สํานักนโยบาย เศรษฐกิจมหภาค (สศม.) ขอรายงานเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 13 ส.ค. 64 ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 78.9 จากระดับ 80.7 ในเดือนก่อน
2. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ ร้อยละ -12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
4. GDP สิงค์โปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
5. GDP มาเลเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
6. GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
7. GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 78.9 จากระดับ 80.7 ในเดือนก่อน
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลายและกระจายวงกว้างไปทั่วไปประเทศ ประกอบกับ ภาครัฐออกมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ 29 จังหวัด ส่งผลให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs และประชาชนมีรายได้ลดลง ทั้งนี้การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งทาให้กาลังการผลิตลดลงและเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ ตาม ภาคการส่งออกยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีทิศทางดีขึ้นจากสัดส่วนประชากร ที่ฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นทาให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศขยายตัว นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัย สนับสนุนภาคการส่งออกอีกด้วย

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ค. 64 หดตัวร้อยละ -12.0 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และหากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -10.2 เม่ือเทียบกับเดือนก่อนหน้า
โดยในเดือน ก.ค. 64 เป็นเดือนที่เริ่มได้รบั ผลกระทบจากการยกระดบั มาตรการควบคุมการแพรร่ ะบาดของไวรสั โควิด-19 โดยเฉพาะในพนื้ ที่กอ่ สร้าง ในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทาให้ต้องชะลอการกอ่ สร้างในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อควบคุมการแพรร่ะบาดในแคมป์คนงานและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังยอดการใช้งานปูนซีเมนตเ์ดอืนก.ค.64 หดตัวเร่งขนึ้ เมอื่ เทียบรายปีและเทียบกับเดอื นกอ่ นหนา้ ทั้งนี้ สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโควิดที่ยังคงรนุ แรงใน ปัจจุบันคาดว่าจะยังคงส่งผลกระทบต่อการกอ่สร้างโดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ให้ชะลอตัวตอ่เนื่อง

เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชยท์ ั้งระบบในเดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ 5.2 ล้านล้านบาท ลดลง เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จาก เกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่ เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ : อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 13 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีฐานต่ำเมื่อปีก่อน และจากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กลับมาเปิดดาเนินการอีกครั้ง รวมถึง ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน โดยราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มของอาหาร รถใหม่ และที่พักอาศัย เป็นสำคัญ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (1-7 ส.ค. 64) อยู่ที่ 3.75 แสนราย ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.87 แสนราย สะท้อนการทยอย ฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังคงเป็นระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ระดับ 2.3 แสนราย

จีน : อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 3 เดือน เป็นผลจากราคาสินค้าปรับตัวลดลงในกลุ่มของอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสุกร เป็นสำคัญ มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 32.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในบางประเทศ ราคาวัตถุดิบที่เพิ่ม สูงข้ึน สภาพอากาศที่แปรปรวน และปัญหาด้านการขนส่งที่ชะลอตัวสอดคล้องกับ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 36.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ใน ประเทศที่ชะลอตัว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในบางพื้นที่ ราคา สินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น และการผลิตที่ชะลอตัวลง ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 เกินดุลการค้าที่ 5.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 5.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

สหภาพยุโรป : ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัว ลดลงจากเดือน พ.ค. 64 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.6 และ ขยายตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ไว้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 10.4
สิงคโปร์ : GDP ไตรมาสท่ี 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็น การหดตัวที่ร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหนา้ (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
อินเดีย : ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 28.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการชะลอลง ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 หลังจากขยายตัวสูงมากในเดือน เม.ย. 64 ถึงร้อยละ 134.6 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน
อินโดนีเซีย : ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวท่ีร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ เป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 80.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าท่ีอยู่ท่ีระดับ 107.4 จุด เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดท่ีเข้มงวดข้ึน
มาเลเซีย : GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัว ที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 26.0 เนื่องจากการผลิตของอุปกรณ์การขนส่งเป็นสำคัญ ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายในหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์เป็นสาคัญ อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม
ฟิลิปปินส์ : GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยทู่ ี่ร้อยละ 2.0 ต่อปี
เกาหลีใต้ : อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกาลังแรงงานรวม ชะลอตัวลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกาลังแรงงานรวม ซึ่งถือเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ เดือน ส.ค. 63 ท่ามกลางการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในบาง พื้นที่
ไต้หวัน : มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 59.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอ ตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 35.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากพิจารณา มูลค่ารูปตัวเงินจะคิดเป็น 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 41.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัว ลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 42.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สูงกว่าที่ตลาด คาดการณ์ไว้ ดุลการค้าเดือน ก.ค. 64 เกินดุลการค้าที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ 5.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สหราชอาณาจักร : GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการบริโภค ภาคครัวเรือน การลงทุนถาวร (fixed investment) และการใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 28.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตยังคงต่ากว่าระดับใน เดือน ก.พ. 63 อยู่ร้อยละ 2.3

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เช่น Nikkei 225 (ญี่ปุ่น) HIS (ฮ่องกง) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,532.71 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 9-11 ส.ค. 64 อยู่ที่ 83,753.41 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-11 ส.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -5,362.85 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -8 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 และ 11 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.19 และ 2.68 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-11 ส.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,402.69 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึง วันที่ 11 ส.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 84,349.32 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 11 ส.ค. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.92 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลวอน ปรับตัวแข็งค่าข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.36 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators








ขอบคุณข้อมูลจาก สศม. -  สํานักนโยบาย เศรษฐกจิมหภาค Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy
Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259