ความวิตกกังวลเป็นหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตที่พบบ่อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นคือจำนวนเด็กที่มีความกังวลนั้นมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งพ่อแม่ก็ใช้วิธีแก้ปัญหาแบบผิดๆ โดยเข้าใจไปว่าลูกยังไม่โตพอที่จะรู้สึกกังวล

คำถามคือ…แล้วคุณสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อคลายความกังวลให้แก่ลูกล่ะ

การเดินเข้าไปตบหลังเบาๆ แล้วพูดว่า “เดี๋ยวลูกก็ผ่านมันไปได้” ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เขากำลังคิด หรือทำให้เขารู้สึกสบายใจขึ้นได้ ยังมีคำพูดอีกหลายคำพูดที่จะช่วยให้ลูกของคุณกังวลน้อยลงและมั่นใจมากที่จะแก้ปัญหามากขึ้น

คำพูด 15 คำเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรใช้กับลูกของคุณเพื่อให้เขารู้สึกคลายกังวล

1.”พ่อ-แม่เข้าใจว่าลูกกำลังกลัว”

อย่ากลัวที่จะพูดถึงความรู้สึกกลัว Dr. Daniel Seigal กล่าวว่าเมื่อคุณพูดถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งสมองของคุณก็จะเริ่มสั่งการ แล้วมันจะทำให้คุณคิดวิธีที่จะแก้ปัญหาได้ดีขึ้น เมื่อคุณได้บอกลูกแล้วว่าลูกกำลังรู้สึกกลัว เขาจะเริ่มเข้าใจและจะเล่าปัญหาของเขาให้คุณฟัง แล้วคุณทั้งสองก็จะช่วยแก้ปัญหาได้

 2.”พ่อ-แม่รู้ว่ามันยาก”

ความกังวลมันเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นบอกเขาไปว่าคุณเข้าใจเขาโดยแสดงให้เห็นว่าคุณก็รู้สึกเหมือนกับเขาแล้วเขาจะเข้าหาคุณมากขึ้น และเปิดใจ คอยสังเกตเขาแล้วบอกเขาว่าสิ่งที่เขากำลังรู้สึกกังวลมันไม่ใช่เรื่องที่ผิด

3.”อยากกอดกันมั้ย”

การกอดมีข้อดีเยอะมาก การใช้ภาษากายสามารถกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุข อีกทั้งยังช่วยลดการผลิตคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) ลูกของคุณจะรู้สึกผ่อนคลายและสามารถคิดทบทวนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

4.”หายใจเข้าลึกๆ”

การสอนให้ลูกของคุณกำหนดลมหายใจระหว่างที่เกิดความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุด แนะนำว่าให้เขาเอามือซ้ายวางไว้ที่หน้าท้อง และมีขวาวางทาบไว้ที่หัวใจ ให้เขาหายใจเข้าออกช้าๆ ให้เขาสัมผัสลมหายใจผ่านทางหน้าทองและหน้าอก วิธีนี้จะช่วยให้เขาลืมความเครียดและเปลี่ยนท่าทางในขณะที่กำลังเครียด ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปใช้ในห้องเรียน ก่อนสอบ หรือเวลาที่เริ่มวิตกกังวลได้

5.”ไปที่ที่ลูกชอบดีมั้ย”

เมื่อลูกของคุณกังวลน้อยลงแล้วให้ลองถามเขาว่าอยากไปที่ไหนหรือเปล่า ที่จะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น สงบ มั่นใจ และมีความสุข อาจจะเป็นทะเล บ้านพักตากอากาศ หรือห้องนอน พยายามให้เขาอธิบายรายละเอียดของสิ่งที่เขาชอบ ลักษระเป็นยังไง มีเสียงแบบไหน มีกลิ่นอย่างไร และถ้าคราวหน้าเขากังวลขึ้นมาอีกก็พาเขาไปในที่ที่เขามีความสุขตามที่เขาได้บอกไป

6.”ร้องเพลงกันมั้ย”

งานวิจัยพบว่าการร้องเพลงช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสุขได้ คุณอาจจะเริ่มร้องเพลงโปรดของลูกขึ้นมาสักท่อนให้เขาร้องตาม หรือเต้นไปด้วยก็ได้ แค่เสี้ยวนาทีสารเอนดอร์ฟินส์ก็จะถูกปล่อยออกมา ลูกของคุณก็จะลืมเรื่องเครียดไปซักพัก นอกจากนั้นคุณก็จะได้มีช่วงเวลาน่ารักๆ กับลูกของคุณด้วย

7.”มีอะไรจะบอกเพิ่มอีกมั้ย”

