ทย. ตั้งเป้าปี 62ผู้โดยสารโต 4-7%เดินหน้าขยายอาคารผู้โดยสาร และลานจอดในจังหวัดรอง รองรับการเติบโตของนักท่องเที่ยว เดินหน้าติดตั้งระบบตรวจค้นสัมภาระอัตโนมัติคาดแล้วเสร็จปี62

          นางอัมพวัน วรรณโก อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่าสำหรับปริมาณจราจรทางอากาศยานที่อยู่ในความดูแลทั้ง 28 แห่ง ที่ผ่านมามีปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการ 19 ล้าาคนโดยมีอัตราการเติบโต 4%เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดว่าในปี 2562 จะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 4-7% โดยกรมท่าอากาศยานก็ได้มีแผนที่จะพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

          สำหรับแผนการปรับปรุงในส่วนของอาคารโดยสารโดยปีที่ผ่านมาได้มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ 2 แห่ง คือท่าอากาศยานขอนแก่น โดยมีระยะดำเนินการปี ‭61-64‬ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 5ล้านคนต่อปี สามารถจอดรถยนต์ได้ 550 คัน  และแผนขยายลานจอดเครื่องระยะเวลาดำเนินการปี ‭63-65‬ สามารถรองรับเครื่องบินขนาด B737 ได้ 11 ลำในเวลาเดียวกัน  และท่าอากาศยานกระบี่วงเงินลงทุน 2,923,400,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ปี ‭61-63‬ สามารถรองรับเครื่องบินขนาด B737ได้ 40 ลำในเวลาเดียวกัน 

          อย่างไรก็ตามกรมท่าอากาศยานก็ได้มีแผนที่จะพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับแผนการปรับปรุงในส่วนของอาคารโดยสารโดยปีที่ผ่านมาได้มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ 2 แห่ง คือท่าอากาศยานขอนแก่น โดยมีระยะดำเนินการปี ‭61-64‬ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 5ล้านคนต่อปี สามารถจอดรถยนต์ได้ 550 คัน  และแผนขยายลานจอดเครื่องระยะเวลาดำเนินการปี ‭63-65‬ สามารถรองรับเครื่องบินขนาด B737 ได้ 11 ลำในเวลาเดียวกัน  และท่าอากาศยานกระบี่วงเงินลงทุน 2.92 พันล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ปี ‭61-63‬ สามารถรองรับเครื่องบินขนาด B737ได้ 40 ลำในเวลาเดียวกัน 

          สำหรับการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่3 พร้อมอาคารจอดรถยนต์ ระยะเวลาดำเนินการปี ‭61-64‬  สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อชั่วโมง  หรือ 8 ล้านคนต่อปี และสามารถจอดรถยนต์ได้ 2,000 คัน  ซึ่งแผนในปี 62ก็มีแผนที่จะก่อสร้างเพิ่มในส่วนของ ท่าอากาศยานตรัง วงเงินลงทุน 1.2 พันล้านบาท  และท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช วงเงินลงทุน 1.8 พันล้านบาท 

          "ขณะนี้มีโครงการก่อสร้างทางขับและลานจอดอากาศยานเพื่อให้รองรับประสิทธิภาพได้มากขึ้น ประกอบด้วย สนามบินอุดรธานีวงเงินลงทุน 159 ล้านบาท สนามบินลำปาง วงเงินลงทุน 84 ล้านบาท  สนามบินตรังวงเงินลงทุน 600 ล้านบาท สนามบินบุรีรัมย์ วงเงินลงทุน 102.87 ล้านบาท โดยเป็นแผนที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา สำหรับในปี 2563 มีแผนต่อเนื่องที่จะขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินสุราษฎร์ธานี วงเงินลงทุน 180 ล้านบาท สนามบินบุรีรัมย์ สนามบินเลย วงเงินลงทุน 600 ล้านบาท และสนามบินร้อยเอ็ด  วงเงินลงทุน 100 ล้านบาท"นางอัมพวัน กล่าว      

        สำหรับความคืบหน้าการโอนสนามบิน 4 แห่ง ประกอบด้วย สนามบินอุดรธานี ตาก สกลนคร และชุมพร ที่อยู่ในความดูแลกรมท่าอากาศยาน ให้กับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ดูแลบริหารนั้น ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมท่าอากาศยาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งที่ประชุมได้มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลในเรื่องกฎหมายรองรับ  โดยจะต้องถูกต้องตามระเบียงข้อกฎหมาย

          อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบถาม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อความถูกต้อง โดยในวันที่ 19 ธันวาคม 2561 จะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อสรุปแนวทางการโอนเป็นรูปแบบใดในการบริหาร และจะเสนอต่อรัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคม ก่อนจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป

          ทั้งนี้ในส่วนของแผนการลงทุนในปี 62  ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นอกจากมีเป้าหมายให้ท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ผ่านอุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์แล้วมกรมฯจะพัฒนาท่าอากาศยานให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมไทย เชื่อมโลก โดยให้ไทยเป็นจุดเชื่อมโยงคมนาคมของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขณะเดียวกันจะศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างสนามบินใหม่ขึ้นที่พื้นที่ที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ยังปรับปรุงมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน ตามองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO )ผ่านโครงการระบบตรวจค้นสัมภาระอัตโนมัติหลังเคาน์เตอร์เช็คอิน EDS in line คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 62 รวมถึงการให้บริการฟรีอินเตอร์เน็ตไรสาย ที่สนามบินทุกแห่งในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2562

ขอบคุณข้อมูลจาก www.thaipost.net