ดร.ประเสริฐ ปิ่นงาม (Ph.D., TREES-A NC)
วท.บ. สาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล

ประเทศไทยเรามีข่าวดีเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเลขตัวเดียวติดต่อกันมาหลายวันแล้ว ซึ่งก็ต้องขอชื่นชมบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะทีมทำงานในท้องถิ่นทุระกันดาลและห่างไกลเช่นกลุ่ม อสม. รพสต.และรพ.อ. เพราะบุคลากรกลุ่มนี้ทำงานกระจายกันทั่วประเทศ การประชาสัมพันธ์ก็จะมีน้อยกว่าทีมทำงานในเมือง อย่างไรก็แล้วแต่ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆท่าน เพื่อช่วยกันให้ประเทศไทยเราผ่านพ้นสถานะการณ์นี้ไปได้อย่างเสียหายให้น้อยที่สุด ในขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด 19 กันถ้วนหน้า ซึ่งในแต่ละประเทศก็พยายามออกมาตรการเพื่อกำกับดูแลและควบคุมสถานะการณ์ไม่ให้เลวร้ายไปกว่าเดิม ในส่วนบทบาทผู้นำกับสถานะการณ์แบบนี้ถือว่าเป็นบททดสอบที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้มีคำกล่าวปราศรัยของผู้นำแต่ละประเทศส่งกระจายในโลกของสังคมออนไลน์กันอย่างกว้างขว้าง โดยมีคำกล่าวของประธานาธิบดีของยูกันดาที่น่าจะดูโดดเด่นที่สุด โดยเปรียบเทียบว่าถ้าในภาวะสงครามจริงๆ ประชาชนจะไม่บ่นเลย ที่ต้องอยู่แต่ในบ้าน ขาดอิสรภาพในการเดินทาง ทนทุกข์ทรมานกับความหิวโหย กิจการและธุรกิจร้านค้าต้องปิดตัวลง ซึ่งสถานะการณ์ขณะนี้ก็เปรียบเสมือนสงครามจริงๆ โดยมีเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผู้ประกาศสงครามและที่สำคัญก็คือเชื้อไวรัสตัวนี้ไม่มีความเมตตาปราณีใดๆทั้งสิ้น โดยมีการโจมตีทั่วทั้งโลกพร้อมกันและมีเป้าหมายที่จะทำลายล้างผู้คนทุกคนบนโลกใบนี้ อย่างไรก็แล้วแต่เชื้อไวรัสตัวนี้จะพ่ายแพ้กับสังคมที่เป็นระเบียบ ที่มีการรักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องและรักษาระยะห่างระหว่างกัน เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนและอย่างมีกลยุทธ์ที่จะทำให้ประชาชนเชื่อฟังนโยบายของภาครัฐอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบสถานะการณ์ครั้งนี้เป็นสงครามโดยมีเป้าหมายในการทำลายล้างฝั่งตรงกันข้ามให้สูญสิ้นไป ถ้าเป็นแบบนี้มวลมนุษย์ของเราแพ้แน่นอน เพราะตามตำราพิชัยสงครามที่กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” เราเพิ่งรู้จักศัตรูของเราเมื่อไม่นานมานี้เอง คงต้องรอผลิตวัคซีนเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคนี้ในระยะยาวต่อไป หรือแม้กระทั่งตัวตนของเราเอง เราเพิ่งค้นพบว่า 90% ของเซลในร่างกายมนุษย์ไม่ใช้เซลของมนุษย์แต่เป็นเซลของจุลินทรีย์ เพราะในความเป็นจริงแล้วมนุษย์และจุลินทรีย์อยู่ร่วมกับแบบพึ่งพาอาศัยกันมาช้านานแล้ว ดังนั้นแนวทางในการควบคุมโรคที่แท้จริงจึงไม่ใช้การกำจัดกันให้สูญสิ้น แต่คงเป็นการควบคุมให้สามารถอยู่ร่วมด้วยกันได้อย่างสมดุล ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการศึกษากันต่อไป ดังนั้นการที่เรายังไม่รู้จักศัตรูได้ดีพอ หรือแม้กระทั่งยังไม่รู้จักตัวเราเอง ก็คงคาดการณ์ผลลัพท์ได้ไม่ยากว่าผลของสงครามนี้จะออกมาเป็นอย่างไร

