นายสุทธา เรืองชัยไพบูลย์ (ซ้าย) ประธานผู้อำนวยการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ผู้บริหารโครงการ “WHIZDOM 101” (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) และ ดร.เบญจพล เวทย์วิวรณ์ (ขวา) ประธานโครงการ STBE ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)


         • MQDC ได้รับเกียรติจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรให้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เพื่อปลุกจิตสำนึกนักศึกษา ป.โท คณะวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างกว่า 200 คน
         • เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 
         • การทำโครงการก่อสร้างไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางบวกและลบ คือผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนต้องได้รับประโยชน์ทั้งเรื่องของการลดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม WHIZDOM 101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) จึงมีทีม R&D ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต เพื่อออกแบบโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของมนุษย์หรือผู้ที่อยู่อาศัยภายในโครงการ ภายใต้โจทย์ในการออกแบบโครงการคือ นวัตกรรมที่มีความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “Sustainovation” 

         กรุงเทพฯ 5 กรกฏาคม  2560 – บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้พัฒนาโครงการที่พักอาศัย และมิกซ์ยูสคุณภาพภายใต้แบรนด์แมกโนเลียส์ (Magnolias) และ วิสซ์ดอม (Whizdom) ได้รับเกียรติจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตร นำทีมโดยนายสุทธา เรืองชัยไพบูลย์ ประธานผู้อำนวยการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) 

 และทีมบริหารโครงการอีก 8 ท่าน ร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการบริหารโครงการ “WHIZDOM 101” (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างกว่า 200 คน ในงาน STBE Talk ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ Green Practices: Here… and Now ณ หอประชุม 9 คณะวิศวกรรมศาตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปลุกจิตสำนึกด้านการประหยัดพลังงาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

         นายสุทธา เรืองชัยไพบูลย์ ประธานผู้อำนวยการ  บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ผู้บริหารโครงการ “WHIZDOM 101” (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) กล่าวว่า ในโอกาสที่ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานให้กับนักศึกษาและผู้สนใจในหลักสูตรเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (STBE) คณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ Green Practices: Here … and Now ว่า WHIZDOM 101 พยายามเลือกหัวข้อ และเนื้อหาที่มีประโยชน์กับนักศึกษามาเล่าให้ฟัง ก่อนอื่นต้องบอกว่า เราตระหนักดีว่าการทำโครงการก่อสร้างไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก จะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการก่อสร้าง และการออกแบบให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด และชุมชนรอบข้างต้องได้รับประโยชน์  เราออกแบบโครงการ โดยมุ่งเน้นทั้งเรื่องของการลดการใช้พลังงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม WHIZDOM 101 จึงต้องมีทีมงานที่ศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ดังนั้น เราจึงต้องออกแบบโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการ และพฤติกรรมของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

         ที่พักอาศัยภายในโครงการ ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมที่มีความยั่งยืน” หรือที่เรียกว่า  “Sustainovation Design ” ซึ่งมาจากคำว่า Sustainability บวก Innovation นั่นเอง

         เนื่องจากโครงการนี้ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ระหว่างสถานี BTS ปุณณวิถี และซอยสุขุมวิท 101/1 ซึ่งเป็นโครงการ Mixed-use ที่ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 30,000 ล้านบาท  มีทั้งพื้นที่สวนขนาดใหญ่ ที่พักอาศัย ที่ทำงาน และร้านค้า บนเนื้อที่กว่า 43 ไร่ภายใต้แนวคิดเรื่องการผสมผสานกันระหว่างที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน และที่พักผ่อน ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ  พื้นที่ในส่วนเชิงพาณิชย์ทั้งหมดของโครงการฯ ถูกออกแบบในคอนเซ็ปต์ไฮบริด (Hybrid) ที่ผสมผสานพื้นที่ภายในและภายนอกอาคารเข้าด้วยกันในขนาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ภายใต้กระบวนการและแนวคิดจึงมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ

