7 วิธีการ เอาชนะการเงิน สำหรับเด็กจบใหม่
ชีวิตหลังเรียนจบของหลายๆ คนนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องสนุกเหมือนที่วาดฝันไว้เท่าไหร่นัก แต่จะเรียกว่านี่เป็นการใช้ชีวิตจริงก็ได้ เพราะถือว่าเป็นช่วงชีวิตแห่งการก้าวสู่วัยผู้ใหญ่แบบเต็มตัว ที่เราต้องเผชิญกับปัญหามากมายที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา รวมถึงการปรับตัวที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งเหล่านี้ให้ได้ เพราะเราต้องหาเลี้ยงชีพเพื่อตัวเอง เพื่อสร้างอนาคตและครอบครัว ดังนั้นเรื่องเงิน อาจเป็นปัจจัยหลักสำหรับเด็กจบใหม่หลายๆ คน ทาง MoneyGuru.co.th ก็เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้จึงมี 7 วิธีการ เอาชนะการเงิน สำหรับเด็กจบใหม่ มาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักศึกษาที่กำลังเรียนจบ มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
7 วิธีการ เอาชนะการเงิน สำหรับเด็กจบใหม่
1.เข้าใจความหมายของการเงินที่มีต่อเรา
อย่างน้อยๆ พวกเราเด็กจบใหม่ทั้งหลายก็เข้าใจว่าค่าของเงินของเราคืออะไร แม้ว่าเราอาจจะไม่เคยจัดการในเรื่องการเงินอย่างถูกต้องก็ตาม เช่น ใช้จ่ายเงินไปกับการซื้ออุปกรณ์ gadget ที่แสนแพงและการซื้อของแบรนด์เนม เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้เราอาจจะต้องการใช้เวลาในการทบทวนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเรื่องเงินของเรา เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายเงินของเราให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด มากกว่าการใช้จ่ายเพื่อสนองอารมณ์หรือความอยากได้เป็นหลัก รวมถึงต่อยอดเงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับเรามากขึ้นอีกด้วย
2.รู้จักกับสองประเภทของรายได้ Active Income และ Passive Income
-
Active Income
-
อธิบายง่ายๆ คือ รายได้แบบที่เราต้องใช้แรงและเวลาของเราในการทำ แล้วจึงได้รับเงินมา หากวันไหนเราหยุดทำ เราก็จะไม่ได้เงินนั่นเอง ยกตัวอย่างงาน ก็เช่น พนักงานประจำ สถาปนิก วิศวกร แพทย์ น้กร้อง นักแสดง เป็นต้น หรือก็คือการประกอบอาชีพทั่วไปนั่นเอง
-
-
Passive Income
-
อธิบายง่ายๆ คือ รายได้ที่เราใช้แรงและเวลาของเราในช่วงหนึ่งเพื่อสร้างสิ่งบางอย่างขึ้นมาเรียกว่า Asset หลังจากนั้นเราก็จะมีรายได้จากสิ่งที่เราได้สร้างขึ้นไปตลอด ยกตัวอย่างงาน เช่น เจ้าของห้องพัก ที่จะมีรายได้จากค่าเช่าห้องทุกเดือน เป็นต้น
-
โดยเราควรที่จะต้องมีรายได้ทั้งสองประเภทนี้ เพราะหากกรณีที่เราตกงาน เราจะได้ไม่ลำบาก เพราะมีรายได้จากหลายช่องทางนั่นเอง
3.ระบุเป้าหมายทางการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ให้ชัดเจน
หากว่าเรานั้นไม่มีเป้าหมาย ก็จะทำให้เรานั้นใช้เงินไปอย่างไม่มีจุดหมายหรือใช้ตามอารมณ์ รวมถึงไม่สามารถวัดผลความสำเร็จได้อีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรตั้งเป้าหมายความสำเร็จของเราเอาไว้ โดยแนะนำให้ตั้งเป้าหมายเป็น 3 แบบ 3 ช่วงเวลา ดังนี้