ให้ลูกของคุณระบายเรื่องเครียดออกมา ถ้าคุณจะถามเป็นทีละคำถามให้ใช้คำถามแบบเปิด เปิดช่องว่างให้เขาได้พูดมันออกมา มันจะแสดงให้เขาเห็นว่าคุณสนใจเรื่องของเขามากแค่ไหน และคุณจะได้มีส่วนร่วมในการหาเหตุผลไปพร้อมกัน อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้อีกด้วย

8.”ใจมันบอกว่ายังไง สมองมันบอกว่ายังไง”

คำถามนี้จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกและความคิดของลูกที่มีต่อสถานการณ์นั้น ใจอาจจะบอกว่าเขากลัวการสอบตก แต่สมองอาจกำลังบอกว่าเขาตั้งใจเรียนที่สุดแล้ว ให้คุณสอนเขาว่ามันอาจจะเป็นไปได้ทั้งสองอย่าง และมันไม่ใช่เรื่องที่ผิด วิธีนี้จะช่วยเขาแยกแยะระหว่างความกลัวกับความจริงออกจากกัน และถือเป็นการฝึกพูดคุยกับตัวเอง

9.”อย่างแย่ที่สุดมันจะเกิดอะไรขึ้น”

ถามเขาว่า “อย่างแย่ที่สุดมันจะเกิดอะไรขึ้น” ช่วยให้ลูกของคุณคิดในมุมมองที่กว้างขึ้น ละทำให้เขารู้สึกว่าปัญหาใหญ่ของเขามันเล็กลง ถามเขาว่าเรื่องนี้มันแย่แค่ไหน ลูกสามารถทำอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง ลูกได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง ลูกของคุณจะรู้ว่าเขาสามารถเอาชนะความท้าทายและทำให้ดีที่สุดได้

10.”…(ตัวละครที่ลูกชอบ) จะทำอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้”

ทุกๆ คนมักจะมีไอดอลที่ตัวเองชอบ ลองถามลูกดูว่าไอดอลของลูกจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร จากนั้นชี้แนะเขาว่าเขาจะทำเหมือนไอดอลเขาได้อย่างไรบ้าง

11.”ทำให้ดีที่สุด”

ลูกๆ ของคุณคงอยากได้ยินว่าความเพอร์เฟ็กต์ไม่มีในโลกนี้ บอกเขาเพียงว่าขอแค่ลูกทำให้ดีที่สุดและเป็นอย่างที่เป็นให้ดีที่สุดก็พอ

12.”แล้วลูกอยากรู้สึกแบบไหนล่ะ”

มันเป็นเรื่องที่ดีที่ให้ลูกของคุณมีทางเลือกว่าจริงๆ แล้วอยากรู้สึกแบบไหน ตัวอย่างเช่นตอนที่ลูกของฉันกลัวว่าจะต้องไปฉีดยา เขามักจะพูดซ้ำไปซ้ำมาว่าเขากลัว ฉันจึงลองถามลูกดูว่าจริงๆ แล้วลูกอยากจะรู้สึกแบบไหน ลูกก็ตอบออกมาว่า “กล้าหาญ” ฉันเลยบอกลูกว่านี่ไงลูกกล้าแล้ว พูดมันออกมาว่าฉันกล้าหาญ แล้วมันจะได้ผล

13.”เดี๋ยวมันก็ผ่านไป จำเรื่อง…(ที่ผ่านไปแล้ว) ได้มั้ย”

มันเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กที่มักจะสับสนกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วคิดว่ามันคงอยู่กับตัวตลอดไป ดังนั้นคุณต้องทำให้ลูกเข้าใจว่ามันจะผ่านไป เหมือนเรื่องก่อนหน้านี้ที่เคยเกิดขึ้น

14.”พ่อ-แม่จะช่วยลูกยังไงได้บ้างมั้ย”

เด็กๆ มักจะรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเขาต้องการอะไรจากคุณ ดังนั้นคุณควรจะถามเขา เมื่อให้โอกาสเขาได้คิดเขาก็จะมาบอกคุณ เขาอาจจะบอกคุณว่า “จับมือหนู/ผมหน่อย” หรือ “นั่งข้างๆ หนู/ผมหน่อยจนกว่าจะใจเย็นลง” และวิธีแก้ปัญหาจะตามมา

15.”พ่อ-แม่รักลูกนะ”

การบอกว่าคุณรู้สึกยังไงกับลูกเสมือนเป็นการปกป้องเขาด้วยความอบอุ่น ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย มันจะทำให้เขาคลายกังวลและรู้สึกไม่กลัวต่อความกังวลที่จะเขามา เพราะความรักของคุณจะคอยปกป้องเขา

SOURCE :www.tonkit360.com