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง คือหัวใจของการออกแบบเกษตรกรรมธรรมชาติ

คำว่า “เกษตรกรรม” สำหรับคนไทยแล้ว เป็นมากกว่าการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น เพราะเกษตรกรรมคือวัฒนธรรมสำหรับคนไทย การทำเกษตรกรรมมีผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตที่ดีงามมาช้านานมากแล้ว รูปแบบของการพึ่งพาอาศัยระหว่างคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม ล้วนดำเนินมาด้วยรูปแบบที่พอเพียงตามพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ดำริไว้ตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหลักการทั้งหมดก็สอดคล้องกับโบราณกาลของชาวไทยมาช้านาน

รูปแสดงการทำเกษตรกรรมสมัยโบราณของคนไทย

โดยรูปแบบการทำเกษตรกรรมของบ้านเราจะเป็นทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพแบบพอมีพอกิน ถ้าเหลือกินก็แบ่งปัน ไม่รบกวนระบบนิเวศและเกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม มีการอยู่อาศัยร่วมกับสัตว์และธรรมชาติอย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน เกษตรกรสมัยโบราณจะรู้จักและเข้าใจสภาพภูมิอากาศ รู้จักดิน รู้จักน้ำและรู้จักพืช ในแบบที่เป็นจริง ซึ่งในบางครั้งก็เป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน

โลกวิทยาศาสตร์นำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ๆและทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองต่างๆมากมาย แต่ในอีกด้านหนึ่งขององค์ความรู้ใหม่ๆก็มีการทำร้ายภูมิปัญญาดั้งเดิมด้วยเช่นกัน

ลูกศรดอกที่หนึ่งของหายนะสำหรับเกษตรกรรมธรรมชาติ

โดยเหตุการณ์ที่ถือว่าเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา โดย Justus von Liebig ผู้คิดค้น Law of minimum หรือกฏของปริมาณต่ำสุด

Law of Minimum หรือกฏของปริมาณเป็นจุดเริ่มต้นของการนำปุ๋ยเคมีมาใช้กับการทำเกษตรพืชจนถึงทุกวันนี้ โดยมีผู้กล่าวว่า Liebig คือผู้ล้มล้างทฤษฎีฮิวมัสของอริสโตเติล (Mengel and Kirkby, 1978) โดยกฏปริมาณต่ำสุดยังใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูวิธีการซึ่งได้มาของกฏข้อนี้ก็จะเข้าใจว่าจุดอ่อนของเรื่องนี้คืออะไร โดยในปี ค.ศ. 1840 Justus Von Liebig และทีมงานวิจัยต้องการที่จะรู้ว่าพืชต้องการธาตุอาหารอะไรบ้างในการเจริญเติบโต จึงได้นำตัวอย่างพืชหลายๆชนิดมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีดูว่าพืชประกอบไปด้วยสารเคมีอะไรบ้าง โดยมีสมมุติฐานว่า สารเคมีตัวใดที่เป็นตรวจพบจากการวิเคราะห์ แสดงว่าสารเคมีตัวนั้นเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืช โดยผลที่ได้ยังตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็คือตารางของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองในปัจจุบัน

ปฏิวัติเขียวคือดอกกุหลาบอาบยาพิษ ลูกศรดอกที่ปักที่หัวใจของเกษตรกร

เมื่อต้นปีที่แล้ว ค.ศ. 2019 Pius Floris ได้ชี้แจงกับคณะรัฐมนตรีของสหภาพยุโรปถึงผลเสียหายระยะยาวที่เกิดจากการใช้สารเคมีสำหรับการทำการเกษตรกรรม โดย Pius Floris ได้อธิบายไว้ว่า หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั่วโลกเกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงจึงจำเป็นต้องเร่งกระบวนการในการสร้างผลิตผลทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิมเป็นการเร่งด่วน โดยขณะนั้นหลังจากสงครามยุติลงโรงงานที่ผลิตระเบิดก็ไม่มีการใช้งาน ทางทีมวิจัยจึงได้นำเอากฏปริมาณต่ำสุดของไลค์บิกมาประยุกต์ใหม่เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยเคมีเอามาใช้ในการเร่งผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งก็สามารถให้ผลผลิตที่ดีตามเป้าหมายและสร้างความร่ำรวยให้กับผู้เกี่ยวข้องมากมาย ธุรกิจเคมีเกษตรอุตสาหกรรมก็ได้ขยายวงกว้างไปทั่วโลกนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การที่ไลค์บิกเป็นนักเคมีการสร้างกฏปริมาณต่ำสุดจึงถูกต้องแค่ในมุมมองของนักเคมี สิ่งที่ไลค์บิกมองข้ามไปคือเรื่องของจุลชีวิทยา พฤกษศาสตร์และระบบนิเวศ เพราะผลกระทบที่ตามมาจากการปฏิวัติเขียว ที่นอกเหนือจากผลผลิตแล้วก็คือ