         1. การใช้ธรรมชาติมาช่วยออกแบบ (Passive Design) การออกแบบตัวอาคารให้ประหยัดพลังงาน โดยหันอาคารให้รับแดดน้อยลงและรับลมได้ดีขึ้น สามารถลดการใช้พลังงาน ทำให้เปิดเครื่องปรับอากาศน้อยลง ดังนั้นกระบวนการก่อสร้างหรือแนวคิดก่อนก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องมีการจําลองสถานการณ์ (Simulation) โดยใช้ระบบ กระบวนการที่สร้างและจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อทำการทดลอง ทำให้เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร ก็สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้โดยไม่ร้อน รวมทั้งการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ และประหยัดพลังงาน ซึ่งการคิดและการออกแบบ WHIZDOM 101 ด้วยนวัตกรรม ที่ใช้ธรรมชาติเข้ามาช่วย เพื่อสร้างความยั่งยืน ส่งผลให้โครงการ WHIZDOM 101 ได้รับรางวัลจากกระทรวงพลังงานในการประกวด โครงการต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) เพื่อพัฒนาเมืองของชุมชน สู่เมืองอัจฉริยะตามเจตนารมย์ของภาครัฐ เนื่องจากตัวอาคารสามารถลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ถึง 15,000 ตันต่อปี  

         2. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การนำเทคโนโลยีเติมอากาศตลอด 24 ชั่วโมงมาใช้ในโครงการฯ ทำให้อุณหภูมิภายในใกล้เคียงกับอุณภูมิภายนอก และใช้ระบบ District Cooling Plant เพื่อลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ

         3. การใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการลดการใช้พลังงาน โครงการ WHIZDOM 101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) มีการออกแบบพื้นทางเชื่อมบริเวณ Skywalk หน้าโครงการให้สามารถสร้างพลังงานจากการสั่นสะเทือน คิดเป็นเดิน  1 ก้าวสามารถผลิตพลังงาน 5 วัตต์ และนำไปใช้สำหรับไฟส่องสว่างทางเดินเพื่อลดการใช้พลังงาน ส่งผลให้คนที่มาเดินที่โครงการฯ มีส่วนช่วยสร้างพลังงาน สิ่งเหล่านี้ทาง WHIZDOM 101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) จะนำไปสื่อสารกับคนที่เดินทางเข้ามาในโครงการฯ ว่าการออกแบบโครงการฯ ทำให้ทุกคนมีส่วนในการช่วยลดการใช้พลังงาน และช่วยในการผลิตพลังงานทางเลือกได้อีกด้วย

         ด้าน ดร.เบญจพล เวทย์วิวรณ์ ประธานโครงการ STBE ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า มก. เริ่มก่อตั้งโครงการนี้มาเมื่อ 10 ปีก่อน เป็นโครงการเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง  ที่ผ่านมามีการเปิดสอนเพื่อให้ความรู้ เพื่อให้เห็นชัดว่าจะนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้อย่างไร มีแต่การคิดแต่ไม่มีคนทำ ดังนั้น จากนี้ต่อไปความสร้างสรรค์ในเรื่องของการออกแบบสู่ความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่เรื่องของบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนตัวต้องขอบคุณ MQDC ที่ได้นำเรื่องนี้มาใช้จริงๆ เพื่ออุตสาหกรรมออกแบบของคนไทย 

         สำหรับงาน STBE Talk นี้ จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ซึ่งเป็นภาควิชาที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต 

         ทางด้านนายภูริต ทวีจิรวุฒิ ผู้จัดการอาวุโสฝ่าย MQDC กล่าวว่า WHIZDOM 101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) เป็นความร่วมมือระหว่าง MQDC กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  ร่วมพัฒนา “ทรู ดิจิทัล พาร์ค” (True Digital Park) ศูนย์กลางสร้างสรรค์งานวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมดิจิทัล (Innovation Hub) ที่ครบวงจรและสมบูรณ์แบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอบสนองนโยบายของทางภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 โดยไม่เพียงแต่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดการจัดการแบบบูรณาการในชุมชน แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

         ทั้งนี้ ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) จะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสร้างสรรค์งานวิจัยนวัตกรรม (Innovation Hub) เพื่อสังคมดิจิทัลที่ครบวงจรและสมบูรณ์แบบแห่งแรก ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือได้ว่าเป็นสังคมดิจิทัลที่ครบวงจรแห่งแรกที่ลงทุนโดยภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงกันเป็นเมืองดิจิทัลด้วยเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม 4G Plus บรอดแบนด์และ Wifi ที่แวดล้อมด้วยระบนิเวศน์สมบูรณ์แบบ มีแพลตฟอร์มบริการด้านดิจิทัล (Digital Service Platform) รองรับการทำธุรกิจทั้ง Cloud, E-Commerce และ E-Payment มีพื้นที่ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เครือข่ายระดมทุนแบบ Crowd Funding เอื้อต่อการลงทุนของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย  สร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดให้มีเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจไทย สร้างสังคมดิจิทัล รวมทั้งสนามทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ และชุมชนต้นแบบ รวมถึง Prototyping Facilities ทรู ดิจิทัล พาร์ค จะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการต่อยอดของธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อให้ไอเดียเกิดความเป็นรูปธรรม สร้างชุมชนที่เป็น One-Stop Service ลดการจราจรในเขตเมือง  เป็นที่หมายใหม่ของคนเมือง โดยมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และ Green Buffer ให้ชุมชนโดยรอบ และเพิ่มพื้นที่สันทนาการให้ชุมชน มีพื้นที่บริการเพื่อผู้อยู่อาศัยในโครงการและชุมชนโดยรอบ สร้างแรงกระตุ้นขับเคลื่อนความคิดเชิงสร้างสรรค์

