จากในตัวเมืองสู่เกาะอันไกลโพ้น Second life ของแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อน
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และ รณรงค์การใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซต่างๆ ก็มีอีกหนึ่งปัญหาทางมลภาวะที่ตามมาคือในเรื่องของการกำจัดชิ้นส่วนของรถไฟฟ้า หนึ่งในชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ก็คือ แบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อน มีการคาดการ์ณว่าหลังจากวิกฤตโควิค 19 ได้ผ่านพ้นไป ความต้องการใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับตัวแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนนั้นมีราคาถูกลง ทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่เมื่อถึงวันนึงที่แบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนจากรถยนต์ไฟฟ้าหมดซึ่งอายุขัยของมันแล้ว ก็ต้องถูกกำจัด แยกขิ้นส่วน หรือ นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ การนำแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนกลับมาใช้ใหม่นั้นเป็นแนวทางที่คุ้มค่าและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มื่อรถยนต์ไฟฟ้านั้นหมดสภาพการใช้งานไปแล้ว ในส่วนของตัวแบตเตอรี่ลิเธียมนั้น ยังไม่ได้หมดอายุการใช้งานไปเสียทีเดียว ตัวแบตเตอรี่ลิเธียมนั้นจะยังมีความสามารถในการเก็บประจุเหลืออยู่ ราวๆ 80% ซึ่งยังสามารถนำไปใช้งานในการเก็บประจุในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก ซึ่งเป็นการยืดการใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อน ออกไปได้อีก การนำแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนที่ใช้แล้ว มาใช้อีก ก็มีหลายรูปแบบ ดังนี้
- ใช้เป็นตัวสำรองไฟฟ้าตามสถานที่ต่างๆ เช่นที่ Amsterdam Arena ในประเทศเนเธอแลนด์ ทางบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง นิสสัน ได้นำแบตเตอรี่ลิเที่ยมไออ้อน จาก Nissan Leaf มาผนวกกับเทคโนโลยีของ Eaton ใช้เป็นตัวกักเก็บไฟฟ้าสำรองเมื่อมีการจัดอีเวนต์ใหญ่ในสเตเดี้ยม หรือ ดังเช่นทางกลุ่ม General Motors ที่นำแบตเตอรี่จากรถยนต์ Chevrolet Volt มาใช้เป็นตัวเก็บไฟฟ้าสำรองให้กับ data center ของตัวเอง
- ใช้เป็นตัวเก็บพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่นในโครงการ The Reborn Light ที่ทางนิสสัน ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมจากรถยนต์ Nissan Leaf เป็นตัวเก็บประจุจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดกับตัวเสาไฟ เพื่อให้พลังงานแก่แสงไฟในยามค่ำคืน หรือ ทาง Renault ได้ใช้แบตเตอรี่จากรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองเป็นตัวเก็บประจุให้กับ ฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ บนเกาะ Porto Santo ของโปรตุเกสซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองหลวงลิสบอน ถึง 900 กิโลเมตร
ซึ่งเมื่อการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าได้เติบโตขึ้น ก็จะมีผลให้ส่วนของภาคธุรกิจการนำแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนเก่าจากรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานได้เติบโตขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางการดำเนินธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย แต่ความท้าทายของธุรกิจนี้ก็อยู่ที่ การไม่มีมาตรฐานกลางของแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อนที่ใช้แล้ว กับความแตกต่างของขนาดแบตเตอรี่ ทำให้ตัวธุรกิจนี้ยังต้องผูกอยู่กับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นฝ่ายซัพพลายตัวแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว ให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำกลับมาใช้งานต่อไป