  • พืชอ่อนแอเพราะขาดสารอาหารที่เป็นภูมิต้านทานที่สร้างจากจุลินทรีย์ในดิน เนื่องจากปุ๋ยเคมีที่ใช้ทำลายวงจรจุลินทรีย์ในดิน และเนื่องด้วยโดยธรรมชาติของพืชเมื่อมีการดูดไนโตรเจนมากเกินไป จะไปขัดขว้างการดูดแคลเซียมของพืช แคลเซียมซึ่งเป็นสารสื่อประสาทสำหรับพืช จึงทำให้ระบบการป้องกันตัวของพืชบกพร่องไป
  • เมื่อพืชอ่อนแอจึงถูกโจมตีด้วยแมลงศัตรูพืชอย่างรุนแรง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ได้คิดค้นยากำจัดศัตรูพืชและวัชพืชต่างๆมากมาย และนั้นคือจุดจบของเกษตรกรรมธรรมชาติอย่างแท้จริง (https://www.youtube.com/watch?v=YMW2uLumAQw&t=806s)
  • สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย โดยดินเสื่อมโทรม ดินเป็นกรด น้ำปนเปื้อนด้วยสารเคมีตกค้าง จุลินทรีย์ในดินถูกทำลายอย่างรุนแรง
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกเพิกเฉยและถูกมองว่าล้าหลัง สารอินทรีย์และเศษอาหารต่างๆถูกประเมินว่าเป็นขยะและถูกปล่อยให้เกิดเป็นมลพิษ

รูปแสดงการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนไส้เดือนในดินลดลง

จากรูปจะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 เป็นต้นมาการใช้ปุ๋ยเคมีที่มากขึ้นทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจริง แต่การใช้ยาฆ่าแมลงก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และจำนวนไส้เดือนก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน และยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่ยืนยันผลกระทบเสียหายที่เกิดขึ้นกับดินอย่างชัดเจน

การคิดค้นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช นำไปสู่การเปลี่ยนโรงงานทำระเบิดมาผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อใช้ในการทำปฏิวัติเขียวครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้ดินเสื่อมโทรมและพืชอ่อนแอจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน แต่เป็นการพัฒนาที่เปรียบเสมือนได้กับ “ตาบอดคล่ำช้าง” รู้เพียงด้านใดด้านหนึ่งแล้วเอามาใช้ทันที จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องรู้ลึกรู้จริงเพื่อการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในอนาคต

ความรู้พื้นฐาน  4 ประการสำหรับการออกแบบเกษตรกรรมธรรมชาติ

โครงการจัดเรียงสารพันธุกรรมมนุษย์ที่ทำสำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 2003 ได้กลายเป็นการขีดเส้นใต้สำหรับงานวิจัยและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังจากนั้นอย่างชัดเจน โดยงานวิจัยที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ถ้าเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรมและเรื่องของจุลินทรีย์ต้องนำกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง เพราะเครื่องมือที่ใช้จัดเรียงลำดับของสารพันธุกรรมทำให้เข้าใจรูปแบบการทำงานสิ่งมีชีวิตระดับเล็กๆที่พวกเราไม่เคยได้รับรู้มาก่อนหน้านี้เลย ปัจจุบันเราสามารถเข้าใจถึงระบบการสื่อสารของจุลินทรีย์ได้แล้ว ซึ่งคาดการณ์กันว่ายาปฏิชีวนะรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องฆ่าที่ตัวเชื้อโรค เราเพียงแค่ตัดระบบการสื่อสารของพวกมันก็สามารถหยุดการเจริญเติบโตได้แล้ว องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมก็เช่นเดียวกัน เกี่ยวข้องกับการค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2003 อย่างแน่นอน โดยองค์ความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้ลึก รู้จริง เพื่อการเกษตรแห่งอนาคต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านดังนี้

  1. พืชในฐานะพี่ใหญ่ ผู้อาวุโสสูงสุด เป็นผู้ให้ผู้ใหญ่ใจดี เป็นครัวของโลกอย่างแท้จริง
  2. สภาวะแวดล้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ ในฐานะผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง จัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างให้สมดุล
  3. จุลินทรีย์แมลงสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ทั้งหลาย ในฐานะกัลยานมิตรที่ดีกับมนุษย์เรามาช้านาน
  4. เผ่าพันธ์มนุษย์ในฐานะน้องเล็ก ผู้มาที่หลังบนโลกใบนี้ เอาแต่ใจ อวดรู้แต่ก็พร้อมจะเรียนรู้

ความรู้พื้นฐาน 4 ประการสำหรับการออกแบบเกษตรกรรมธรรมชาติ

  1. พืช สำหรับเกษตรกรที่สนใจในการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกลับมาเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับพืชในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมเพราะว่าพืชไม่ใช้เพียงต้นไม้ต้นหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นต้นไม้ที่มีสิ่งที่มีชีวิต มีจิตใจ รู้ร้อนรู้หนาว มีการสื่อสารภายในและภายนอก ไม่ได้ต่างอะไรไปจากพวกเราเลย เพียงแต่ว่าต้นไม้อาจจะไม่สามารถเคลื่อนที่ในมิติความเร็วที่มนุษย์พวกเรากำหนดกันไว้ ซึ่งเรื่องการเคลื่อนที่ไม่ได้เป็นประเด็นสำหรับต้นไม้เลยเพราะต้นไม้ได้เลือกที่จะบริโภคแสงแดด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นอาหาร ซึ่งบนโลกใบนี้ก็มีทุกอย่างครบถ้วนอยู่แล้วโดยที่ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ อย่างไรก็แล้วแต่ มีข้อเท็จจริงบ้างประการที่เกษตรกรผู้รักธรรมชาติต้องเรียนรู้ไว้เพื่อจะได้นำไปออกแบบระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด

        1.1 พืชดำรงชีวิตเหมือนกันสัตว์เลือดอุ่นและเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป

โดยพืชจะมีกระบวนการควบคุมอุณหภูมิในต้นไม้ให้คงที่มากที่สุด ถ้าเจอแดดที่ร้อนก็จะคายน้ำทางใบ ถ้าน้ำไม่พอก็จะปิดปากใบและหันหนีแสง เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว อุณหภูมิที่ใต้ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโตโดยตรง ยิ่งถ้าอุณหภูมิบริเวณรากสูงเกินกว่า 28 องศา จะเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ใต้ดินอย่างมาก

หัวข้อเชื่อมโยงเพื่อการออกแบบ : การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ของการอากาศและของดิน ที่ระดับผิวดินและที่ระดับรากพืช นอกจากนี้การติดตามอุณหภูมิที่ใบและลำต้นในแต่ละช่วงเวลาก็สามารถบ่งบอกความสุขของพืชได้เช่นกัน

            1.2 พืชและมนุษย์มีระบบความสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ที่เหมือนกัน

คน สัตว์และพืช มีวิวัฒนาการที่อยู่ร่วมกับจุลินทรีย์มาช้านานแล้ว โดยทั่วไปจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นประโยชน์จะเป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเหมือนกับคนสัตว์และพืช ซึ่งถ้าสภาพแวดล้อมมีออกซิเจนและน้ำสมบูรณ์จุลินทรีย์กลุ่มนี้ก็จะเจริญเติบโตได้ดี และช่วยย่อยอาหาร ช่วยสร้างภูมิต้านและช่วยกำจัดเชื้อโรค ให้คนสัตว์และพืช ดังนั้นในการออกแบบจึงต้องควบคุมปัจจัยเรื่องอากาศและน้ำในดินให้สมดุลกัน เพราะถ้าน้ำมากหรือน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อปริมาณอากาศที่น้อยหรือไม่เหมาะสม ซึ่งก็จะทำให้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่จุลินทรีย์ที่ดี