         “การพัฒนาโครงการฯ ทำไมต้องมี ร้านค้า ทำไมต้องมีสปอร์ตคลับ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนต้นทุนสูง มีผลตอบแทนน้อย แต่ในเวลาที่ MQDC คิด หรือออกแบบโครงการ เราจะนำเรื่องของชุมชนรอบข้างมาพิจารณาว่าชุมชนที่อยู่ก่อนจะได้ประโยชน์อะไร เพื่อรักษาความเป็นชุมชนดั้งเดิมที่เคยอยู่มาก่อนMQDC จึงมีการปรับปรุงคลอง ริมบาธวิถี หรือแม้แต่การก่อสร้างเพิ่มเติม อาทิ การวางแผนก่อสร้างสกายวอล์คที่เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนรอบข้าง จึงมีการขยายการสร้างสกายวอล์ค จากเดิมคือระยะทาง 300 เมตร เป็น 500 เมตรไปถึงปากซอย 101/1 เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในการสัญจรทางรถไฟฟ้าเพื่อรักษาวิถีชุมชนไว้” 

         นายภูริต กล่าวว่า การรวมเอาทั้งโครงการที่อยู่อาศัย โรงแรม และร้านค้ารวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอีกนับไม่ถ้วนมารวมไว้ในพื้นที่เดียวกัน (Mixed-use) ที่จริงทำกำไรไม่ได้มาก หากเทียบเชิงรายได้ แต่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้ชุมชนดีขึ้นเพราะ MQDC มีหลักคิดง่ายๆ ว่า เวลาที่จะทำโครงการที่ไหนเราต้องคิดเสมือนว่าเราทำให้คนในครอบครัวอยู่ จึงต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อคนในครอบครัวของเรา

         นอกจากนี้ MQDC ยังมีพื้นที่ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยมีโซนที่ให้บริการ 24 ชั่วโมงอยู่บนชั้นหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนทั่วไปสามารถมานั่งพักผ่อนหย่อนใจ มีร้านค้า 24 ชั่วโมง มีแสงสว่าง 24 ชั่วโมง มีปลั๊กไฟ และ Wifi ฟรี ให้คนในชุมชนเข้ามาใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นโซนที่เชื่อมต่อระหว่างคอนโด และรถไฟฟ้า

         นายเจนวิทย์ พงศ์จรรยานุกูล  Assistant Vice President, MQDC กล่าวว่า การคิดโครงการเริ่มจากการออกแบบแนวคิด (Design Concept) โดยภาพรวม บนพื้นที่ที่ต้องการพัฒนา นอกจากคิดในเรื่องของชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น และสิ่งที่ลืมไม่ได้ คือเรื่องของรายได้และการดำเนินธุรกิจ จึงต้องทำงานร่วมกับที่ปรึกษามากกว่า 10 ราย รวมทั้งมีการทำงานร่วมกับนักการตลาด กฎหมาย นักวางแผน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการ ฯลฯ เนื่องจากอาคารใช้พื้นที่จำนวนมาก

         โครงการ WHIZDOM 101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) มีคอนโดมิเนียมจำนวน 3 อาคาร เมื่อมีต้นทุนในการก่อสร้างสูง จึงจำเป็นต้องแบ่งเวลาในการขายให้แตกต่างกัน แบ่งเป็นเฟส เพื่อสร้างรายได้ให้กับบริษัทผู้พัฒนาโครงการ  ที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้คอนโดมิเนียมมีความโดดเด่น และแตกต่าง เราจึงริเริ่มการศึกษา วิจัยและพัฒนา โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิต และใส่ใจในเรื่องความต้องการของลูกค้า ภายใต้กฏหมายกำหนด การบริการหลังการขายโดยมีการรับประกัน 30 ปี ใน 4 เรื่อง คือ 1. โครงสร้างต้องแข็งแรง ปลอดภัย 2. การรั่วซึมของอาคารทั้งบ้าน และคอนโด โดยหลังคาจะแข็งแรงเป็นพิเศษ 3. การใช้งานของประตูและหน้าต่างที่ผ่านการทดสอบเรื่องของความแข็งแรง และ 4. การรั่วซึมของระบบไฟฟ้าและประปา  รวมถึงการนำนวัตกรรมมาใช้ในโครงการโดยเฉพาะในเรื่องของการเติมอากาศบริสุทธิ์ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัย และลดการใช้พลังงาน

