งานเสวนา UD Product Knowledge ครั้งที่ 8
Thailand Best Destination
1.ประชากรโลก = ผู้สูงอายุ
องค์การ Helpage คาดการณ์ว่า ปีค.ศ. 2030 และค.ศ.2050 โลกจะมีประชากรสูงอายุ(อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) 1,402 ล้านคน และ 2,092 ล้านคน หรือประมาณ 21.5% ของประชากรโลก และผู้สูงอายุเหล่านี้ส่วนหนึ่งตั้งเป้าจะมาใช้ชีวิตบั้นปลายในต่างประเทศ ตลาดLongstay จึงเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจในอนาคต
http://www.helpage.org/global-agewatch/population-ageing-data/population-ageing-projections/
2.Thailand…Destination
ในต้นปี ค.ศ.2018 ทาง International Living Australia Global Retirement ได้จัดลำดับประเทศที่ชาวออสเตรเลียสนใจไปใช้ชีวิตช่วงเกษียณอายุ โดยดูจาก ค่าครองชีพ คุณภาพชีวิต คุณภาพของการดูแลสุขภาพ
โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ความสามารถทางภาษาอังกฤษของประชากรในท้องถิ่น ขนาดของชุมชนชาวต่างชาติที่มีอยู่ และผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับในแง่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปรากฏว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 2 รองจากมาเลเซีย คะแนนรวม มาเลเซีย ไทย บาลี ได้แก่ 91%,88%,86% ตามลำดับ จะพบว่าปัญหา Longstay Visa เป็นประเด็นที่มาเลเซียชนะไป 13 คะแนน
แต่ปัจจุบันประเทศไทยให้ชาวต่างชาติสามารถขอ Longstay Visa เป็น 10 ปี แล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ที่จะขอวีซ่าประเภทนี้ได้จะต้องมีเงินฝากในบัญชี 3 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีรายได้ต่อเดือน 1 แสนบาทขึ้นไป และต้องคงบัญชีเงินฝากตามที่แสดงไว้ในธนาคาร โดยให้ดำเนินการใน 14 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา ฉะนั้นคาดว่าผู้สูงอายุชาวออสเตรเลียจะหลังไหลเข้าไทยมากขึ้น
สำหรับเมืองของประเทศไทยที่ให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะมา Longstay นั้น จากการสำรวจของ International Living Australia Global Retirement Rankings ปี ค.ศ.2018 พบว่ามี 2 เมือง คือ เชียงใหม่ ได้เกรด A- และเมืองหัวหิน ได้ B-
ข้อมูลจาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พบว่าชาวออสเตรเลียที่มาพำนักในประเทศไทยประเภทวีซ่าเข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลาย ในปี พ.ศ. 2551-2558 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ คือภายในช่วง 8 ปี เพิ่มขึ้นถึง 343 % แล้วกลุ่มเป้าหมายนี้เขาดูปัจจัยอะไรบ้าง ในการเลือกประเทศที่จะมา Longstay..
3.Long stay กับ Real estate
กลุ่มผู้สูงอายุ Longstay นี้เขาพิจารณา 13 ปัจจัย ในการเลือกประเทศที่จะมาพำนักระยะยาว ได้แก่
ค่าครองชีพ
- ภาษี
- สภาพภูมิอากาศ
- อาชญากรรมและความปลอดภัย
- การใช้ภาษาอังกฤษ
- ความบันเทิง
- เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนชาวต่างชาติ
- การดูแลสุขภาพ
- โครงสร้างพื้นฐาน
- ความสามารถในการซื้ออสังหาริมทรัพย์
- ข้อจำกัดด้านอสังหาริมทรัพย์
- การพักผ่อนหย่อนใจ
- ตัวเลือกที่พักอาศัย
จะพบว่า 7 ใน 13 ข้อ เกี่ยวข้องกับ Real estate
ฉะนั้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ-Longstay จึงเป็นตลาดที่น่าสนใจ เป็น Blue Ocean Strategy ที่มีคู่แข่งน้อยราย ลูกค้ามีกำลังซื้อสูง แต่การเข้าสู่ตลาดจะต้องศึกษารายละเอียดพฤติกรรมผู้บริโภคดีๆ ทำความเข้าใจกับสินค้าประเภทเดียวกันในต่างประเทศ และต้องเลือก Partnership กับผู้เชี่ยวชาญของชาตินั้นๆ
สัมมนา Thailand Retirement Destination 10 พค.2561 ติดต่อ Line id : udguru ,0925181301
https://www.liveandinvestoverseas.com/best-places-to-retire/