หัวข้อเชื่อมโยงเพื่อการออกแบบ : การทำดินให้มีชีวิต (Living soil ) ด้วยการควบคุมความชื้น ค่าการนำไฟฟ้าและอุณหภูมิ เพื่อให้น้ำและอากาศสมดุลกัน จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนเจริญเติบโต ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้เป็นการคืนชีวิตให้กับดินอย่างยั่งยืน โดยปราศจากการใช้สารปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น

            1.3 พืชและมนุษย์ชอบอาหารที่มาจากธรรมชาติเหมือนกัน

หลังปฎิวัติเขียว เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองวิถีชีวิตผู้คนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากการใช้ปุ๋ยเคมีในวงการเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมากแล้ว การใช้สารเคมีอื่นๆก็เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการทำให้จำนวนผู้ป่วยเบาหวานและ NCDs เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในวงการแพทย์ก็ยอมรับถึงสาเหตุในเรื่องนี้อยู่แล้ว

รูปแสดงจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนการใช้สารเคมีสังเคราะห์

นอกจากการเกิดโรคเบาหวาน แล้วการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปก็มีผลโดยตรงต่อภูมิต้านทานของร่างกายที่ลดลง ซึ่งประเด็นนี้สอดคล้องกับการใส่ปุ๋ยเคมีให้กับพืช นอกจากเรื่องของสารตกค้างจากปุ๋ยเคมีที่มีผลกระทบกับดินและน้ำแล้ว ยังมีในเรื่องกลไกการดูดซึมแคลเซียมในพืชที่ลดลงจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนด้วยเพราะแคลเซียมมีกลไกในการควบคุมเรื่องภูมิต้านทานเหมือนกัน ความอ่อนแอที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ตามมาหลังจากการใช้สารเคมี นอกจากผลเสียของโรคเบาหวานแล้วยังมีเรื่องของสารเคมีที่บริโภคเข้าไปจะไปฝั่งในยีนส์อีกด้วย ซึ่งมีผลต่อการกลายพันธ์และการเป็นมะเร็งโดยตรง

หัวข้อเชื่อมโยงเพื่อการออกแบบ : การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและค่าการนำไฟฟ้าในดินที่คงที่จะสะท้อนบรรยากาศที่ดีให้จุลินทรีย์ได้ช่วยพืชในการหาอาหาร ดังนั้นอุณหภูมิระดับไม่ควรเกิน 28 องศา ความชื้นก็ควรอยู่ในช่วงพอดีที่พืชดูดเอาไปใช้ได้ (50 % ของ Available water)

            1.4 พืชและมนุษย์มีกระบวนดูดซึมอาหารที่คล้ายกัน

มนุษย์เรากินอาหารผ่านทางปากก็จริง แต่การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่อยู่ที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งการทำงานส่วนนี้คล้ายกับพืช มนุษย์มีจุลินทรีย์ พรีไบโอติกกับโปรไบโอติกในการช่วยย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย พืชมีจุลินทรีย์กลุ่มไรโซสเฟียร์ที่ทำงานด้วยกลไกคล้ายๆกัน ซึ่งกลไกความสัมพันธ์ต่างๆเหล่านี้ เราเริ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งเมื่อไม่นานมานี้เอง การใช้สารเคมีต่างๆทั้ง ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้าจะไปทำลายจุลินทรีย์รอบรากของพืชโดยตรง ซึ่งอาการของพืชที่จุลินทรีย์รอบรากถูกทำลายก็จะเหมือนกับคนที่เป็นลำไส้อักเสบ ดังนั้นเรื่องการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่างๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบครอบก่อนการใช้งาน

หัวข้อเชื่อมโยงเพื่อการออกแบบ : การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้พืชท้องถิ่น การใช้ต้นไม้พี่เลี้ยง การใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เราต้องนำมาประเมินในการออกแบบ

เรื่องราว​ดีๆที่น่ารู้สำหรับพืชยังไม่จบนะครับ​ พบกันในครั้งต่อไป.