         เมื่อมีการออกแบบสินค้า จึงต้องมีการกำหนดราคาขาย ซึ่งเรากำหนดให้ใกล้เคียงกับโครงการอื่นๆ แต่สิ่งที่ลูกค้าได้รับเพิ่มเติม จากโครงการทั่วไป คือ ทัศนียภาพ บรรยากาศ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ราคาต่อตารางเมตรประมาณแสนกว่าบาท จะใช้วัสดุที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา มีเอกลักษณ์  ลูกค้าจะได้รับ ประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งเรื่องของการเดินทางที่สะดวกสบาย การจัดวางอาคาร ร่วมกับดีไซเนอร์ นอกจากนี้ห้องพักของทั้ง 3 ตึกยังออกแบบให้ไม่บังกัน ไม่ตั้งฉากกัน คือการให้ความสำคัญในเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในพื้นที่คอนโด 17 ไร่ แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวถึง 5.5 ไร่ สำหรับ 3 อาคาร เพื่อสร้างความแตกต่าง และใช้โทนสีที่แตกต่างกัน โดยไม่ลืมเรื่องของการออกแบบในเชิง Sustainovation ที่MQDC ใส่ใจ รวมทั้งเพิ่มเติมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปด้วย

         ทั้งนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงการของ  MQDC คำนึงถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย เลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม  มีเรื่องของการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) ให้ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกสภาพร่างกาย ทุกวัยสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้  และเรื่องของ ฮวงจุ้ยซึ่ง MQDC จะใส่ใจในเรื่องนี้มาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ที่สนใจคอนโดจะพิจารณาให้หัวเตียงหันไปทางที่ดีต่อฮวงจุ้ย คือไม่อยู่ในทิศตะวันตก โดยทั้ง 3 อาคาร ออกแบบให้หัวเตียงหันไปทางทิศตะวันออก ประตูไม่ตรงกันทั้งทางเข้าและทางออก ทิศทางการวางเครื่องปรับกากาศจะดีต่อสุขภาพ การใส่ใจตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างถึงการส่งมอบให้ลูกค้า 

         นายปรเมษฐ์  ทันวงษ์  Vice President, MQDC กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย นำเทคโนโลยีมาใช้น้อยมาก  หากนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการก่อสร้างจะลดการสูญเสียได้มาก เพราะหากออกแบบ หรือมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ขนาดโครงสร้างไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดการสูญเสีย หากเกิดความผิดพลาดในส่วนของการวางท่อ หรือขั้นตอนการวางโครงสร้าง  ต้องทุบทิ้งและดำเนินการใหม่  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องนำเทคโนโลยี BIM มาใช้ตั้งแต่การออกแบบ นำข้อมูลทั้งหมดมาใส่แบบจำลองสามมิติ (3D)    ก่อนกระบวนการก่อสร้าง และลงมือทำงานจริง จะช่วยลดความผิดพลาดและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่ก่อสร้าง เทคโนโลยี BIM นี้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายเรื่อง ตั้งแต่การออกแบบ งานระบบ โครงสร้าง ประมาณราคา วางแผนงานก่อสร้าง ตลอดจนการบริหารจัดการอาคารเมื่อเปิดใช้แล้ว 

         นายอรรถวุฒิ  แก้วสุทธิพล  Senior Architect of A49 ผู้รับผิดชอบทางด้านงานสถาปัตยกรรมกล่าวว่า การขายโครงการหรือคิดโครงการต้องตอบโจทย์ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องของความสวยงาม การใช้งานได้ดี ความประหยัด พื้นที่สีเขียว และต้องมีความแตกต่างเพื่อเป็นจุดขาย พื้นที่ขายต้องมีจำนวนมาก พื้นที่สีเขียวต้องมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่  คนคิดต้องคิดว่าจะทำอย่างไร เรื่องนี้ยาก ตอนทำแบบไปนำเสนอลูกค้าต้องทำอย่างไร ดังนั้น คนที่จะไปเสนองานต้องเก่ง ต้องมีความรู้มากกว่า หรือเท่ากับลูกค้าเพราะลูกค้าตอนนี้มีความรู้มาก ต้องทำแบบนำเสนอเพื่อให้ลูกค้าเลือก และหาแนวทางที่ดีที่สุดให้ลูกค้า

