ผังเมือง กับ การพัฒนา ศูนย์กลางคมนาคมกรุงเทพ แห่งใหม่ : ศูนย์พหลโยธิน โดย ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม
กรุงเทพมหานคร โดยสำนักผังเมือง อยู่ในระหว่างการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ครั้งใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) หลังจากที่ ผังเมือง รวมฯ ฉบับปัจจุบันออกบังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2560 และสืบเนื่องจากแผนงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐ โดยกระทรวงคมนาคม จำนวน 10 สายทาง ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางการให้บริการครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้รูปแบบการเดินทางสัญจรของประชากรในกรุงเทพมหานครอาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ ศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบการสัญจร (Grand station) ย่อมมีความสำคัญต่อการสนับสนุนการเดินทางด้่วยระบบดังกล่าว โดยศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธิน หรือศูนย์กลางบางซื่อ กำลังจะเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่สำคัญในอนาคตอันใกล้ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ภาพที่ 1) คาดว่าสามารถดำเนินการจัดหาผู้ออกแบบและก่อสร้างได้ในราวปี พ.ศ. 2560 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 2561 (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม, 2559)
ข้อมูลเกี่ยวกับ ศูนย์กลางคมนาคมกรุงเทพ ฯ แห่งใหม่
การใช้ประโยชน์ที่ดินตามโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
ด้วยการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินตามโครงการแบบ Transit-oriented development (TOD) ที่เชื่อมโยงกับระบบคมนาคมขนส่งจำนวนหลายระบบ ประชากรหรือผู้ใช้บริการจำนวนมหาศาลย่อมเดินทางเข้าออก หรือผ่านในบริเวณดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลต่อการเพิ่มความหนาแน่นของประชากรและพื้นที่กิจกรรมทางการค้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ในบริเวณพื้นที่ของศูนย์พหลโยธิน (ภาพที่ 2) กรุงเทพมหานคร โดยสำนักผังเมือง ยึดถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และล่าสุดพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2558 กำหนดให้มีการรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง จากกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการ เพื่อประกอบการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ต่อไป จึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เพื่อรับฟังแนวทางการพัฒนา หลักการวิชาการ ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการระดมความคิดเห็นด้วยรูปแบบระดมความคิดเห็นเพื่อการวางแผน (Planning charrette) (National Charrette Institute at Michigan State University, n.d.) โดยการระดมความเห็นมีสาระสำคัญ ดังนี้
วัตถุประสงค์การประชุมเชิงปฏิบัติการ 1.1 เพื่อรับฟังสภาพปัญหา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง 1.2 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การพัฒนาเมือง และปัญหาการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สร้างการมีส่วนรวมในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน 1.3 เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกระบวนการประชุมดังกล่าวมาใช้ประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานเอกชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการศูนย์พหลโยธิน กว่า 100 ราย การดำเนินงาน จำแนกเป็นรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล และการบรรยาย (ภาพที่ 4 – ภาพที่ 10) ดังนี้ รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงความคิดเห็น ใช้รูปแบบการระดมความคิดเห็นเพื่อการวางแผน (Planning charrette) โดยมีประเด็นพิจารณาร่วมกัน ดังนี้ 1.1 สภาพปัญหาในพื้นที่ปัจจุบัน 1.2 ผลกระทบเมื่อดำเนินการก่อสร้างตามโครงการศูนย์พหลโยธิน 1.3 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ตามโครงการบศูนย์พหลโยธิน ผู้บรรยายหลักและนำการปฏิบัติการ Planning charrette
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณมหารลาดกระบัง
ผู้บรรยายร่วม
คุณพุทธมนต์ รตจีน หัวหน้ากลุ่มโครงข่ายและการเชื่อมต่อการขนส่ง กองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
รอง ผอ.สนผ. (คุณประภาพรรณ จันทร์นวล) และผู้บรรยาย
บรรยากาศการประชุม
ผู้เข้าร่วมทยอยลงทะเบียน
ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น
บางส่วนของการระดมความคิดเห็น
ผศ.ดร.สญชัยฯ กล่าวสรุป
การปิดการประชุม Planning charrette อภิปรายผลและสรุป ผู้เข้าร่วม Planning charrette ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกันกันอย่างหลากหลาย โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ สภาพปัญหาในพื้นที่ปัจจุบัน สภาพการจราจรติดขัด
การเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่สะดวก เช่น เชื่อมต่อรถโดยสารประจำทางสจากสถานีขนส่งหมอชิตมายังระบบรถไฟฟ้า - ปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น น้ำท่วมขัง มลพิษทางเสียง ฝุ่นควันจากยวดยาน - ความแออัด เสื่อมโทรมของชุมชนในพื้นที่ - การเข้าถึงของรถโดยสารประจำทาง (ขสมก.) มายังสถานีขนส่งหลัก เช่น สถานีรถไฟฟ้า และสถานีขนส่งหมอชิต มีอุปสรรค ไม่ได้รับความสะดวก
ผลกระทบที่อาจเกิดเมื่อดำเนินการก่อสร้างตามโครงการศูนย์พหลโยธิน
- มลพิษจากการก่อสร้าง เช่น วัสดุตกหล่น ฝุ่น ละออง และเสียงจากการปฏิบัติงานก่อสร้าง
- การจราจรที่อาจติดขัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากเส้นทางการสัญจรมีอยู่อย่างจำกัด
- ค่าใช้จ่ายและอุปสรรคที่เกิดจากการเดินทางระหว่างระยะก่อสร้าง ที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางสัญจรในย่านนั้น เช่น จากความล่าช้า (delay) การโก่งค่าโดยสาร การปฏิเสธรับผู้โดยสาร
- เนื่องจากโครงการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ (กว่า 2,325 ไร่) และหากไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลกระทบเชิงสังคม เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและผู้สัญจรผ่านย่านดังกล่าวได้
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ตามโครงการศูนย์พหลโยธิน
การออกแบบและวางแผนระบบการเดินทางสัญจร เชื่อมต่อ สำหรับคนทุกคน (Inclusive design) อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม ระบบขนส่งมวลชนเสริมหรือ Feeder เช่น รถโดยสารประจำทางทั้งภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ขสมก. และรถร่วม) ตลอดจนรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (บขส.) ควรได้รับการวางแผนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึง และจุดจอด
การออกแบบวางแผนระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบระบายน้ำ และท่อร้อยสายไฟ ที่อาจพิจารณาใช้ท่อรวมใต้ดิน หรือ common duct เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การพิจาณาปรับปรุงกฎหมายหรือใช้กฎหมายที่มีอยู่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เช่น การจัดรูปที่ดิน การโอนสิทธิในการพัฒนา (Transfer of development right: TDR) และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายผังเมืองหรือกฎหมายควบคุมอาคารเดิมให้เกิดการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาแบบ TOD เพิ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพต่อผู้สัญจรและผู้ประกอบการลงทุน เพื่อให้การติดต่อ สั่งการ และประสานงานมีความกระชับและมีประสิทธิภาพเชิงบูรณาการ ควรจัดตั้งบรรษัทพัฒนาศูนย์พหลโยธิน ในลักษณะของ “One-stop service”
ภาครัฐควรส่งเสริมและจัดหาที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในภาคใช้แรงงานให้บริการ (labor-based service sector) เช่น แม่บ้าน ดูแลเด็กเล็ก และซักรีด เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนผู้อยู่อาศัยและทำงานในโครงการตามหลักการ TOD (สญชัย ลบแย้ม, 2557a, 2557b; Chung, Choi, Park, & Litman, 2014)
ขอบคุณข้อมูลจาก www.tatp.or.th