Plant-based Meat หรือเนื้อจากพืช คือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช โดยใช้กระบวนการแปรรูปพืช ให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั้งผิวสัมผัสและรสชาติ นับเป็นเทรนด์การรับประทานอาหารแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากโดย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา, ยุโรป และอิสราเอล มีความนิยม Plant-based Meat (เนื้อจากพืช) ทำให้การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมีแต่ลดลง จนใกล้เคียงกับราคาเนื้อสัตว์แท้

จากข้อมูลของ Euromonitor พบว่า ปี 2013 – 2018 ในสหรัฐอเมริกา ยอดขายอาหารสำเร็จรูปของเนื้อจากพืช เติบโตเฉลี่ย15.4% ต่อปี เทียบกับเนื้อแปรรูปที่เติบโตปีละ 1.2%  สอดคล้องกับข้อมูลของผู้ประกอบการร้านเบอร์เกอร์และแซนด์วิชเนื้อที่ทำจากพืช ในอเมริกา ช่วง เม.ย 2018 - มี.ค. 2019 พบว่า เพิ่มขึ้นถึง 7.8%

      ซึ่ง Plant-based Meat หรือเนื้อจากพืช ใช้ส่วนผสมของพืชและโปรตีนจากถั่วชนิดต่าง ๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันทานตะวัน มาผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้มีสีสัน ความชุ่มฉ่ำ กลิ่นและรสชาติเหมือนเนื้อมากที่สุด โดยสิ่งสำคัญคือ การดัดแปลงสิ่งที่เรียกว่า ฮีม (heme) หรือโมเลกุลอุดมธาตุเหล็กในถั่วเหลืองให้เหมือนกับในเนื้อวัว โดยใช้รากของพืชจำพวกถั่ว นำมาผ่านกระบวนการที่เกี่ยวโยงกับการแปลงพันธุกรรม (โดยนำ DNA ของถั่วเหลืองไปใส่ในยีสต์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม) ที่ช่วยทำให้ได้สีแดงคล้ายกับเนื้อสัตว์ และคล้ายกับมีเลือดอยู่ภายใน เพราะสิ่งนี้เองที่เป็นองค์ประกอบในการสร้างรสชาติแสนอร่อย ทั้งรสของเลือดและรสสัมผัสที่คล้ายกับการเคี้ยวเนื้อสัตว์

โดย Plant-based Meat หรือเนื้อจากพืช มีปริมาณแคลอรี ไขมัน และโปรตีนที่ไม่ต่างกันนักกับเบอร์เกอร์ไก่งวงหรือเบอร์เกอร์เนื้อวัว จนแทบทดแทนกันได้อย่างที่โฆษณา เช่น เบอร์เกอร์จากพืชของแบรนด์หนึ่งมีแคลอรีอยู่ที่ 240 ทำไขมันอิ่มตัว 8 กรัม (ซึ่งมาจากน้ำมันมะพร้าว) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วเบอร์เกอร์เนื้อวัวไม่ติดมันมี 280 แคลอรี และมีไขมันอิ่มตัว 9 กรัม ดังนั้น คุณจะเห็นว่าไม่ได้ต่างกันนัก (เว้นแต่เบอร์เกอร์จากพืชไม่มีคอเลสเตอรอล)

       แน่นอนว่าการบริโภคเนื้อจากพืช อาจไม่ใช่กระแสชั่วคราว แต่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเนื้อจากพืชมีจุดเด่น หลายเรื่อง ตอบรับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ที่เชื่อว่าการรับประทานพืชผักมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อที่ผ่านการแปรรูปหรือปรุงแต่ง เช่น ไส้กรอก แฮมต่างๆ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เคยออกมาระบุว่า เนื้อแปรรูปเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งได้ ทำให้คนรักสุขภาพหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือเนื้อแปรรูปโดยเฉพาะอาหารประเภทฟาสท์ฟู้ด ทำให้เนื้อจากพืช จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเนื้อจากพืชยังให้สารอาหาร เช่น โปรตีนแก่ร่างกายครบถ้วนด้วย

และยังตอบรับกลุ่มที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะการผลิตเนื้อที่ทำจากพืชใช้ที่ดินน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง 47% – 99% ใช้น้ำน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง 72% – 99% ดังนั้นการผลิตและบริโภคเนื้อจากพืชยังช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย ซึ่งปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตขึ้นในโลกนี้ ราวหนึ่งในสี่มาจากอาหาร และปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มาจากอาหารเกิดจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์มากถึง 58% (โดยเฉพาะวัวและแกะ) กระบวนการผลิตเนื้อจากพืชปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จริง 30%-90%