         นายกฤษฎา แท้ประสาทสิทธิ์ Managing Director Infra group Co., Ltd.  อีกหนึ่งท่านที่รับผิดชอบด้านงานสถาปัตยกรรมด้านการออกแบบโครงสร้าง กล่าวว่า การออกแบบโครงการต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงๆ  การออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ต้องปลอดภัยและรับน้ำหนักได้ รวมทั้งต้องกระทบค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ในเรื่องของโครงสร้างต้องนำเสนอทางเลือกให้เจ้าของโครงการ เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี และคุ้มค่าการลงทุน นายอรรณพ  กิ่งขจี Vice Chairman and COO  of ECC Engineering Network Co., Ltd. ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาคารแบบยั่งยืน กล่าวว่า สำหรับคำถามที่ว่าทำไมต้องขับเคลื่อนให้โครงการ WHIZDOM 101 (วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน) เป็นโครงการต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) เราต้องคุยเรื่องรายละเอียด ทั้งเรื่องของโครงสร้าง ต้องรู้ว่าเหล็กมีค่าความร้อนเท่าไหร่  การออกแบบต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่จะส่งผลให้ตึกมีความร้อนเพิ่มขึ้น เมื่อรู้ว่าวัสดุที่ใช้เป็นตัวการทำให้เกิดความร้อน จึงจำเป็นต้องมีต้นไม้สูงเพื่อไม่ให้แสงส่องลงบนพื้นคอนกรีตโดยตรง โครงการนี้มีขนาดใหญ่ มีออฟฟิศ มีพื้นที่ใช้สอยแบบมิกซ์ยูส (Mixed-use) จึงจำเป็นต้องคิดทุกอย่างในรอบเดียวก่อนลงมือก่อสร้าง รวมทั้งต้องเป็นโครงการรักษ์โลกที่มีความยั่งยืน อาทิ ต้องไม่มีท่อแอร์เพื่อไม่ให้มีการสะสมของฝุ่นและเชื้อรา ทุกพื้นที่มีการควบคุมอุณภูมิได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดการใช้พลังงาน   

         คุณอภิพรรณ  บริสุทธิ์ ผู้ออกแบบสิ่งแวดล้อมอาวุโส Senior Environmental Designer, Atelier Ten กล่าวว่า การที่จะทำโครงการ เราต้องมีความมุ่งมั่นว่าจะต้องสร้างโครงการให้ดีและยั่งยืนก่อน แล้วจึงเอามาพิจารณาว่าการออกแบบจะเป็นอย่างไร เพื่อให้เข้าเกณฑ์ และโจทย์หลายอย่างต้องยืดหยุ่นได้ ไม่ใช่ทำงานจาก 1 ไปถึง 10 แต่งานที่ทำหรือแบบที่ออกต้องสามารถถอยหน้าถอยหลังได้ เพื่อให้การก่อสร้างไม่ไปเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หากมีทั้งบ่อน้ำ พื้นที่สีเขียว มีสกายวอล์ค และมีทางเชื่อมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชุมชนโดยรอบ จะเป็นข้อดีของโครงการ นอกจากนี้ยังมีการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการรีไซเคิล การผลิตและขนส่งต้องเกิดภายในประเทศไทย การคัดเลือกต้นไม้ท้องถิ่นที่มีความทนต่อสภาพแวดล้อมมาปลูกในโครงการฯ เพื่อลดต้นทุน และระยะทางในการขนส่ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่โลก 

         นายดนัยวิทย์ อยู่คง Design Director, Lokoh=Co., Ltd.  ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์ กล่าวว่า  การออกแบบเน้นในเรื่องของการนำธรรมชาติกลับเข้ามาในโครงการฯ แก่นของการคิดคือเรื่องธรรมชาติมีความจำเป็นต่อมนุษย์  เป็นเรื่องที่นักออกแบบต้องคิดเพราะจากนี้ไปแนวคิดเพื่อโลกที่ดีขึ้น เพื่อความยั่งยืนต้องนำกลับเข้ามาใช้ในการออกแบบโครงการต่างๆ 

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.mqdc.com