เปิดมุมมอง 3 กูรูตลาดทุน จับเทรนด์คนไทยซื้อกองทุนต่างประเทศได้เองโดยตรง รับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแบบ K-Shaped Recovery

FinVest แอปพลิเคชันเพื่อการลงทุน ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “ติดปีกการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ” อัพเดททิศทางความเคลื่อนไหวของตลาดการเงินโลกล่าสุด และกองทุนเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นโอกาสใหม่ที่นักลงทุนรายย่อยไทยสามารถซื้อขายกองทุนต่างประเทศได้เองโดยตรงเป็นครั้งแรกผ่านแอปพลิเคชัน FinVest พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน 3 กูรูตลาดทุน นายกิตติ สุทธิอรรถศิลป์ ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงาน Strategic Initiatives & Industry Utility ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายชลเดช เขมะรัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรโบเวลธ์ และนายพสุ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บมจ. Proud Real Estate ในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์ทำงานในตลาดการเงินระดับภูมิภาค

นายชลเดช เขมะรัตนา กล่าวว่า ทิศทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติโควิด-19 จะฟื้นตัว แบบกราฟรูปตัว K หรือที่เรียกว่า "K-Shaped" โดยนักลงทุนควรพิจารณาจัดพอร์ตการลงทุนตามกลุ่มอุตสาหกรรมและประเทศที่ฟื้นตัวได้เร็ว มากกว่าการจัดพอร์ตแบบ Home Bias ที่แบ่งสัดส่วนการลงทุนออกเป็นการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ

อุตสาหกรรมและประเทศที่จัดอยู่ในหมวดด้านบนของขาตัว K เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 น้อย ฟื้นตัวได้เร็ว และเติบโตได้ต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ กลุ่มพลังงานสะอาด กลุ่มเทคโนโลยี โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นแกนนำ

ส่วนกลุ่มที่อยู่ขาล่างของตัว K คืออุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวได้ช้าหรือยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว เช่น ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคท่องเที่ยวจะกลับไปเป็นปกติ การมองภาพใหญ่เช่นนี้จะทำให้นักลงทุนเห็นโอกาสปรับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงและจับสัญญาณการลงทุนจากตลาดโลกได้มากขึ้น


แบบกราฟรูปตัว K หรือที่เรียกว่า "K-Shaped"

วิธีการวิเคราะห์แบบนี้สามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ หากพิจารณาจากการเติบโตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของดัชนีหุ้นต่างประเทศ มีดาวเด่นเป็นดัชนี NASDAQ ที่โตขึ้นกว่า 5 เท่า โดยเฉพาะหุ้น Apple ที่มูลค่าตลาด ณ ปัจจุบัน ทะลุ 80 ล้านล้านบาทไปแล้ว นอกจากนี้ ยังรวมถึงหุ้นที่คนไทยคุ้นเคยอยู่แล้ว เช่น Microsoft, Google, Amazon, Facebook, Tesla, Netflix ฯลฯ นี่จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่จะได้ลงทุนในหุ้นที่เจริญเติบโตเหล่านี้

เลือกธีมลงทุนที่เหมาะสมกับเมกะเทรนด์ในแต่ละช่วงเวลา
นายชลเดช เขมะรัตนา กล่าวต่อว่า นักลงทุนไทยสามารถเลือกลงทุนกองทุนต่างประเทศในรูปแบบ Thematic Investment ทำให้สามารถลงทุนในบริษัทที่เป็นผู้นำในแต่ละธีมพร้อมกันได้หลายบริษัท โดยอาจเลือกถือ 3-5 กองทุนที่สนใจในแต่ช่วงเวลา
5 กองทุนเด่นเมกะเทรนด์ระดับโลก

  • กองทุน Global Energy Transition จาก Schroder ISF
    ลงทุนในบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจและเทคโนโลยีพลังงานสะอาดระดับโลก สอดคล้องกับเป้าหมายร่วมของผู้นำทั่วโลกที่จะบรรลุภารกิจการลดโลกร้อนร่วมกัน
  • กองทุน Robeco Smart Mobility จาก Robeco
    ลงทุนในบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ ตามการปฏิวัติอุตสาหกรรมรถยนต์ที่แบรนด์ชั้นนำทั่วโลกหันมาเน้นผลิตรถยนต์ EV มากขึ้น
  • กองทุน Blockchain Innovation จาก BNY Mellon
    ลงทุนในบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อว่าจะกลายเป็น New Internet ใหม่ในอนาคต
  • กองทุน Healthcare Innovation จาก Schroder ISF
    ลงทุนในเทคโนโลยีและการบริการทางการแพทย์ใหม่ ๆ อย่างหุ่นยนต์ผ่าตัด Telehealth และการนำข้อมูลดิจิทัลเพื่อวิเคราะห์ร่างกาย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนต่าง ๆ เช่น Johnson & Johnson, AstraZeneca, Pfizer เป็นต้น
  • กองทุน Long Term Global Growth จาก Baillie Gifford 
    ลงทุนในบริษัทที่เติบโตอย่างโดดเด่นจากทั่วโลก อาทิ Netflix, Tesla, Amazon, Facebook, Alibaba ฯลฯ

