IC chip สิ่งเล็กๆ ที่เรื่องไม่เล็ก
ช่วงเวลานี้ก็ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของอุตสาหกรรม semiconductor ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เกิดการขาดแคลน ชิปกลุ่มอุตสาหกรรมที่โดนกระทบหนักก็เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ สาเหตุของการขาดแคลนชิปก็มาจากการที่ยอดสั่งซื้อชิปสำหรับรถยนต์ลดลงจากความต้องการรถยนต์ที่ลดลง ทำให้บริษัทผู้ผลิตชิปได้มุ่งเน้นการผลิตไปที่ชิปสำหรับ สินค้าอีเลคทรอนิคส์ จำพวก gadgets ที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นจากการที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้น การเติบโตของ work from home และ การใช้ระบบ cloud กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์เลยได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิป ถึงขั้นที่โรงงานรถยนต์ Honda, Ford, GM ในสหรัฐอเมริกา มีการประกาศหยุดการผลิตเป็นเวลาหนึ่งเดือนในช่วงเดือนมกราคม 2021
ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิป ก็มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีการประเมินว่าอุตสาหกรรม semiconductor จะเติบโตขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับในปี 2020 โดย segment ที่จะมีการเติบโตสูงคือในกลุ่มของชิปที่ใช้กับ smartphone ซึ่งมีการคาดการ์ณว่ากลุ่มนี้จะโตขึ้น 11.4% จากการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีการสื่อสารเข้าสู่ยุค 5G ซึ่งรายได้ส่วนมากของชิปกลุ่ม smartphones และ telecommunications ในปี 2021 ก็จะมาจากผลิตภัณท์ที่รองรับ 5G เป็นส่วนใหญ่
ที่มา www.information-age.com
อีกสาเหตุหนึ่งของการขากแคลนชิปก็มาจาก trade war ที่เกิดขึ้นระหว่าง สหรัฐอเมริกาและ จีน ซึ่งทำให้บริษัทผลิตชิปเจ้าใหญ่จากจีนอย่าง SMIC และ Huawei นั้นไม่สามารถเข้าถึง patent และเทคโนโลยี ที่ใช้ในการผลิตชิปขั้นสูงที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ ทำให้เหลือเพียงไม่กี่บริษัทเช่น TSMC ซึ่งเป็นบริษัท foundry เจ้าใหญ่จากไต้หวัน และ Samsung ที่มีกำลังการและศักยภาพผลิตชิปในระดับเล็กมากๆ ได้ เมื่อรวมกับ demand ที่เพิ่มสูงขึ้นก็ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนชิปขึ้นมา
สิ่งที่สะท้อนมาจากภาวะขาดแคลนชิป ทำให้เราเห็นว่า ชิป ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อประเทศต่างๆ ยิ่งแต่ละประเทศปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ไปในรูปแบบดิจิตอล และมีความต้องการอุปกรณ์ gadgets และ ระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทำให้ความต้องการและการพึ่งพาชิปเพิ่มมากขึ้น เราจึงเริ่มการ reshuffle ของ supply chain จากการย้ายฐาน foundry ของประเทศต่างๆ เพื่อลดการพึ่งพาชิปจากต่างชาติ เช่นการที่ ประธานาธิบดี Joe Biden ของสหรัฐอเมริกาได้เซ็น executive order สนับสนุนการผลิตชิปในสหรัฐอเมริกาเอง เพื่อลดและป้องกันปัญหาการขาดแคลนชิปในอนาคต โดยทาง TSMC ก็ได้มีประกาศสร้างโรงงานใหม่ในเมือง Phoenix ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรองรับการผลิตชิปในอเมริกา ทาง Samsung ก็มีข่าวว่าจะสร้างโรงงานผลิตชิปขึ้นในรัฐ Texas ส่วนทางสหภาพยุโรปเองก็กำลังมีการวางแผนดึงให้มีโรงงานผลิตชิป ในยุโรปเช่นกัน
ที่มา bbc.com
สิ่งที่มหาอำนาจอย่างจีนยังตามหลังกลุ่มอื่น คือการขาดการเข้าถึง patent เนื่องจากผลของ trade war ทำให้บริษัท foundry ยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง SMIC สามารถผลิตชิปได้ใน ขนาดเพียงแค่ 13 nm แต่ทาง TSMC สามารถผลิตได้ถึง 5 nm ซึ่งการขาด patent ก็ไม่ใช่เพียงเหตุผลเดียว แต่การที่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ในการผลิตได้จากผลของ trade war ก็สะกัดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีของจีน ทำให้กลุ่มบริษัทชั้นนำทางอีเลคทรอนิคส์ของจีนนั้นรวมตัวกันที่จะพัฒนาชิป เพื่อที่จะลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากตะวันตกในการผลิตชิป โดยได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากทางรัฐบาลจีน
ที่มา asiatimes.com
การที่หลายบริษัทเริ่มออกแบบชิปสำหรับซอฟต์แวร์ตัวเองและนำไปส่งให้ทาง foundry ผลิต อย่างเช่น ชิป A14 Bionic ที่ออกแบบโดยแอปเปิล และ ผลิตโดย TSMC หรือ ทาง Nvidia และ Qualcomm ที่ให้ Samsung เป็นผู้ผลิตชิป ก็เป็นแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตชิป ที่บริษัทก็จะออกแบบ ซอฟแวร์ และ ใช้ชิปของตัวเองในการประมวลผล กลายเป็น systems company ไม่ใช่แค่เน้น software หรือ hardware อย่างใดอย่างหนึ่งแบบที่ผ่านๆ มา
ในประเทศไทย เป็นเรื่องท้าทายในการเข้าสู่วงจรการผลิตชิปในระดับสูง แบบทางไต้หวันและอเมริกา สิ่งที่พอเป็นไปได้คือการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ regional supply chain หรือในอีกทางหนึ่งเราสามารถมุ่งเน้นไปที่การผลิตชิปสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ชิปที่มีเทคโนโลยีสูงหรือล้ำหน้าที่สุด แม้ว่าฟังดูแล้วจะเหมือนดูใหม่ทันสมัย ดูไม่ฮือฮา แต่ก็ยังมีอีกหลาย application ในโลกที่ไม่ได้ต้องการชิปที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นในเครื่องใช้ไฟฟ้าหล่ายชนิดก็ไม่ได้ต้องการชิปที่มีเทคโนโลยีมากมาย หรือในธุรกิจ Harddrive ซึ่งตลาดในกลุ่มนี้ก็ยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ไม่ได้เป็นจุดโฟกัสในการสร้างความสั่นสะเทือนในวงการเสียเท่าไหร่ จึงยังเป็นช่องทางให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นจ้าวเทคโนโลยีทางด้านการผลิตชิปนั้นสามารถแข่งขันและเดินหน้าต่อไปได้