Covid-19 ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่กระทบเป็นลูกโซ่
การแพร่ระบาดของ Covid-19 ในปัจจุบันและปัจจัยลบที่รุมเร้าก่อนหน้าได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างใน 3 ช่องทาง ได้แก่ อุปสงค์ในการก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาคเอกชนที่มีแนวโน้มลดลง การขนส่งและ การจัดหาวัสดุก่อสร้างที่มีโอกาสล่าช้า และการขาดแคลนแรงงานในระยะสั้น
สะท้อนได้จากข้อมูลการออกใบอนุญาตก่อสร้าง ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่พบว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 การออกใบอนุญาตก่อสร้าง คอนโดมิเนียมมีการปรับลดลงราว 37% YOY มาอยู่ที่ 1.29 ล้านตารางเมตรและในเดือนมกราคม 2020 ปรับลดลง 70%YOY มาอยู่ที่ 7.2 หมื่นตารางเมตร
ขณะที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด ปรับลดลง 4%YOY มาอยู่ที่ราว 12.6 ล้านตารางเมตร และในเดือนมกราคม 2020 ปรับลดลง 3%YOY มาอยู่ที่ราว 2 ล้าน ตารางเมตร
อาคารพาณิชยกรรมและสำนักงาน การออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมมีการปรับลดลง 26%YOY มาอยู่ที่ 3.05 ล้านตารางเมตร ส่วนในเดือนมกราคม 2020 ปรับลดลง 28%YOY มาอยู่ที่ 4.37 แสนตารางเมตร
ส่วนการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารสำนักงานให้เช่า ปรับลดลงราว 26% YOY มาอยู่ที่ 5.6 แสนตารางเมตร และในเดือนมกราคม 2020 ปรับลดลงราว 83%YOY มาอยู่ที่ 5.9 หมื่นตารางเมตร และมีแนวโน้มหดตัว
จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศชะลอตัวลง ทำให้การลงทุนและการก่อสร้างโรงงานหดตัว ตามไปด้วย อย่างไรก็ดี การออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานในเดือนมกราคม 2020 ในบางพื้นที่ เช่น จ.ชลบุรี ในภาคตะวันออกยังคงมีการเติบโต โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 117%YOY มาอยู่ที่ 1.31 แสนตารางเมตร เป็นต้น ส่วนในอนาคต เมื่อการแพร่ระบาดของ Covid-19 คลี่คลายลง การกระจายฐานการผลิตจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีนมาสู่ไทยเพื่อลด ความเสี่ยงในการด าเนินธุรกิจถือเป็นปัจจัยบวกต่อการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตที่ยังต้องจับตามอง
จากภาวะดังกล่าว Economic Intelligence Center (EIC) ประเมินว่า ในปี 2020 มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีแนวโน้มหดตัว เล็กน้อยราว 1% YOY มาอยู่ที่ราว 1.29 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1.การก่อสร้างโครงการภาครัฐที่ ประเมินว่ายังคงเติบโตราว 4.5%YOY มาอยู่ที่ 7.62 แสนล้านบาท และ 2.การก่อสร้างโครงการภาคเอกชน ที่มีแนวโน้มหดตัวราว 7.8%YOY มาอยู่ที่ 5.28 แสนล้านบาท โดย EIC ประเมินว่า โครงการภาครัฐส่วนใหญ่ยังคง สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก, สายสีเหลือง, สายสีชมพู,รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา, โครงการมอเตอร์เวย์ เส้นทางบางใหญ่ – กาญจนบุรี
ทั้งนี้ EIC ประเมินว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างควรเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นใน 3 ด้าน ได้แก่
1.การดูแลและบริการจัดการ บุคลากร แรงงาน และพื้นที่หน้างาน
2.การเตรียมวัสดุก่อสร้างและเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสม
3.การเตรียมพร้อมเจรจากับเจ้าของ โครงการในการประเมินความก้าวหน้าของการก่อสร้างเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งนำไปสู่การลดข้อพิพาทจาก สัญญาว่าจ้าง
สำหรับภาครัฐมาตรการที่ออกมาเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะด้านแรงงานถือว่า มีความเหมาะสม เช่น การว่าจ้างแรงงานก่อสร้างในพื้นที่ต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐที่เพิ่มขึ้น การผ่อนปรน กับผู้ประกอบการให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้นานขึ้นเป็นการชั่วคราว
ในระยะข้างหน้า EIC มองว่า ภาครัฐควรพิจารณามาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะ 1.การพิจารณา ประเมินผลงานก่อสร้าง ที่อาจมีความล่าช้าในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และ 2.การอัดฉีดเม็ดเงิน ผ่านโครงการก่อสร้างขนาดกลางและเล็กเพิ่มเติมจากโครงการที่อยู่ใน พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและ ดูและเศรษฐกิจ
อ้างอิงจาก : Economic Intelligence Center (EIC)