-
เป้าหมายทางการเงินแบบระยะสั้นสามารถทำได้ใน 1 – 5 ปี ยกตัวอย่างเช่น การผ่อนรถ เป็นต้น
-
เป้าหมายทางการเงินระยะปานกลางสามารถทำได้ใน 6 – 9 ปี ยกตัวอย่างเช่น การผ่อนบ้านหรือคอนโด เป็นต้น
-
เป้าหมายทางการเงินแบบระยะยาวสามารถทำได้ใน 10 ปีขึ้นไป เช่น กองทุนเพื่อการเกษียณ หรือกองทุนเพื่อการศึกษาของบุตร เป็นต้น
4.คำนวนรายรับและรายจ่าย
การทำงบการเงินแบบง่ายๆ อย่างการคำนวณรายรับรายจ่ายนั้น จะช่วยให้ได้รู้ทั้งรายรับและรายจ่ายของเราอย่างชัดเจน จากนั้นให้เราปรับเปลี่ยนวิธีการใช้จ่ายเงินและเก็บออมเงินของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้มีเงินเหลือมากขึ้นและมีรายจ่ายน้อยลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้ได้นั่นเอง
5. ออมเงินโดยการหักบัญชีทุกสิ้นเดือน
บางครั้งการที่เราต้องออมเงินหรือประหยัดเงินด้วยตัวเราเองในทุกๆ เดือนนั้น ก็มักจะเกิดเป็นปัญหาเงินของเราหมดก่อนที่เราจะได้ออมเงิน จึงทำให้ภายในเดือนนั้นเราไม่มีเงินออมเลย ซึ่งไม่ดีแน่ๆ ดังนั้นการออมเงินโดยการหักจากบัญชีในทุกๆ เดือนจะเป็นตัวช่วยที่ดีของเรา แต่ข้อสำคัญอย่าลืมทำรายรับและรายจ่าย รวมถึงแบ่งสัดส่วนของเงินด้วยนะ เพื่อที่ว่าเราจะได้มีเงินทั้งเงินใช้และเงินเหลือเก็บครับ
6.ซื้อเฉพาะสิ่งจำเป็นและสำคัญก่อน
ก่อนการใช้จ่ายทุกครั้ง เราควรนึกถึงความจำเป็นและความสำคัญก่อนเป็นอันดับแรก เพราะหากเราเลือกจะซื้อแต่ของที่ชอบโดยที่ไม่มีความจำเป็น ก็อาจจะทำให้เราใช้จ่ายจนเกินตัวจนเงินหมดไปอย่างไม่เกิดประโยชน์ก็ได้ รวมถึงการใช้บัตรเครดิตในการใช้จ่ายแต่ละครั้ง หากเราไม่รู้จักที่จะควบคุมการใช้จ่ายและนึกถึงความจำเป็น ก็อาจจะทำให้เรากลายเป็นหนี้ได้
7.เลือกออมเงินโดยการลงทุน
ไม่มีใครเด็กจนเกินกว่าที่จะลงทุนหรอกครับ เพราะหากเราไม่เริ่มในวันนี้ เราก็ไม่รู้จะไปเริ่มลงทุนเมื่อไหร่ จะเป็นตอนเราแต่งงาน มีลูก มีครอบครัว ต้องการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือครับ? ดังนั้นการเลือกลงทุนเมื่อเรามีโอกาสจึงถือเป็นเรื่องที่ดีครับ และถ้าหากเรายังสับสนเกี่ยวกับการลงทุน นั่นก็ถือเป็นเรื่องปกติเลยครับ เพราะว่าในปัจจุบันมีหลายตัวเลือกในการลงทุน แต่อย่าเพิ่งสับสนและเครียดไปครับ เพราะเรายังมีธนาคารต่างๆ และนักลงทุนมืออาชีพให้เราได้ปรึกษาเรื่องการลงทุนอยู่ครับ แค่ลองปรึกษาและทำความเข้าใจดู เราอาจจะรู้สึกว่า มันไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ ถ้าเราลงทุนซะตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงครับ แต่อย่าลืมศึกษาให้ดีก่อนลงทุนเสมอนะครับ
(ขอบคุณข้อมูลจาก: zentheicon, rappler,modify.in.th)
ขอบคุณข้อมูลจาก www.moneyguru.co.th
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.