CEOอนันดา ยืนยัน “แอชตันอโศก” โปร่งใส พร้อมเคียงข้างลูกบ้านสู้คดีศาลปกครอง
นาทีนี้ในวงการอสังหาฯ คงจะไม่มีเรื่องไหนร้อนแรงเท่า “แอชตัน อโศก” คอนโดฯหรูใจกลางเมือง ที่ตอนนี้ไม่รู้ว่าลูกบ้านชาวแอสตัน อโศก จะเศร้าโศก ตกใจ! กันขนาดไหน ตั้งแต่ศาลปกครองมีคำพิพากษา เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ "แอชตัน อโศก" ที่ออกให้แก่ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด โดยให้เหตุผลว่า ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารโครงการแอชตัน อโศก ไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
โครงการนี้สร้างเสร็จและโอนกรรมสิทธิ์มากว่า 2 ปี และปัจจุบันมีลูกบ้านเข้าอยู่แล้วกว่า 578 ครอบครัว โดยเป็นลูกค้าชาวไทย 438 ครอบครัว และชาวต่างชาติ 140 ครอบครัวจาก 20 ประเทศ แน่นอนว่าการเพิกถอนใบอนุญาตครั้งนี้ได้สร้างซึนามิ ให้กับโครงการนี้อย่างหนัก โดยเฉพาะลูกบ้านจำนวนมากที่รับผลกระทบแบบเต็มๆ และยังสะเทือนทั่ววงการอสังหาฯ ไปถึงเพื่อนๆ ผู้พัฒนาอสังหาฯ รายอื่นที่อาจจะโดนหางเลขไปด้วยจากข้อมูลที่อ้างว่ามีอีกถึง 13 โครงการ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
ภายใต้ความกังวลใจของลูกบ้านชาวแอชตัน อโศก ที่ถาโถมคำถามมากมายเข้ามากับผู้บริหารของอนันดานับตั้งแต่วันที่มีข่าว วันนี้ นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ก็ได้ออกมาแถลงข่าวกับสื่อมวลชน โดยระบุว่า ที่ผ่านมา บริษัทฯดำเนินงานอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องของการซื้อที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้ทางเข้า-ออก ของ รฟม. จากโครงการอื่น ๆ ร่วมด้วย
ซึ่งโครงการ แอชตัน อโศก จึงไม่ใช่รายแรกที่ใช้ทางเข้า-ออกของ รฟม. อีกทั้งการดำเนินงานขออนุมัติใบอนุญาตต่าง ๆ บริษัทได้ทำทุกขั้นตอนอย่างถูกต้องภายใต้กฎระเบียบและข้อบังคับของภาครัฐอย่างเคร่งครัด และได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน จึงมั่นใจว่าในกระบวนการดำเนินงานของ โครงการแอชตัน อโศก อยู่บนความถูกต้อง สุจริต ชอบด้วยกฎหมายทุกขั้นตอน
ทั้งนี้บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้เข้าดูแลลูกบ้านทั้ง 578 ครอบครัว โดยได้ให้ข้อมูลผ่านกลุ่มไลน์ และ Zoom เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกบ้านทั้งชาวไทยและต่างชาติ พร้อมทั้งเร่งดำเนินการร่วมกับทีมกฎหมายเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เบื้องต้นบริษัทฯ จะเร่งเดินหน้ายื่นอุธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อยืนยันในความถูกต้อง สุจริต และความโปร่งใส่ในการดำเนินโครงการ แอชตัน อโศก
โดยจะหาแนวทางที่ชัดเจนว่าจะสามารถนำลูกบ้านมาเป็นผู้ร้องสอบร่วมอุธรณ์ได้หรือไม่ หากได้ก็จะมีการเร่งดำเนินการต่อไป พร้อมเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย ให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ ซึ่งบริษัทฯ พร้อมที่จะเดินหน้า #SaveAshtonAsoke และพร้อมที่จะสู้คดีไปให้สุดทาง และจบกรณีนี้โดยเร็วที่สุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งมั่นใจว่าเราจะสามารถชนะคดีนี้ได้อย่างแน่นอน
ในส่วนของหุ้นกู้ที่จะมีการเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ในระหว่างวันที่ 5-6 และ 9-10 ส.ค.นี้ ทีมผู้บริหารอนันดา ยอมรับว่า กรณีนี้มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมาก ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อติดตามข่าวสารและดูสถานการณ์ ซึ่งบริษัทฯได้มีการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมต่อธนาคารไปแล้ว ส่วนกลุ่มนักลงทุนจะมีการชี้แจงเพิ่มเติมอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี ในกรณีเลวร้ายที่สุด หากศาลปกครองสูงสุดยืนคำสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ "แอชตัน อโศก" ทางบริษัทพร้อมจะดูแลลูกค้าในโครงการให้ดีที่สุดบนความยุติธรรมตามกำลังความสามารถที่บริษัทจะทำได้ พร้อมเรียกร้องให้รัฐฯ ต้องออกมาดูแลลูกบ้านในโครงการนี้ด้วย โดยกรณีนี้ถือว่าเป็นเคสตัวอย่างที่อาจจะสร้างผลกระทบกับภาคธุรกิจอสังหาฯในระยะยาว ไม่ใช่แค่โครงการที่อยู่อาศัย แต่รวมไปถึงกลุ่มโรงแรม, ห้างสรรพสินค้า ที่ต้องขอใช้ทางร่วมกับรัฐฯ
ดังนั้นจึงอยากขอเวลาเพื่อเป็นกรอบในการแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อลูกบ้านกว่า 578 ครอบครัว และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีการ่วมทุนกับบริษัทฯ
ด้านทีมกฎหมายของอนันดา ให้ความเห็นว่า กรณีที่ศาลปกครอง เห็นว่า รฟม.ใช้ที่ดินนอกวัตถุประสงค์ของการเวนคืนนั้น อยากให้ดูตามสภาพความเป็นจริงร่วมด้วย เพราะกรณีนี้ที่ดินตรงนั้นเป็นส่วนที่ดินเหลือใช้จากการเวนคืน ซึ่ง รฟม.ไม่ได้สูญเสียกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง และไม่เสียสิทธิ์อื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นทางสาธารณะประโยชน์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน และยังสร้างประโยชน์ให้กับผู้ที่มาใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตีความถึงเรื่องการใช้ประโยชน์จากที่ดินตรงนั้นด้วย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯก็ได้มีการพูดคุยกับ รฟม.ในการใช้พื้นที่ดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาที่ตัดสินออกมานั้นยังคงไม่ใช่ บทสรุปของเรื่องนี้ แต่ก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะกรณีนี้ “ผู้บริโภค-ผู้ซื้อ” ได้กลายเป็นผู้รับได้รับผลกระทบโดยตรง หลังจากนี้คงต้องตามดูแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม ว่าจะสามารถปฎิบัติได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และท้ายสุดแล้วก็คงต้องใช้กรณีนี้เป็นเคสตัวอย่างของวงการอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตต่อไป
เกร็ดความรู้
เรื่องขนาดอาคารที่สามารถสร้างได้ ขึ้นอยู่กับขนาดถนนสาธารณะที่เชื่อมต่อ และขนาดที่ดินด้านที่แคบที่สุดที่เชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ ซึ่งหลายโครงการมักซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อตัดเป็นถนนเข้า-ออกโครงการ ซึ่งสามารถเพิ่มขนาดอาคารได้ ดังนี้