ด้าน นายพสุ ลิปตพัลลภ ให้มุมมองว่า การลงทุนธุรกิจที่เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) คือโอกาสของคนยุคปัจจุบันที่จะได้ถือกองทุนหรือหุ้นที่เป็นอนาคตของโลก โดยเฉพาะ Blockchain ที่หากเริ่มต้นลงทุนวันนี้ ก็เหมือนได้ย้อนเวลากลับไป 20-30 ปี ในวันที่นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของ Internet ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและวันนี้เติบโตมหาศาล นอกจากนี้ส่วนตัวยังสนใจธุรกิจที่เป็นสินทรัพย์จับต้องไม่ได้ อาศัยการทำงานบน Cloud เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านต้นทุนเรื่องพื้นที่ แรงงาน และการผลิต สำหรับการขยายจำนวนลูกค้าเหมือนอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจเก่า


นายพสุ ลิปตพัลลภ

โอกาสใหม่ที่นักลงทุนไทยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลลงทุนกองทุนทั่วโลกได้เองโดยตรง

นายกิตติ สุทธิอรรถศิลป์ กล่าวว่า ปี 2563 ที่ผ่านมา คนไทยตื่นตัวเรื่องการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเปิดพอร์ตฟอลิโอสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 200,000 รายการ และให้ความสนใจในตลาดหุ้นต่างประเทศอย่างมาก ส่งผลให้มูลค่ากองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือ FIF มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของตลาดกองทุนรวม


นายกิตติ สุทธิอรรถศิลป์

การลงทุนในตลาดกองทุนต่างประเทศอาจมีโอกาสได้รับผลตอบแทนไม่เท่ากันด้วยข้อจำกัดที่ผ่านมาสำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือระดับกลางที่ไม่พร้อมจะลงทุนต่างประเทศผ่านไพรเวท แบงก์ (Private Banking) หรือซื้อตรงหุ้นต่างประเทศเป็นรายตัวด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำที่หลักแสนหรือล้านบาท จึงลงผ่าน Feeder Fund ที่จะมีค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนอยู่ที่ 1-1.5 % ต่อปี ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่หักลบผลตอบแทนสุดท้ายที่จะได้รับ

การเปิดตัวฟีเจอร์ซื้อขายตรงกองทุนต่างประเทศ (Offshore) บน FinVest ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อการลงทุนด้วยความร่วมมือของธนาคารกสิกรไทย ลู อินเตอร์เนชันแนล และกลุ่มโรโบเวลธ์ นับเป็นแอปพลิเคชันแรกในไทยที่เปิดให้นักลงทุนมีโอกาสทำกำไรจากการซื้อขายกองทุนต่างประเทศได้เองโดยตรงโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมซ้ำซ้อน และเพิ่มทางเลือกในการลงทุนได้มากกว่า 1,000 กองทุนจาก 33 บลจ.ชั้นนำทั่วโลก

นอกจากนี้ จากความสำเร็จในการเชื่อมต่อระบบ FundConnext ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเข้ากับระบบซื้อขายกองทุนทั่วโลก เอื้อให้แพลตฟอร์ม Open Architecture ของ FinVest สามารถส่งคำสั่งซื้อได้ในขั้นตอนเดียว ทั้งยังซื้อได้ด้วยสกุลเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Real-time ของธนาคารกสิกรไทย ช่วยให้นักลงทุนซือตรงกองทุนต่างประเทศได้ง่ายทุกขั้นตอนผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 30,000 บาทต่อกองทุน ทำให้นักลงทุนไทยเข้าถึงการลงทุนตรงกองทุนต่างประเทศได้มากขึ้น โดยมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย เพราะมีระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจดบันทึกรายการและจำนวนหน่วยลงทุนของนักลงทุนแต่ละราย

พิเศษ! ช่วงเปิดตัวฟีเจอร์ซื้อขายกองทุนรวมต่างประเทศโดยตรงบน FinVest ระหว่างวันนี้-15 พฤศจิกายน 2564 ฟรี! ค่าธรรมเนียมจากการขายหน่วยลงทุน (Front-end-fee) แบบไม่มีเพดานสำหรับ 5 กองทุนแนะนำข้างต้น สามารถดูรายละเอียดโปรโมชั่นเพิ่มเติมได้ที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/32e84f48

โดยนักลงทุนสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน FinVest ได้ที่ https://finvest.onelink.me/CoWV/744f623a และสามารถติดตามเทรนด์การลงทุนทั่วโลกได้ที่เฟสบุ้ค FinVest หรือเว็บไซต์ https://bit.ly/3hMysNa