ประเทศไทย ตามทันยุคเทคโนโลยี แค่ไหนกัน ?
วงการธุรกิจในไทยเริ่มมีการตื่นตัวและขยายวงกว้างออกสู่สายตานานาประเทศในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่องเห็นภาพชัดเจน 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการต่อยอดและขยายไปสู่อุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบ
ประเทศจีน ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นเสือซุ่มแต่รวดเร็วมากในภูมิภาคนี้ และมากกว่าเกือบทุกๆบริษัทด้านเทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่มีปัจจัยหลายๆอย่าง ประเทศจีนมุ่งมั่นในการลงทุนมากสำหรับภูมิภาคนี้และจีนก็มีความพร้อมในการลงทุน มีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจะมีเม็ดเงินอีกมหาศาลที่จะหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี 2565 ประเทศสิงคโปร์ เป็นอีกประเทศที่น่าจับตาเพราะกำลังดำเนินการวางแผนจะให้บริการ รถโดยสารประจำทางแบบไร้คนขับ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องการขาดแคลนพนักงานขับรถและแก้ปัญหาพื้นที่บนเกาะที่มีอย่างจำกัด มีการนำร่องก่อนใน 3 แห่งของบางพื้นที่ซึ่งเป็นถนนที่มีการจราจรและการคมนาคมที่ไม่หนาแน่น
สำหรับ ประเทศไทย กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใช่แค่เพียงที่จะมุ่งเน้นพัฒนาแต่ เทคโนโลยีด้าน Construction Tech Property Tech เพียงอย่างเดียวเท่านั้น มีการเริ่มต้น สนับสนุนStartup หลายแห่ง อาทิเช่น กลุ่มอนันดา กลายเป็น Tech Company ในอนาคตมีความเข้าใจและจะมีส่วนทั้ง Fin Tech เพื่อช่วยให้การกู้เงินซื้อบ้านง่ายขึ้น Health Tech การอาศัยอยู่ในบ้านแล้วดูแลสุขภาพของคนในบ้านได้ดีขึ้น IoT Tech การใช้ชีวิตในบ้านสะดวกสบายมากขึ้น จนกลายเป็น UrbanTech สร้างเส้นทางความสำเร็จแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ให้กับธุรกิจของตัวเอง
การผลักดันสู่ “การลงทุนด้านเทคโนโลยี” สำหรับปี 2561 อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่จับตาคือ การยกระดับระบบนิเวศด้านเทคโนโลยี หรือ Tech Ecosystem ทั้งของไทยและประเทศทั่วโลก ตัวอย่าง Tech Ecosystem Builder ในต่างประเทศแถบยุโรป คือ Station F หรือ ‘ The World’s Biggest Startup Campus ’ อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็น Startup Hub ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคยุโรป บนพื้นที่กว่า 34,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย Private offices โต๊ะทำงานกว่า 3000 โต๊ะ 60 ห้องประชุมและพื้นที่การจัด Event 8 จุด ร้านอาหาร คาเฟ่ และห้องอาบน้ำ เปิดให้บริการตลาด 24 ชั่วโมง
ประเทศไทยในช่วงปลายปี 2561 นี้ จะเกิดปรากฏการณ์ทางเทคโนโลยีมิติใหม่แห่งวงการดิจิทัลและ Startup ในประเทศไทยของ โครงการ ทูร ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งจะเป็น Digital Hub ที่สมบูรณ์แบบและครบวงจรที่สุดเป็นแห่งแรกในไทยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยพื้นที่ทั้งหมด 77,000 ตรม. บนถนนสุขุมวิท 101 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศไทยถือเป็นโครงการที่มากกว่า Co-Working Space เป็น Digital Hub ที่มี Complete Ecosystem ที่สนับสนุนธุรกิจ Digital, Initiative ทุกระดับทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเป็นศูนย์รวมสำหรับองค์กรต่างๆ เป็นแหล่งที่ตั้งสำนักงาน เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ด้านนวัตกรรมของเหล่า Startup รุ่นใหม่ต่อไป
การประยุกต์ “เทคโนโลยีทางการเงิน” ของประเทศไทย เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เข้ากับระบบการเงิน สร้างความสะดวกสบาย ช่วยเรื่องการทำงานรวมถึงการนำเข้ามาสร้างโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลาย เปิดกว้างมากขึ้นที่ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของทางการเงินเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Fin Tech การทำธุรกรรมต่างๆ ตั้งแต่การโอนเงิน ชำระค่าบริการ ถอนเงิน ธุรกรรมออนไลน์ รูปแบบระบบการเงิน Cryptocurrency หรือสกุลเงินเข้ารหัส เป็นเทคโนโลยีสกุลเงินที่ถูกออกแบบมา เพื่ออำนวยความสะดวกการทำธุรกรรมทางดิจิทัลและ Blockchain เป็นการเปลี่ยนวิถีในการทำธุรกิจ เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวันในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินในรูปแบบการใช้เทคโนโลยีและช่วยประหยัดค่าบริการ มีความปลอดภัยสูงและน่าเชื่อถือ
เห็นได้จาก การเปิดบริการการโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน Blockchian ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าและภาพรวมที่ดูคึกคักของกลุ่มนักลงทุนและสตาร์ทอัพในประเทศไทย อาทิเช่น การโอนเงินข้ามประเทศของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ด้วยการเปิดบริการโอนเงินข้ามประเทศแบบ Real Time ด้วยเทคโนโลยี Blockchian และในอนาคตจะเปิดบริการครอบคลุมทั้งทวีออเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ธนาคารกรุงศรี ก็เป็นอีกธนาคารของไทยที่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรในไทยและต่างประเทศร่วมสนับสนุนใช้เทคโนโลยี Blockchain’s Interledger โอนเงินข้ามประเทศภายในกรอบ BOT Regulatory Sandbox กับมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป หรือ MUFG กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และ 1 ใน 5 กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลกในการพัฒนาความเชื่อมโยงของเครือข่ายทั่วโลก ร่วมกับธนาคารชั้นนำระดับโลกอีก 6 ธนาคาร เพื่อสนับสนุนการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วโลก
ประเทศไทย เรามีความตื่นตัวในเรื่องเทคโนโลยีมาหลายปี และเราเห็นการเกิดขึ้นด้านเทคโนโลยีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Incubator, Accelerator ต่างๆ และ Corporate Venture Capital (นักลงทุนที่มาจากองค์กร) เป็นจำนวนมากทั้งโดยตรงและไม่โดยตรงของสายเทคโนโลยี เพราะเป็นการเกิดจากความร่วมมือของหลายๆฝ่ายและองค์กร
ในปี 2564 ประเทศไทยจะมีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เป็นการร่วมทุนระหว่างไทย-จีน ช่วงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นระยะทาง 253 กม. ใช้งบประมาณ 179,413 ล้านบาท มีสถานียกระดับ 6 สถานี ประกอบด้วย สถานีสถานีบางซื่อ, สถานีดอนเมือง, สถานีอยุธยา, สถานีสระบุรี, สถานีปากช่อง และสถานีโคราช พร้อมได้รับการยืนยันจากรัฐบาลไทยว่าคนไทยจะได้นั่งรถไฟฟ้าอย่างแน่นอน!..ราคาก็ไม่แพง ต้องมาร่วมกันติดตามความก้าวหน้าในระดับต่อไปของประเทศไทยเพื่อก้าวไปไกลระดับโลก ---TerraBKK
บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก