหลักปฏิบัติวิชาการทางวิศวกรรม และไม่ปฏิบัติงานที่ เกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ จากกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการวิศวกรอาสา สภาวิศวกร นั้นมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเป็นหลัก ทำให้สภาสถาปนิก สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร และสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกล ไทย ได้ตกลงร่วมมือกันในการส่งเสริมและพัฒนา วิศวกรอาสา สถาปนิกอาสาและนายช่างอาสาที่จะลงพื้นที่ในการ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน องค์กรสาธารณกุศล หน่วยงานรัฐ ที่ประสบภัยพิบัติ มีปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพแต่อย่างใด โดยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการดำเนินงานกิจกรรมวิศวกรอาสาและสถาปนิกอาสาและ นายช่างอาสา ซึ่งเป็นการขยายเครือข่ายจิตอาสาช่วยเหลือสังคม
นายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิก กล่าวว่า ปัจจุบันภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ สร้างความลำบากให้กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือหนาวอย่างรุนแรง ฝน ลูกเห็บ น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่าไม่ได้ อีกทั้งภัยทางสังคมที่สร้างความเดือดร้อนเช่นเดียวกันที่อาจเกิดโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่คาดคิด สถาปนิกเป็นวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ อาคาร ที่อยู่อาศัยทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิต จากเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ทำให้สภาสถาปนิกเล็งเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ควรมีผู้ที่เข้าไปเพื่อเยียวยาหรือ ปรับปรุง หรือแก้ไข เพื่อให้ความเป็นอยู่ที่ดีกลับคืนมาบนความปลอดภัยที่มากขึ้นในชีวิต สภาสถาปนิกจึงจัดตั้งกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “ สถาปนิกอาสา” โดยดำเนินการรับสมัครสมาชิกผู้ที่มีจิตอาสาและต้องการทำเพื่อส่วนรวม เป็นผู้มีความเสียสละและประสงค์ที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม โดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน โดยการจัดตั้งกลุ่มสถาปนิกอาสานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาปนิกอาสาได้เรียนรู้การจัดการภัยพิบัติและเป็นการสร้างกลไกความร่วมมือการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือเมื่อเกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดคิดจากความร่วมมือระหว่างสถาปนิกอาสา ชุมชน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนและส่วนปกครองท้องถิ่น โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็นสถาปนิกอาสานั้นต้องมีคุณสมบัติ คือ 1) ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม 2) มีสถานภาพเป็นสมาชิกสภาสถาปนิก 3) ไม่เคยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณ 4) เป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละมีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่มุ่งหวังค่าตอบแทนและไม่เป็นผู้แสวงผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร กล่าวว่า นายช่างอาสา คือ วิศวกร ผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย ที่มีจิตอาสา ในการทำงานช่วยเหลือประชาชนทั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อลดความรุนแรงและบรรเทาปัญหาให้กับสังคมและสาธารณะ ในยามสภาวะปกติยังช่วยเหลือและให้ความรู้ประชาชน เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติภัยต่างๆ โดยมิได้มีค่าตอบแทนใดๆ จากผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ การช่วยเหลือจะมุ่งเน้นให้กับกลุ่มคนและสังคมที่ขาดแคลน ดังนั้น การทำบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จะทำเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนที่จะเกิดขึ้นจะมีประสิทธิผลและทำงานได้อย่างทันต่อเหตุการณ์โดยความช่วยเหลือจากบุคคลากรที่มีความสามารถทั้งในด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เมื่อสังคมต้องการการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และทำให้เกิดการสูญเสียที่น้อยสุดนอกจากนี้ยังที่เป็นยึดเหนี่ยวทางความคิดให้กับสังคมในการให้ข้อคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย กล่าวว่า โครงการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือประชาชน องค์กรสาธารณกุศล หน่วยงานรัฐ ที่ประสบภัยพิบัติ มีปัญหาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม เป็นโครงการ 4 หน่วยงานเห็นพ้องต้องกันผู้ประกอบวิชาชีพ งานวิศวกรรม และงานสถาปัตยกรรม ควรที่นำวิชาชีพที่มีความชำนาญได้ออกมาร่วมตอบแทนสังคม ช่วยบรรเทาให้ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการดูแลให้สามารถฟื้นฟูทรัพย์สิน ได้อย่างถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ในส่วนของสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ในฐานะสมาคมฯ ที่มีผู้ประกอบการทางด้านการติดตั้ง รับเหมา ผลิต และจำหน่ายทางด้านระบบไฟฟ้าและเครื่องกล มีวิศวกร และช่างฝีมือที่อยู่ในสังกัดของสมาชิกเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้มีการยกระดับและพัฒนาวิศวกร และช่างฝีมือมาตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จนปัจจุบันสมาคมฯ ได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ทั้งหมด 4 สาขา ตั้งแต่ปี 2558 และได้จัดตั้งศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ ตามมาตรา 26/4(2) เพื่อทำการประเมินช่างที่ผ่านการทดสอบให้ได้หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ เพื่อไปประกอบวิชาชีพช่างไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้อง มีมาตรฐานรองรับ และการให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับผู้ประสบภัยพิบัติ วิศวกร สถาปนิก และช่างอาสา จะต้องผ่านการอบรบเพิ่มพูนความรู้ให้เข้าใจในเรื่องของการแก้ไขงานที่ได้รับความเสียหายในกรณี ต่างๆ ก่อนที่จะลงสนามให้ความแนะนำกับผู้ประสบภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง ดำเนินการพร้อมโครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการจัดทำคู่มือของผู้ประสบภัยพิบัติให้สามารถช่วยเหลือตนเองในขั้นต้นได้อย่างปลอดภัย ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ช่วยให้เกิดการบูรณาการของทุกองค์กรเกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อเกิดประโยชน์โดยร่วมของสังคม และประเทศชาติสืบไป
ขอบคุณข้อมูลจาก www.coe.or.th