ขณะเดียวกันผู้ผลิตมีการแข่งกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอเมนูใหม่ๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช มีความหลากหลาย น่ารับประทาน ทั้งนี้ผลสำรวจของ เว็บไซต์ Forbes เผยแพร่รายงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมบางชิ้นพบว่า ภายในปี 2050 เนื้อที่ทำจากพืชอาจกินส่วนแบ่งถึง 50% ของตลาดเนื้อสัตว์จริง

แน่นอนว่า Plant-based Meat หรือเนื้อจากพืช จะเป็นเทรนด์ใหม่ที่เข้ามาตอบโจทย์วงการอาหาร รวมทั้งในไทยด้วย ล่าสุด “ซิซซ์เล่อร์” ร้านอาหารประเภทสเต๊ก ซีฟู๊ด และสลัด สไตล์ตะวันตก ที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้วงการอาหารในประเทศไทย ด้วยการเปิดตัว  “เฮลท์ตี้ วีแกน ชอยส์” (Healthy Vegan Choice) ในกลุ่ม “แพลนต์เบส” (Plant Based) ซึ่งเป็นสเต๊กเนื้อสัตว์จากจากธัญพืช 100% โดยได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)  ว่าเป็นอาหารแห่งอนาคต

เมนูใหม่ ประกอบด้วย ออมนิเคอร์รี่ สเต๊ก กับ สปาเกตตี้ กะเพรา และ บียอร์น คาราเมลไลซ์ ออนเนี่ยน เบอร์เกอร์ กับสไปซี่โคลสลอร์ ในราคาเริ่มต้นที่ 329 บาท และ 399 บาทตามลำดับ 

โดยเมนูแพลนต์เบเป็นเมนูที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ และกลุ่มคนรักสุขภาพ ทั้งยังเป็นการป้องกันการขาดแคลนเนื้อสัตว์ในอนาคต หรือในอีก 30 ปีข้างหน้าที่เนื้อสัตว์อาจจะหมดไปจากโลก ซึ่งริ่มจำหน่ายวันนี้ จนถึง 31 มีนาคม 2663 เฉพาะสาขาที่ร่วมรายการ และรับประทานภายในร้าน

ขณะเดียวกันยังเปิด“ซิซซ์เล่อร์ ทู โก” (Sizzler to go) โมเดลธุรกิจใหม่ ภายใต้แนวคิด “เฮลท์ตี้ ออน เดอะ โก” (Healthy On The Go)ในรูปแบบคีออสขนาดเล็ก พื้นที่ 3 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนสถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง เน้นจับกลุ่มคนทำงาน กลุ่มคนที่รักสุขภาพ และผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จำหน่าย 3 เมนูยอดนิยม ประกอบด้วยเมนู สลัด  และ แซนวิส ราคาเริ่มต้นที่ 79 บาท และน้ำผลไม้สกัดเย็น 100% COLD - PRESSED JUICE รสชาติใหม่ “อิมมูน บูสเตอร์” (Immune booster) มีส่วนผสมของ ต้นอ่อนข้าวสาลี  แอปเปิ้ล และส้ม ที่สกัดสดแบบวันต่อวันทำให้ได้น้ำผลไม้ที่มีความสดใหม่และมีสารอาหารครบถ้วน ราคา 95 บาท นอกจากนี้ ทุกๆ การซื้อน้ำผลไม้สกัดเย็น 1 ขวด จะหักเงินมูลค่า 5 บาท เพื่อสนับสนุนมูลนิธิเพื่อส่งเสริมสุขภาพและเยาวชน และความพิเศษของคีออสดังกล่าวยังใช้แพคเกจจิ้งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ กล่องบรรจุอาหาร ถุงกระดาษ และหลอดกระดาษ  

และ“แวลู มีล” (VALUE MEAL) ชุดสุดคุ้มอิ่มเวอร์ ประกอบด้วย สเต๊กหมูย่างซอสครีมเห็ดทรัฟเฟิล สเต๊กปลากะพงย่างซอสซีฟู้ดมาโย และสเต๊กไก่ย่างซอสแกงเผ็ด ในราคา 259 บาท จากราคาปกติ 289 บาท ฟรีสลัดผักไม่อั้น จำหน่ายเฉพาะวันจันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เริ่มตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 พฤษภาคม 2563  

       ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายธุรกิจให้เติบโตพร้อมกลุ่มคนทำงาน กลุ่มคนที่รักสุขภาพ และผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ควบคู่กับการเปิดตัวเมนูอาหารใหม่ๆ ในกลุ่มนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตและเมนูเพื่อสุขภาพ ควบคู่กับการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าในราคาที่เข้าถึงได้ ขณะเดียวกันเตรียมขยายสาขาเพิ่มต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีสาขา 57 แห่ง เป็นกรุงเทพฯ 31 แห่ง และต่างจังหวัด 26 แห่ง ขณะที่กลุ่มธุรกิจเดลิเวอรี่ปีที่ผ่านมามีการเติบโตต่อเนื่อง

 

ข้อมูลจาก  : ซิซซ์เล่อร์