อสังหาฯ…สูงวัย…แดนจิงโจ้
Australia senior living
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ trirat13@gmail.com
Universal design research unit ,Faculty of Architecture,Chulalongkorn University
1.ออสเตรเลีย…น่าสนใจ
ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร
ในขณะที่ออสเตรเลียมีพื้นที่ประมาณ 7,741,220 ตารางกิโลเมตร(ใหญ่กว่าไทย 15 เท่า)
ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 68 ล้านคน
ในขณะที่ออสเตรเลียมีประชากรเพียง 25 ล้านคน(น้อยกว่าไทย 2.7 เท่า)
7.5% ชาวออสเตรเลียที่อายุมากกว่า 65 ปี จะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 5.7%.ในปี 2014 เป็น 7.5% ในปี 2025 |
8.1 ล้านคน ชาวออสเตรเลียที่อายุมากกว่า 65 ปี จะเพิ่มขึ้นจาก 3.2 ล้านคนในปี 2014 เป็น 8.1 ล้านคนในปี 2050 |
382,200 คน ชาวออสเตรเลียสนใจหาหมู่บ้านผู้สูงอายุ 382,200 คนในปี 2025 |
http://www.mylifeelsewhere.com/compare/australia/thailand
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ในปี 2012 ออสเตรเลียมีรายได้ต่อหัวที่สูงที่สุดอันดับห้าของโลก ในปี 2016 ออสเตรเลียมีรายได้ตัวหัวที่ 48,800 USD ในขณะที่ประเทศไทยมีรายได้ตัวหัวที่ 16,800 USD(น้อยกว่า 3 เท่า) ทำให้ค่าครองชีพที่ออสเตรเลียค่อนข่างสูง เช่น น้ำเปล่าที่ออสเตรเลียขายประมาณขวดละ68 บาท ในขณะที่ไทยขวดละ 10 บาท (แพงกว่าไทย 6.8 เท่า)
2.ผู้สูงอายุ ไทย-ออสเตรเลีย
อายุคาดหวังเฉลี่ยคนไทยอยู่ที่ 74.7 ปี ในขณะที่อายุคาดหวังเฉลี่ยคนออสเตรเลียอยู่ที่ 82.2 ปี(มากกว่าไทย 7.5 ปี)แสดงว่าการรักษาสุขภาพของคนออสเตรเลียดีกว่าคนไทย ข้อมูลที่น่าสนใจคือ การเข้าสู่สังคมสูงวัย ประเทศออสเตรเลียเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย(Ageing society คือมีประชากรที่อายุ 65 ปีจำนวน7%) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1938 และจะเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์(Aged society คือมีประชากรที่อายุ 65 ปีจำนวน 14%)ในปี ค.ศ.2011 ในขณะที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี ค.ศ.2003 และจะเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ ในปี ค.ศ.2025 การที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยช้ากว่าออสเตรเลียมาก(ช้ากว่า 65 ปี) แต่การเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าในช่วงต้น(ช้ากว่าแค่ 14 ปี) เป็นเพราะระยะเวลาเข้าสู่สังคมสูงวัยของออสเตรเลียใช้เวลา 73 ปี ของไทยใช้เวลาแค่ 22 ปีนั้นเอง ประเด็นสำคัญคือ ออสเตรเลียเพิ่งผ่านการเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ มาในปี ค.ศ.2011...ประสบการณ์การรับมือกับสังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ของออสเตรเลีย จึงน่าสนใจมาก และอาจนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้
3.ตลาดอสังหาฯ…สูงวัย…แดนจิงโจ้
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุชาวออสเตรเลียแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.หมู่บ้านผู้สูงอายุ(Retirement village)
หมู่บ้านผู้สูงอายุเป็นที่อยู่อาศัยที่ออกแบบเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นวิลลาชั้นเดียว มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่ชุมชน บริการด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการพักผ่อน ในบางกรณีหมู่บ้านตั้งอยู่ร่วมกับสถานดูแลผู้สูงอายุ ปัจจุบันชาวออสเตรเลียประมาณ 184,000 คนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านผู้สูงอายุ จากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านผู้สูงอายุนี้ มีความสุขมากกว่าที่อยู่เดิม
