ปัจจุบันต้องยอมรับว่า “สตาร์ทอัพ” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีไอเดียพร้อมพัฒนาสินค้านวัตกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อตอบรับการยกระดับโครงสร้างของประเทศที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“แหล่งเงินทุน” นับเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเริ่มต้นธุรกิจ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ร่วมกับบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทำโครงการ “แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่”  โดยสนับสนุนเงินทุนแบบเงินให้เปล่า หรือ  Angle Fund กับสตาร์ทอัพที่มีไอเดียหรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ให้ดำเนินธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ได้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 650 ทีม โดยผ่านการคัดเลือกและสนับสนุนเงินทุน จำนวน 128 ทีม รวมมูลค่ากว่า 13 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 450 ล้านบาท กเกิดการลงทุนในการจัดตั้ง-ขยายธุรกิจ 70 ล้านบาท สู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 500 ราย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 80 ล้านบาท และสามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้น มากกว่า 300 ล้านบาท


และปีนี้นับเป็นปีที่ 5 ของการสนับสนุนเงินทุน รวมกว่า 3.2 ล้านบาท เพื่อหนุนผู้ผ่านการคัดเลือกรวม 30 ทีม จากผู้สมัครทั้งหมด 152 ทีม ผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจ/ไอเดียนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ใน 3 ด้าน คือ ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (Industrial Automation) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีการใช้พลังงานอย่างมีความรับผิดชอบ (Energy Management) และนวัตกรรมเพื่ออนาคต (Innovation) ครอบคลุม 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ การแพทย์ครบวงจร อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และดิจิทัล  ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลนวัตกรรมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 60 ล้านบาท

หนึ่งในนั้น คือ “หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC” โรบอทฆ่าเชื้อระดับ DNA แบบ 360° โดยไม่ทิ้งสารตกค้าง ผลงานจาก บริษัท โคเอ็กซ์ซิส โรโบติกส์ จำกัด ที่เห็นปัญหาในช่วงที่เกิดสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ทำให้ทั้งภาครัฐฯและเอกชน จำเป็นต้องสร้างความปลอดภัน และความเชื่อมั่น ด้วยการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในพื้นที่สาธารณะ เช่น โรงพยาบาล, ห้างสรรพสินค้า, อาคารสำนักงาน, โรงแรม และระบบคมนาคมขนส่งทุกรูปแบบ

ที่ผ่านมาสถานที่เหล่านี้ใช้วิธีการฆ่าเชื้อโรคด้วยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งมีราคาสูง เฉลี่ย 14,000-70,000 [km9jv พื้นที่ 1,400 ตร.ม. และปัญหาสำคัญคือ สารบางตัวสามารถเจือปนในอาหารได้ทันที และการพ่นเป็นละอองฝอยอาจจะไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ปิดขนาดใหญ่

จึงเป็นที่มาของ “หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC” โรบอทฆ่าเชื้อระดับ DNA แบบ 360 องศา โดยรังสี UVC ที่ใช้ได้ถูกทำการทดลองหาความเข้มข้นของแสง จากแผนกกตจวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อหาประสิทธิภาพของแสงในการฆ่าเชื้อโควิด 19

ซึ่งหุ่นยนต์นี้ จะใช้ Optimization ช่วยในการวางแผน ในการสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่น 100% เพื่อกำหนดเส้นทางให้สั้นที่สุด และให้หุ่นยนต์ทำงานน้อยที่สุด โดยผลลัพธ์เบื้องต้น พื้นที่ 1 ห้อง ขนาด 30-40 ตร.ม. จะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อที่ 14.1-18.9 นาที โดยการพัฒนานี้ทำให้ราคา“หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC” มีราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่งผลต่อราคาบริการไม่เกิน 6.5 บาทต่อตร.ม.  ปัจจุบัน เซ็นทรัล ฟู้ด ฮออล์ ได้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตรายแรกของไทยที่เลือกใช้ หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC