ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เตรียมปักหมุด ลลิล ทาวน์ 8-10 โครงการ ตั้งเป้าโต 15% เชื่อมั่นเศรษฐกิจโลกดีต่อเนื่องหนุนอสังหาฯ ไทยโต 5-7%
บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) มองเศรษฐกิจโลกปี 2561 ยังส่งสัญญาณบวก หนุนเศรษฐกิจไทยสดใส ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นตัวชัดเจน คาดตลาดโต 5-7% พร้อมประกาศแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจปีที่ 3 ทศวรรษ ด้วยนโยบาย "Year of Competitiveness and Innovation for LALIN 4.0" ตอกย้ำความเป็นมืออาชีพ และผุ้นำด้านการเปลี่ยนแปลงเทรนด์อสังหาฯ เตรียมเปิดตัว ลลิล ทาวน์ 8-10 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 4,500 - 5,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ - ปริมณฑล และต่างจังหวัด ตั้งเป้ายอดขายสิ้นปี 4,400 ล้านบาท และเป้ารับรู้รายได้ 4,000 ล้านบาท โต 15%
นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) คาดเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 อยู่ที่ 3.8 - 3.9% โดยในปี 2561 จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การลงทุนภาคเอกชน การบริโภคภาคเอกชน และเม็ดเงินลงทุนจากภาครัฐที่เริ่มทยอยเข้าสู่ระบบเศรษญกิจมากขึ้น ในปี 2561 นี้ มองว่า ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ซึ่งเป็นตลาด Real Demand จะยังคงขยายตัวได้ราว 5-7% สำหรับตลาดอาคารชุดไทย อาจต้องระวังในบาง Sector และในบางทำเล ซึ่งอาจเริ่มเห็นสัญญาณ Over Supply
ทั้งนี้ในปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 3 ทศวรรษของบริษัท ฯ จึงวางแผนขยายโครงการใหม่ จำนวน 8-10 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 4,500 - 5,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ - ปริมณฑล และต่างจังหวัด ตั้งเป้ายอดขายสิ้นปี 4,400 ล้านบาท และเป้ารับรู้รายได้ 4,000 ล้านบาท โต 15%
นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง ปี 2561 วางแผนปรับกลยุทธ์การดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่นผุ้บริโภคที่ไว้วางใจ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มากกว่า สามทศวรรษ และบริษัทฯ ยังคงมุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะแนวราบที่บริษัทฯ มีความชำนาญ ทั้งแนวคิด การวางคอนเซ็ปท์ ความคุ้มค่าในการอยู่อาศัย และการเลือกทำเลศักยภาพ ตอยโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์และราคา เน้นการทำ Digital Marketing และ CRM Strategy
แผนกลยุทธ์ โครงการ ลลิล ทาวน์ Lalin Town เตรียมเปิดโครงการใหม่ไว้ 8-10 โครงการ มูลค่ารวม 4,500 - 5,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ - ปรืมณฑล และต่างจังหวัด ในหัวเมืองหลัก และหัวเมืองรอง สัดส่วนเป็น กรุงเทพและปริมณฑล 75-80% และ ต่างจังหวัด 20-25%
ในด้านการเงิน บริศัทฯ วางงบซื้อที่ดินไว้ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนส่วนใหย๋มาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ที่มาจากการโอนโครงการต่างๆ และส่วนหนึ่งมาจากการออกหุ้นกู้ ทั้งนี้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ของบริษัทยังอยู่ในระดับเพียง 0.8-0.9% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่มาก สะท้อนความเสี่ยงด้านการเงินของบริษัทที่ต่ำ และยังคงมีศักยภาพในการขยายธุรกิจต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก www.lalinproperty.com