การใช้ชีวิตในหมู่บ้านผู้สูงอายุ เป็นการใช้ชีวิตแบบอิสระ ไม่มีพนักงานดูแล ผู้สูงอายุสามารถขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้(โดยการจ่ายเงินเพิ่ม) เช่น การทำอาหาร การดูแลรักษาที่บ้าน หมู่บ้านผู้สูงอายุมักจะเป็นสิทธิการเช่าที่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้า เงินบริจาคจะถูกจ่ายเมื่อเข้าอยู่และได้รับการชำระคืนเมื่อออกและขายที่อยู่อาศัย
สำหรับตลาดหมู่บ้านผู้สูงอายุนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มPremium ราคาจะสูงกว่าราคาตลาด 10% มีจำนวน 13% ของตลาด
กลุ่ม Affordable ราคาจะอยู่ระหว่าง +10% กับ -10% ของราคาตลาด มีจำนวน 24%ของตลาด
และกลุ่ม Budget ราคาจะต่ำกว่าราคาตลาด 10% มีจำนวนถึง 63% ของตลาด
ภาคเอกชนและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุชาวออสเตรเลีย หมู่บ้านผู้สูงอายุเหล่านี้เสนอบริการที่หลากหลายแก่ผู้อยู่อาศัย เนื่องจากบริการเหล่านี้มีประโยชน์ไม่เพียงแต่การดูแลวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังสร้างการออมให้กับรัฐบาลอีกด้วย จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเงินฝากออมทรัพย์นี้มีมูลค่า 2.16 พันล้านดอลลาร์ ในระบบการดูแลสุขภาพ การเกษียณอายุ เป็นของผู้สูงอายุที่อยู่ในหมู่บ้านผู้สูงอายุถึง 1.98 พันล้านดอลลาร์(กว่า 92%)
ผู้สูงอายุชาวออสเตรเลียหลายคนเลือกหมู่บ้านผู้สูงอายุ เนื่องจากหมู่บ้านให้การสนับสนุนที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมของชุมชน หมู่บ้านผู้สูงอายุนี้จึงมีการเติบโตสูง โดยคาดการณ์ว่าในปี ค. ศ. 2025 จะมีผู้สูงอายุประมาณ 382,000 คน ที่กำลังมองหาหมู่บ้านผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าสองเท่าของปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญเลยทีเดียว
2.สถานดูแลผู้สูงอายุ(Aged care facilities)
การใช้ชีวิตในสถานดูแลผู้สูงอายุนี้ไม่เป็นอิสระ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายที่อ่อนแอมาก และต้องได้รับการประเมินจาก Aged Care Assessment Service ก่อนการเข้าอยู่
ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความจำเป็น ที่ต้องการการดูแลส่วนบุคคลเช่น การแต่งตัว การอาบน้ำและการทำอาหาร การอยู่อาศัยในสถานดูแลผู้สูงอายุนี้ มีทางเลือกระหว่างการชำระเงินล่วงหน้าและการชำระเงินรายวัน โครงสร้างการจ่ายเงินสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุ จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับหมู่บ้านผู้สูงอายุ ค่าที่พักและบริการในสถานดูแลผู้สูงอายุนี้ มักจะเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐและถูกควบคุมอย่างมาก
ตัวอย่างหมู่บ้านผู้สูงอายุ ของสถาบันการกุศลที่ไม่แสวงผลกำไร คาร์ริงตัน ในรัฐนิวเซาท์เวลส์
สัมมนา Thailand Retirement Destination 10 พค.2561 ติดต่อ Line id : udguru ,0925181301
Carrington Retirement Community
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ trirat13@gmail.com
Universal design research unit ,Faculty of Architecture,Chulalongkorn University
คาร์ริงตันเป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงผลกำไร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองแคมเดนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ก่อตั้งโดย วิลเลี่ยม เฮนรี นักธุรกิจผู้มั่งคั่งและผู้ใจบุญ ในปีพ. ศ. 2431 เขาได้บริจาคที่ดิน 500 เอเคอร์ พร้อมกับหุ้นในผลิตภัณฑ์นม และกระท่อมสองหลังบวกกับเงิน 10,000 ปอนด์ เพื่อที่จะสร้างโรงพยาบาลคาร์ริงตัน Centennial ผู้ว่าการรัฐในวันนั้น คือ Lord Carrington
