สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ วันที่ 15 ต.ค. 64 ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 79.0 จากระดับ 76.8 ในเดือนก่อน
2. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 64 คิดเป็น 1.86 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
4. GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ย. 64 เพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 6 เดือนที่ระดับ 79.0 จากระดับ 76.8 ในเดือนก่อน

โดยมีปัจจัยสนับสนุนสาคัญจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทิ่เริ่มคลี่คลายหลังจานวนผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง ทาให้ ภาครัฐทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัว ประกอบกับ การใช้มาตรการ Bubble and Seal ในโรงงาน ทาให้ผู้ติดเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมลดลง ส่งผลดีต่อการผลิตให้กลับมา ดาเนินการต่อได้ อีกทั้งการประกาศเปิดประเทศในช่วงไตรมาส 4 นี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นทั้งภาคประชาชน รวมถึง ผู้ประกอบการได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์น้าท่วมอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกระทบต่อวัตุดิบใน ภาคอุตสาหกรรมอาหารและภาคการขนส่ง อีกทั้งต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญสาหรับการ ฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงที่เหลือของปี


ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.ย. 64 หดตัวร้อยละ -9.5 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และหากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

โดยในเดือน ก.ย. 64 ภาคการก่อสร้างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้าท่วมในหลายจังหวัด ทาให้ไม่สมารถดาเนินการ ก่อสร้างได้ อีกทั้งยังมีปัญหาด้านการขนส่งวัตถุดิบสาหรับการก่อสร้าง จึงทาให้ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงหดตัว ต่อเนื่อง อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย คาดว่าจะทาให้ภาคการก่อสร้างและธุรกิจที่ เกี่ยวข้องยังไม่ฟื้นตัวดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี การยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดในแคมป์คนงานก่อสร้าง และการเบิกจ่ายงบประมาณปี 65 คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนภาคการก่อสร้างในช่วงไตรมาส 4

เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 64 คิดเป็น 1.86 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ 5.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่ เดือน ม.ค. 59


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ 

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาในกลุ่มของ ที่พักอาศัย อาหาร รถใหม่ และพลังงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (3-9 ต.ค. 64) อยู่ที่ 2.93 แสนราย ลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.29 แสนราย ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.19 แสนราย และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดในเดือน มี.ค. 63 สะท้อนการฟื้น ตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ จากอุปสงค์ในตลาดแรงงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการเลิกจ้างงาน ชะลอลง ขณะที่แรงงานบางส่วนยังไม่กลับเข้ามาจากความกังวลเรื่องการแพร่ระบาด

จีน 

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ แข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี จีนยังคงเผชิญแรงกดดันจากการขาดแคลนพลังงาน ปัญหาอุปทาน คอขวด และยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่กลับมาเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 33.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการนาเข้า เซมิคอนดักเตอร์และโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมลดน้อยลง เนื่องจากนโยบายควบคุมสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่ชะลอตัวลง
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 เกินดุลที่ 6.67 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่เกินดุลที่ 5.83 หมื่นล้านดอลลาร์
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 64 โดยเป็นผลจากราคาในกลุ่มอาหาร การขนส่งและการสื่อสาร และสินค้าและบริการใน ครัวเรือน ที่ปรับตัวลดลงเป็นสาคัญ

สหภาพยุโรป

  • ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.0 อย่างไรก็ดี ขยายตัวมากกว่าที่ตลาด คาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.7

ออสเตรเลีย

  • อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก เดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ท่ีร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม เนื่องจากมีมาตรการล็อกดาวน์ในรัฐ ต่าง ๆ ของออสเตรเลียเพื่อควบคุมโรคโควิด-19

สิงคโปร์

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)

อินโดนีเซีย

  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 หดตัวท่ีร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายสินค้าใน หม วดชิ้นส่วนยานยนต์เป็นสำคัญ
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวท่ีร้อยละ 47.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 64.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 40.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 55.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 เกินดุลท่ี 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุล 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มาเลเซีย

  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายสินค้าในหมวด ยานยนต์เป็นสำคัญ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัว ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตของ การผลิตไฟฟ้าเป็นสำคัญ

ฟิลิปปินส์

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งข้ึนจาก เดือนก่อนหน้าท่ีขยายตัวท่ีร้อยละ 13.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 29.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 ขาดดุลที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าท่ี ขาดดุลที่ 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เกาหลีใต้

  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกาลังแรงงานรวม โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 กว่า 6.7 แสนตาแหน่ง สะท้อนการฟื้นตัวที่ดีของตลาดแรงงานในเกาหลีใต้

อินเดีย

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 11.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การมีฐานต่า และเศรษฐกิจอินเดียที่เริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาด
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 64

สหราชอาณาจักร

  • อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ก.ค. 64 ที่อยู่ท่ีร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าที่สุดของ สหราชอาณาจักรในปี 64
  • ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวอยู่ท่ีร้อยละ 3.7 เม่ือเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าท่ีขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.4 อย่างไรก็ดีขยายตัวมากกว่าท่ี ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวท่ีร้อยละ 3.1

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อ วันท่ี 14 ต.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,640.97 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉลี่ยระหว่างวันท่ี 11-14 ต.ค. 64 อยู่ที่ 87,008.08 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อ สุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11-14 ต.ค. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 6,027.46 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 13 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 31 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.66 และ 1.48 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11-14 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุน ต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,297.11 ล้านบาท และหากนับ จากต้นปีจนถึงวันที่ 14 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 68,716.00 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 14 ต.ค. 64 เงินบาท ปิดท่ี 33.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าข้ึนร้อยละ 1.74 จากสัปดาห์ ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เม่ือเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลเยน และวอน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ใน ภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าข้ึนร้อยละ 1.77 จาก สัปดาห์ก่อน

Economic Indicators




Global Economic Indicators




 

ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259