สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์  ณ วันที่ 29 ต.ค. 64 ดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 64 หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -1.3 ต่อปี
2. ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ย. 64 คงที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี
3. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรม หดตัวที่ร้อยละ -7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
4. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย.64 หดตัวที่ร้อยละ -20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
6. เดือน ก.ย. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศจำนวน 12,237 คน ขยายตัวที่ร้อยละ 100.0 ต่อปี
7. มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 30.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
8. การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -6.1 ต่อปี
9. รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 14.8 ต่อปี
10. ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 64 ขาดดุล -8,782 ล้านบาท
11. หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 57.98 ของ GDP
12. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 ต่อปี
13. ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย. 64 หดตัวร้อยละ -6.0 ต่อปี
14. GDP สหรัฐ ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
15. GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 64 หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -1.3 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล

สถานการณ์ด้านการผลิตในเดือน ก.ย. 64 แม้จะยังหดตัวแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะใน กลุ่มอุตสาหกรรมที่สาคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กและ เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 13.6 และ 20.2 ต่อปี ตามลาดับ โดยมีปัจจัยสาคัญมาจากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประกอบ กับการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายกิจกรรม เศรษฐกิจได้มากขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. 64 นี้ จะเป็นปัจจัยหนุนสาคัญที่จะ ทาให้ดัชนี MPI ขยายตัวต่อไปในช่วงที่เหลือของปี


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม ภายในประเทศเดือน ก.ย. 64 คงที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 4.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ปรับผลทางฤดูกาล

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กในประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยสาคัญมาจากการจาหน่ายเหล็กที่ใช้ใน อุตสาหกรรมยังมีทิศทางขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 11.1 และ 111.2 ต่อปี ตามลาดับ ขณะที่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กลวด ยังคง หดตัวอย่างไรก็ดีในระยะถัดไปการทยอยผอ่นคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและนโยบายการเปิดประเทศเพื่อรับ นักท่องเที่ยวจะช่วยให้เศรษฐกิจภาพรวมฟื้นตัวได้มากขึ้น


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 64 มีจานวน 25,255 คัน หดตัวที่ร้อยละ -13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 58.1

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ส่งผลให้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่สถานการณ์ด้านการผลิตเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการได้รับ เซมิคอนดักเตอร์หรือชิปมากขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์น้าท่วมในหลายพื้นที่สร้างความเสียหายต่อ ทรัพย์สินของประชาชน และผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้กาลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวมากนัก

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย.64 มีจานวน 38,867 คัน หดตัวที่ร้อยละ -20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 38.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลตามปริมาณการจาหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -21.0 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศแม้จะยังหดตัวอยู่ แต่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.64 เป็นต้นไป ทำให้ ประชา ชนดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น และมีความมั่นใจในเรื่องรายได้ในอนาคตมากขึ้น ประกอบกับโรงงานผลิตรถยนต์ขายในประเทศได้มากขึ้นจากการได้รับชิปและชิ้นส่วนรถยนต์มากขึ้น และสถาบันการเงิน เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการอนุมัติลง ขณะที่ในระยะถัดไป การเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวใน วันที่ 1 พ.ย.64 เป็นต้นไป จะช่วยให้ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยผลักดันยอดขาย รถยนต์ในประเทศได้มากขึ้นในระยะถัดไป


ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาล

หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวใน หมวดพืชผลสาคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 7.0 และ 1.2 ตามลาดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -3.8 โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มไม้ผล และมันสาปะหลัง ขณะที่ สินค้าสาคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ กุ้งขาวแวนนาไม

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง ขจัดผลทางฤดูกาล

หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสาคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง หดตัวที่ร้อยละ -7.7 -7.3 และ -10.5 ตามลาดับ โดย สินค้าเกษตรสาคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสาปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ามัน และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก สุกร กลุ่มไม้ผล และกุ้งขาว แวนนาไม


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

เดือน ก.ย. 64 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ขณะที่ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเริ่มมี สัญญาณฟื้นตัวหลังจากผู้ติดเชื้อภายในประเทศเร่ิมมีแนวโน้มลดลง

เดือน ก.ย. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภท พิเศษ (Special Tourist Visa: STV) นักท่องเท่ียวกลุ่ม สิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) นักธุรกิจ และ กลุ่มสุขภาพเดินทางเข้าประเทศจานวน 12,237 คน ลดลง จากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากจากสถานการณ์ โควิด-19 ในประเทศไทย ท้ังน้ี ขยายตัวที่ร้อยละ 100 ต่อปี เน่ืองจากปัจจัยฐานต่า โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจาก สหรัฐฯ อิสราเอล เยอรมนี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ขณะที่ไตรมาส 3 มีจานวนนักท่องเที่ยว 45,398 จาก อานิสงค์ของโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อก

ขณะที่การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจานวน ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยในเดือน ก.ย. 64 อยู่ท่ี 2.2 ล้านคน หดตัวในอัตราชะลอจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -80.6 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าขยายตัว สูงท่ีร้อยละ 136.7 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ ไตรมาส 3 มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 4.0 ล้านคน กลับมา หดตัวสูงอีกคร้ังที่ร้อยละ -87.8 จากผลกระทบของการ แพร่ระบาดระลอกที่ 3 บวกกับปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้า

ท่ีมา : กระทรวงท่องเท่ียวและกีฬา

มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย. 64 มีมูลค่า 23,036 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ ร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่อเนื่องติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 7

สำหรับสินค้าสาคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (4.9%) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (22.6%) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ามัน (61.0%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (32.8%) แผงวงจรไฟฟ้า (16.3%) กลุ่มผลไม้ฯ อาทิ ลาไยสด (73.8%) และ มะม่วงสด (55.9%) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง (44.4%) ข้าว (33.8%) ยางพารา (83.6%) ผลไม้กระป๋องและ แปรรูป (29.3%) และอาหารสัตว์เลี้ยง (23.6%) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจาแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าที่สาคัญขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น สหภาพ ยุโรป และกลุ่มเอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดีย ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 20.2 23.3 13.2 12.6 และ 76.1 ต่อปี ตามลาดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 15.5 ต่อปี

มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ย. 64 มีมูลค่า 22,426 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังคงขยายตัวในอัตราสูงที่ ร้อยละ 30.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

จากสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มสาคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเชื้อเพลิง (43.9%) กลุ่มสินค้าทุน (16.1%) กลุ่มสินค้าวัตถุดิบฯ (44.6%) กลุ่มสินค้า อุปโภคบริโภค (22.2%) กลุ่มยานพาหนะ และอุปกรณ์ฯ (16.2%) ทั้งนี้ มูลค่าการนาเข้าช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 30.9 ต่อปี สาหรับดุลการค้า ในเดือน ก.ย. 64 ยังคง เกินดุลที่มูลค่า 609.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 2,016.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 302,723 ล้านบาท หดตัวร้อยละ - 6.1 ต่อปี ทำให้ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ 3,208,653 ล้านบาท ขยายตัวที่ ร้อยละ 1.3 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 91.9 โดย
(1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 279,773 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจา่ยสะสมที่รอ้ยละ91.7ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจา 211,730 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.04 ต่อปี คิดเป็น อัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 96.4 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 68,044 ล้านบาท หดตัว ร้อยละ -15.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่าย สะสมที่ร้อยละ 70.9
(2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 22,950 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -23.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ ร้อยละ 95.9 ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 64 จัดเก็บได้ 258,332 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.8 ต่อปี ทำให้ปีงบประมาณ 64 จัดเก็บได้ 2,369,925 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.7 ต่อปี
โดยรายได้ขยายตัวจากภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บที่ขยายตัวร้อยละ 21.8 ต่อปี ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัว ร้อยละ 11.4 ต่อปี และหน่วยงานอื่นขยายตั


ที่มา : กรมสรรพากร คำนวณโดย สศค.