โรงพยาบาลคาร์ริงตัน Centennial เปิดในเดือนสิงหาคมปีพ. ศ. 2433 และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่เปิดดำเนินการในรัฐนิวเซาท์เวลส์ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารเชิงประวัติศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ของเมือง และ 'Excellence in Care' มานานกว่า 125 ปี เป้าหมายของโครงการชุมชนผู้สูงอายุนี้ คือผู้สูงอายุที่อยู่อย่างอิสระ ได้รับการเคารพ สุขภาพดี มีความสุขและมี "ความสัมพันธ์"ที่ดี Carrington ดำเนินธุรกิจดูแลผู้สูงอายุสี่แห่ง ผ่าน Community Care ที่ให้บริการลูกค้าเป็นจำนวนมากในพื้นที่และบริเวณโดยรอบ
ในพื้นที่กว่า 500 เอเคอร์(ประมาณ 1,265 ไร่)ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.Independent Living Units(ILU) เป็นรูปแบบหมู่บ้านผู้สูงอายุที่แข็งแรง
2.Aged Care Facilities เป็นสถานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
3.Facilities อื่นๆ เช่น อาคารสันทนาการ ห้องครัว/อาหาร
ข้อสังเกตุในการวางผังคือการเอาสิ่งอำนวยความสะดวก(Facilities)ไว้ตรงกลาง ล้อมด้วยกลุ่มสถานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่วนหมู่บ้านผู้สูงอายุที่แข็งแรงจะอยู่รอบนอก
สำหรับอัตราการเข้าพักปรากฎว่าทั้ง 3 โซน คือ Retirement village Residential care facilities และCommunity care มีอัตราการเข้าพักตั้งแต่ 88-98 % ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก
MAYFARM COTTAGES
Mayfarm ประกอบด้วย 19 กระท่อมสุดหรู ที่ได้รับการออกแบบที่สวยงาม พร้อมพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางทั้งในร่มและกลางแจ้ง ห้องครัวขนาดใหญ่ และพื้นที่จัดเก็บที่เพียงพอ ภายในบ้านพักมีระบบปรับอากาศที่ดี และได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ผู้พักอาศัยมีความสะดวกสบายในการดูแลสุขภาพจาก GP Clinic กายภาพบำบัด ร้านขายยา และบริการทันตกรรม มีการสนับสนุนเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้ตามที่เลือกได้ เช่นบริการในการดูแลเรื่องส่วนตัว บริการเหล่านี้ผ่านการแนะนำจากทีมการดูแลชุมชน ซึ่งจะประเมินความต้องการของแต่ละบุคคลและจัดแพคเกจบริการที่เหมาะเพื่อให้ผู้สูงอายุ อยู่ได้อย่างอิสระ แต่หมู่บ้านไม่อนุญาตให้มีสัตว์เลี้ยงในบ้านนอกเหนือจากนกหรือปลา
(ตามพระราชบัญญัติเกษียณอายุในปีพ. ศ. 2542 ลูกค้าต้องมีอายุ 55 ปีขึ้นไป )
https://carringtoncare.com.au/independent-living/independent-living/
สำหรับค่าใช้จ่ายจะมี ส่วน คือ
1.ค่าบำรุงรักษา MAINTENANCE CHARGES
ค่าบริการรายเดือนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดอาคารและการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสถานที่ การประกันภัยทั้งหมด ค่าน้ำ
2.ค่าธรรมเนียมการออก DEPARTURE FEES
ค่าธรรมเนียมการออกจะต้องชำระในหรือหลังสิ้นสุดสัญญา ค่าธรรมเนียมการออก คำนวณเป็นรายวัน
3.ค่าใช้จ่ายทางการเงิน / กฎหมาย FINANCIAL / LEGAL ARRANGEMENTS
Paling court
ประกอบด้วยห้องสวีทจำนวน 130 ห้อง ในโครงการ Carrington โซน Residential Aged Care ผู้อยู่อาศัยจะเพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์ชนบท โปรแกรมการพักผ่อนหย่อนใจ และการจัดเตรียมอาหารที่มีคุณภาพสูง Paling Court ยังมีห้องเลานจ์แบบเปิดโล่งที่มีบริเวณระเบียงกว้างขวาง ลานกลางแจ้งที่สวยงาม ห้องรับประทานอาหารและห้องนั่งเล่น ที่ออกแบบอย่างสวยงามเหมาะสำหรับการสังสรรค์ในครอบครัว
ขนาดของห้อง 34.1m2
เงินประกันที่พัก/สูงสุด : 300,000 ดอลลาร์(ประมาณ 722,000 บาท)
การชำระเงินที่อยู่อาศัยรายวัน: 46.84 ดอลลาร์(ประมาณ 1,128 บาท)
เผยข้อมูล Thailand Retirement Destination สัมมนา 10 พค.2561 ติดต่อ Line id : udguru ,0925181301