เมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งในกระแสทอล์ค ออฟ เดอะ ทาว์น ที่เป็นที่พูดถึงในแวดวงสังคมอย่างกว้างขวาง คือ การเปิดตัว โครงการ ’98 WIRELESS’ แฟล็กชิพคอนโดมิเนียมของ แสนสิริ มูลค่ากว่า 8,700 ล้านบาท ที่เกิดจากประสบการณ์ของแสนสิริที่สั่งสมมากว่า 33 ปี ทำให้โครงการ 98 Wireless ได้ก้าวขึ้นมาเป็นคอนโดมิเนียมระดับซูปเปอร์ลักซ์ชัวรี่ที่ดีที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีองค์ประกอบที่โดดเด่นและเป็นเลิศในทุกมุมมอง ไม่เพียงแต่เอกลักษณ์ความงดงามจากสถาปัตยกรรมภายนอกและภายใน แต่ยังรวมถึงปรากฏการณ์ครั้งแรกของประเทศไทยกับบริการผู้ช่วยส่วนตัวจาก Quintessentially Lifestyle (ควินเทสเซ็นเทียลลี่ ไลฟ์สไตล์) ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในการดูแลเรื่องสำคัญให้กับราชวงศ์และบุคคลสำคัญทั่วโลกมาประจำที่โครงการ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ในแบบซูปเปอร์ลักซ์ชัวรี่อย่างแท้จริง และเติมเต็มประสบการณ์อยู่อาศัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ดังนั้นเพื่อสะท้อนถึงความเข้าใจไลฟ์สไตล์เหนือระดับของลูกค้าโครงการ 98 Wireless แสนสิริจึงจัดงาน Christie’s Showcase at 98 Wireless โดยได้ร่วมกับสถาบันคริสตี้ส์ ซึ่งเป็นสถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและของสะสมชั้นนำระดับโลกจากประเทศอังกฤษมากว่า 251 ปี มาจัดกิจกรรมเอ็กซ์สุดคลูซีฟ Wine Tasting พร้อมกับให้ความรู้และตีคำนิยามของโครงการ 98 Wireless ผ่านไวน์และนาฬิกาอันทรงคุณค่าให้กับแขกคนพิเศษ ณ ห้อง วิทยุ ทีรูม (Wittayu Tea Room) ห้องนั่งเล่น ที่สงบเงียบบนชั้น 2 ของโครงการที่รังสรรค์ขึ้นด้วยคอนเซปท์ห้องนั่งเล่น (Salon) สไตล์ยุโรป ผสานความสง่างามและความ เย้ายวนในสไตล์ของสุภาพสตรีผู้มีรสนิยม

นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “หากจะเปรียบเทียบ 98 Wireless เป็นงานศิลปะ โครงการนี้ก็เปรียบเสมือนผลงานระดับมาสเตอร์พีซของแสนสิริในรอบ 33 ปี เพราะเรากลั่นกรองประสบการณ์และความเข้าใจในรสนิยมระดับโลกและความต้องการของลูกค้ามาคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด และตอบโจทย์ลูกค้าได้ในระดับลึกซึ้ง ผสานรวมกันไว้ภายใต้แนวคิด “The Best Comes as Standard” และเมื่อแสนสิริตั้งใจที่จะให้ 98 Wireless เป็นผลงานมาสเตอร์พีซเราจึงกำหนดจำนวนยูนิตไว้เพียง 77 ยูนิต เพื่อทุ่มเทความพิถีพิถันในการรังสรรค์แต่ละยูนิตได้อย่างเต็มที่ เป็นงาน ‘คราฟท์’ ที่เราภาคภูมิใจในความเป็นเลิศในทุกมิติ ตั้งอยู่บนโลเคชั่นที่ดีที่สุด เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก เปรียบดั่ง “ไวน์” ชั้นดีที่อาศัยเวลาบ่มเพาะหลายปีกว่าจะกลายเป็นไวน์หายาก มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆและมีจำนวนจำกัด หรือแม้แต่ “นาฬิกาหายาก” ที่มีเรื่องราวของความพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกวัสดุ กระบวนการผลิตเฉพาะตัว เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมที่คลาสสิกเหนือกาลเวลา ผ่านการคัดสรรวัสดุและการตกแต่งที่ดีที่สุดจากทั่วโลก ทั้งของจากร้านขายของสะสมหายากกลางกรุงนิวยอร์ค ที่ได้ดีไซเนอร์ชื่อดังของนิวยอร์ก ‘แอนน์ คาร์สัน (Anne Carson)’ ผู้มีประสบการณ์ การดีไซน์แฟล็กชิพและบูติคของแบรนด์ระดับโลกอย่าง ‘Ralph Lauren’ มาช่วยออกแบบ คัดสรร และควบคุมการตกแต่งเพื่อทำให้โครงการนี้สมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้ 98 Wireless เป็นที่พักอาศัยระดับมาสเตอร์พีซที่คุ้มค่าที่สุดต่อการลงทุน โดยมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี พร้อมเป็นมรดกล้ำค่าที่ส่งต่อให้กับลูกหลานได้นานสืบไป”

