ดิ แอสเพน ทรี ร่วมแชร์โซลูชั่นใหม่ พร้อมรับมือสังคมสูงวัย
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยในเร็ววันนี้ ดิ แอสเพน ทรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการและพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงวัยจึงได้ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายในการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยในงาน Fast Track Seniors Living & Care Thailand2018 Masterclass
บรรยายใต้ภาพ: มิสเฮ จูน พาร์ค ประธานผู้อำนวยการ บริษัท ดิ แอสเพน ทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขณะกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของโครงการ ดิ แอสเพน ทรี ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่งาน Fast Track Seniors Living and Care Asia
9 สิงหาคม 2018, กรุงเทพฯ – ดิ แอสเพน ทรี ผู้นำทางด้านการให้บริการและพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงวัยภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (MQDC) ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความต้องการที่เกิดขึ้นจากสังคมสูงวัยในประเทศไทยนำโดยมิสเฮ จูน พาร์ค ประธานผู้อำนวยการ แอสเพน ทรี คาดว่าจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดในปี 2583 ภายในงาน Fast Track Seniors Living & Care Thailand 2018 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันเร็วๆ นี้
“ประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่จะเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย หรือ “aged society” แต่ในขณะเดียวกัน เราจะได้เห็นโอกาสจากสถานการณ์นี้ โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์โดยธนาคารโลกว่า เราจะสามารถแปลงภาวะนี้ให้เป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุแห่งภูมิภาคนี้ได้” มิสเฮ จูน พาร์ค กล่าว
“ภายใต้พันธกิจของบริษัทแม่ MQDC ที่มุ่งเน้นการพัฒนา “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” ดิ แอสเพน ทรีจึงได้นำแนวคิดการให้บริการผนวกกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย ภายใต้คอนเซปต์ “ageing-in-place” ซึ่งเป็นพัฒนาเพื่อสร้างไลฟ์สไตลส์ที่มีความสุข สุขภาพดี ให้กับผู้สูงอายุเป็นสำคัญ”
มิสเฮ จูน พาร์ค ยังกล่าวอีกว่า ความท้าทายที่ประเทศไทยต้องประสบ ได้แก่ ปัญหาความจำเสื่อม มีการคาดการณ์ว่าในปี 2593 จะมีผู้สูงอายุประสบปัญหานี้ร่วมสองล้านคน ทางดิแอสเพนทรีจึงให้ความสำคัญกับการรับมือกับความท้าทายนี้เป็นหลัก การขยายตัวของชุมชนเมืองและอัตราการเกิดที่ลดลงก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากจำนวนประชากรไทยรุ่นใหม่ที่ลดลง ย่อมสะท้อนถึงจำนวนที่ลดลงของประชากรวัยลูกหลานที่สามารถดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวได้
กลยุทธ์ Glocalization โดย ดิ แอสเพน ทรี
“ด้วยพันธกิจของเราที่ต้องการดึงผู้สูงอายุให้กลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดิ แอสเพน ทรี จึงเลือกนำเสนอนวัตกรรมใหม่ภายใต้กลยุทธ์ ‘glocalization’ ซึ่งเป็นโมเดลโลกาภิวัฒน์เน้นการพัฒนาการภายในสู่ภายนอกมาจากอเมริกาเหนือมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ซึ่งเราเน้นโปรโมทการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ช่วยสร้างสมดุลย์เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจอย่างยั่งยืน” มิสเฮ จูน พาร์คกล่าว
จากการริเริ่มและดำเนินการจัดงานโดย Ageing Asia Alliance ผู้สร้างเครือข่ายกิจกรรมการตลาดเพื่อผู้สูงอายุรายแรกของเอเชีย ในงาน Fast Track Seniors Living & Care Thailand Masterclass ที่ผ่านมา ได้นำผู้ประกอบการระดับโลกและผู้ประกอบการชั้นแนวหน้าในประเทศมาพบกันที่โรงแรม เวสติน แกรนด์ สุขุมวิท ชั้น 25 ห้องอัลติจูด ตั้งแต่ 8.30 น.ถึง 18.00 น.
หลักปฏิบัติระดับโลกอันเป็นเลิศ
คุณ เจนิซ เจีย ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Ageing Asia Alliance กล่าวว่า “ตลาดกลุ่มนี้กำลังร้อนแรงขึ้นซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการระดับแนวหน้ากำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ตลาดการพัฒนาการอยู่อาศัยที่ดีและการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย”
“ตลาดของผู้สูงวัยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการเติบโตของประชากรสูงอายุ ธุรกิจต่างๆก็แสวงหาโอกาสทางธุรกิจ มีการทบทวนกลยุทธ์ และมุ่งหาความรู้ ความเข้าใจในตลาดผู้สูงวัยที่มีแนวโน้มการเติบโตขึ้นดังกล่าว เพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นผู้มีฐานะ การศึกษาสูง ตลอดจนมีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี”
แนวโน้มในอนาคต
ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ผู้ประกอบการและนักลงทุน ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวเพื่อพบปะและจำแนกกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ด้านการเงิน การดำเนินการและการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาสาธารณูปการเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีแก่ผู้สูงวัยและธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุสามารถประสบสำเร็จได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งจะสามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มประชากรผู้สูงวัยในประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย
ดร. ทองธนา เพิ่มโพธศรี รองผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและรองอธิบดีกรมยุทธศาสตร์และปฏิรูป ได้กล่าวถึงการปฏิรูประเบียบ ข้อกฏหมายของไทยจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับภาคเอกชนและองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยเฉพาะในด้านการให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะเปลี่ยนผ่านและการบริการดูแลระยะฟื้นฟูสภาพ ซึ่งเขาได้ชี้ว่าระยะของการดูแลผู้ป่วยดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างนานก่อนที่ผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนย้ายหรือกลับเข้าไปสู่การใช้ชีวิตตามปกติ
วิทยากรต่างก็คาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะมีนโยบายที่ช่วยให้สามารถรองรับผู้สูงวัยต่างชาติที่อยากย้ายมาพักอาศัยในประเทศไทยได้ง่ายขึ้นเทียบเท่ากับประเทศมาเลเซียที่ซึ่งมีโครงการอนุมัติวีซ่าแบบลองสเตย์เพื่อรองรับผู้สูงอายุต่างชาติที่อยากย้ายมาอยู่ในประเทศ