ในโอกาสนี้ มร.ไซม่อน แทม (SIMON TAM) และ มร.อเล็กซานเดอร์ บิ๊กเล่อร์ (ALEXANDRE BIGLER ) จากสถาบันคริสตี้ส์ จึงให้เกียรติมาร่วมแชร์ความรู้และคุณค่าของการสะสมไวน์และนาฬิกาหายากเช่นกับเดียวกับการลงทุนในโครงการที่พักอาศัยระดับเวิล์ดคลาส

มร.ไซม่อน แทม (SIMON TAM) ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์จากสถาบันคริสตี้ส์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความหลงใหลในไวน์ว่า “ผมชื่นชอบและหลงใหลในไวน์มาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความที่เติบโตในครอบครัวที่ทำธุรกิจร้านอาหาร จึงเห็นได้ว่าไวน์ช่วยให้อาหารมื้อนั้นพิเศษยิ่งขึ้น ดังนั้น ผมจึงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไวน์ โดยได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษและเขียนบทความมากมายเกี่ยวกับไวน์ รวมถึงเป็นหนึ่งในกรรมการของงานประกวดไวน์ทั่วโลก ก่อนที่จะได้ร่วมกับสถาบัน คริสตี้ส์ ในตำแหน่ง Head of Wine for Christie’s Asia ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นบทบาทที่ผมชอบมากเพราะในมุมมองของผมไวน์แต่ละขวดมีความพิเศษและแตกต่างจากเครื่องดื่มอื่นๆ ตรงที่ ไวน์ทำจากผลไม้ จึงมาจากธรรมชาติ อีกทั้งผลไม้ที่นำมาทำไวน์ ปลูกได้เพียงปีละครั้งและไวน์แต่ละขวดต้องการเวลาในการบ่มเพาะเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด ทำให้ไวน์ดีๆ นั้นมีจำกัด ดังนั้น ยิ่งสะสมไว้นาน คุณค่าของไวน์ก็จะเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา อย่างไวน์ที่ผมนำคัดสรรมาเป็นพิเศษให้เทสต์วันนี้มีทั้งหมด 4 ขวดคือไวน์ขาว Domaine Fontaine Gagnard Batard Montrachet Grand Cru 2014,ไวน์แดง Domaine Ponsot Chapelle Chambertin Grand Cru 2011, ไวน์แดง Domaine Henri Rebourseau Clos de Vougeot Grand Cru 2002 และ ไวน์แดง Red wine Domaine Clos de Tart, Clos de Tart Grand Cru แต่ละขวดนั้นมีความพิเศษตั้งแต่รสชาติที่โดดเด่นทั้งยังเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกปีในหมู่นักประมูลที่พร้อมจะให้ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นคุณค่าที่บ่มเพาะจากความหายากในตัวเอง ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการเปิดไวน์ดื่ม หมายความว่าไวน์ดีๆจะหายไปจากท้องตลาดแล้วหนึ่งขวด เปรียบเสมือนกับงานศิลปะชั้นเลิศของโลกในทุกแขนง รวมไปถึงโครงการ 98 Wireless ที่แสนสิริพิถีพิถันในการรังสรรค์ในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นโลเคชั่น การบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และที่ประทับใจผมมาก คือ การนำสุดยอดศิลปะที่เป็นงานคราฟท์ระดับโลกของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาผสมผสานกันอย่างลงตัว เปรียบเสมือนกับที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไวน์สามารถคัดสรรไวน์ขวดพิเศษมา Paring เข้ากับอาหารจานพิเศษ ซึ่งหากจะกล่าวถึงทฤษฏีง่ายๆ คือการแบ่งตามสีไวน์ คือ งาช้าง (Ivory) ทองบลอนด์ (Blond) น้ำตาลเกรียม (Tan) และน้ำตาล (Brown) แต่จริงๆ เรื่องการ Paring ไม่ว่าจะเรื่องไวน์หรือการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมระดับมาสเตอร์พีซอย่าง 98 Wireless ยังต้องอาศัยทักษะ ความเชี่ยวชาญ และรสนิยมที่ดีเยี่ยม ที่นอกเหนือจากการคัดสรรวัสดุระดับเวิล์ดคลาสมาใช้ในโครงการ ดังนั้น 98 Wireless จึงเป็นนิยามของความเป็นเลิศแห่งการอยู่อาศัยที่แท้จริง ทั้งยังมีจำนวนยูนิตจำกัดที่หากขายหมดแล้ว ก็จะยากที่จะหาโครงการระดับนี้ได้อีกด้วย”

ด้าน มร.อเล็กซานเดอร์ บิ๊กเล่อร์ (ALEXANDRE BIGLER) ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฬิกาจากสถาบันคริสตี้ส์ กล่าวว่า “นาฬิกานั้นไม่ได้เป็นเพียงเครื่องบอกเวลา สิ่งที่ทำให้นาฬิกาแต่ละเรือนมีความพิเศษคือ ขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน บางเรือนใช้วัสดุที่คัดสรรอย่างพิเศษ อีกทั้งแต่ละเรือนล้วนแฝงไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องราวเฉพาะตัวที่ส่งผ่านมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ปัจจุบันมีคนสนใจและหันมาสะสมนาฬิกากันมากขึ้น สำหรับแวดวงการประมูลนาฬิกา การให้คุณค่าต่อนาฬิกาแต่ละเรือนที่จะประมูลนั้น ผู้ประมูลจะพิจารณาตั้งแต่ความชื่นชอบของแบรนด์ รองลงมา คือ รุ่นและกลไกของนาฬิกา วัสดุที่นำมาผลิต ไปจนถึงความหายากของนาฬิกาและประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวที่มาพร้อมกับนาฬิกาแต่ละเรือน เรียกได้ว่าเป็น one-of-a-kind เช่นเดียวกับโครงการ 98 Wireless ที่ทุกรายละเอียดของโครงการคืองานคราฟท์ที่ดีที่สุดจากวัสดุชั้นเลิศผสมผสานกับการดีไซน์งานสถาปัตยกรรมที่คลาสสิกเหนือกาลเวลาเปรียบเสมือนกลไกนาฬิกาที่ซับซ้อนแต่ลงตัวเป็นที่สุด และรังสรรค์มาเพียง 77 ยูนิตเท่านั้น นอกจากนี้องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญสำหรับการประมูลนาฬิกา นั่นคือ ความงดงามของนาฬิกาที่คงอยู่ นาฬิกาบางเรือนแม้จะมีราคาสูงมากในอดีตแต่หากปัจจุบันไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดี ราคาก็จะไม่สูง ในขณะที่บางเรือนยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งดูขลังและทรงคุณค่า อย่างเช่นนาฬิกาโรเล็กซ์ รุ่นที่ผลิตตั้งแต่ปี 1969 ที่มาพร้อมกับ Mark 1 black Paul Newman Oyster sotto Daytona dial และ Patek Philippe ปี 1985 รุ่นทองคำ 18k คำนวนปฏิทินอัตโนมัติ ที่นักประมูลต่างจับจ้องกันในงานประมูล Rare Watches ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีการประเมินราคาประมูลเบื้องต้นสูงถึง 450,000 – 650,000 ฟรังก์ สวิส หรือประมาณ 15.4-22.2 ล้านบาท และ150,000 – 250,000 ฟรังก์ สวิส หรือ 5.1-8.6 ล้านบาท ตามลำดับ จุดนี้เองที่นำไปสู่ความประทับใจที่ผมมีต่อโครงการ 98 Wireless ที่มองแนวคิดในการทวีคุณค่าโครงการฯ ในแบบเดียวกันกับนาฬิกาหายาก ด้วยการคัดสรรวัสดุที่มีแต่จะสวยงามขึ้นตามกาลเวลา อาทิ ทองเหลืองล้ำค่า 900% ที่ถูกหล่อขึ้นรูปด้วยมือ และลูกบิดประตูและกลอนจาก Baldwin ที่ยิ่งใช้งาน สีของทองเหลืองก็จะยิ่งถูกขับให้แลดูคลาสสิค ทั้งยังรับประกันคุณภาพตลอดชีวิต รวมไปทั้งการใส่ใจกับกระบวนการพัฒนาโครงสร้างอย่างการนำหินทราย Moleanos Limestone ในบริเวณด้านหน้า พื้นโถงล็อบบี้ และพื้นที่สาธารณะ มาขึ้นโมเดลทดลองก่อนสร้างอาคารจริงเพื่อที่จะทดสอบความสวยงาม ความกลมกลืนกัน และค่าการดูดซึมที่จะมีผลต่ออายุการใช้งานโดยเฉพาะในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของกรุงเทพให้คงทนงดงามเหนือกาลเวลา ดังนั้นนอกจาก 98 Wireless จะเป็นที่พักอาศัยระดับมาสเตอร์พีซที่คุ้มค่าที่สุดต่อการลงทุน ยังเป็นมรดกล้ำค่าที่สามารถส่งต่อให้กับลูกหลานได้นานสืบไป”

ขอบคุณข้อมูลจาก   98wireless