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุล จานวน -8,782 ล้านบาท ทาให้ปีงบประมาณ 64 งบประมาณขาดดุล -767,188 ล้านบาท และเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 588,747 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ เกินดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสดก่อนกู้ ขาดดุล 28,223 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลมีการกเู้ งนิ 61,182 ล้านบาท ทาให้ ดุลเงินสุดหลังกู้ขาดดุล 89,405 ล้านบาท ทั้งนี้จานวนเงินคงคลังปลายงวด อยู่ที่ 588,747 ล้านบาท

หน้ีสาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 64 มีจานวนทั้งสิ้น 9,337,543 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57.98 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หน้ีสาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 178,029.83 ล้านบาท

ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้ จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับ ต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็น หนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 86.4 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็น ร้อยละ 98.2 ของยอดหนี้สาธารณะ


ที่มา : สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ ร้อยละ 8.6 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัว เล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนาเข้าที่ขยายตัวได้ดีจากปัจจัยฐานต่าจากปีก่อน และทิศทางการนาเข้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่าย ภายในประเทศ หดตัว เนื่องจากปัจจัยฐานสูงในปีก่อนที่มีปัจจัยพิเศษ จานวน 3,582 ล้านบาท ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลายลง อย่างไรก็ดี สถานการณ์ น้าท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้กาลังซื้อยังฟื้นตัวได้ไม่มากนัก

ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย. 64 หดตัวร้อยละ -6.0 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล

การจัดเก็บภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย. 64 แม้จะยังคงหดตัว แต่ปรับตัวดีขึ้น จากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น จากเดือนก่อนหน้า ภายหลังจากที่ภาครัฐได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดส่งผลให้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเปิด ดาเนินการได้มากขึ้น ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี ขณะที่ในระยะถัดไป ยังมีปัจจัยบวกจากการประกาศเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในวันที่ 1 พ.ย. 64 และการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยไปจนถึงสิ้นปี 65 จะช่วยให้ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกลับมาฟื้นตัวได้มากขึ้น


ที่มา : กรมสรรพากร คำนวณโดย สศค.

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ 

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาส ก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 เมื่อคานวณแบบ annualized rate และเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ เดลตา และการขาดแคลนวัตถุดิบในภาคการผลิต ซึ่งกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน
  • ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 64 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 14.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัด ผลทางฤดูกาลแล้ว) และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 63 ขณะที่เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ ร้อยละ -1.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยมียอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นในเขต ตะวันออกเฉียงเหนือ ทางใต้ และ ตะวันตก และหากพิจารณาเป็นรายปี ยอดขายบ้านใหม่เดือน ก.ย. 64 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (17-23 ต.ค. 64) อยู่ที่ระดับ 2.81 แสนราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดในสหรัฐฯ ในช่วงเดือน มี.ค. 63

ญี่ปุ่น

  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน หน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผู้บริโภคยังคงมีการระมัดระวังในการใช้จ่าย จากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • อัตราว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกาลังแรงงานรวม คงที่จากเดือน ก.ค. 64 และ ส.ค. 64

ยูโรโซน

  • ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ต.ค. 64 ทั้งนี้ ทางธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวว่า จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่าไว้ จนกว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนจะกลับเข้าสู่อัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปกาหนดไว้ โดยอยู่ที่ ร้อยละ 2.0 ในระยะปานกลาง

ฮ่องกง

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 16.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจาก ยอดขายเครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์สานักงานและอุปกรณ์ประมวลผลอัตโนมัติ เครื่องประดับทอง และเงิน และการผลิตแร่ เป็นหลัก
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 23.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 ขาดดุลที่ -42.4 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ -26.3 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

เวียดนาม

 

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลท่ี 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพ่ิมขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -19.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -28.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตของไฟฟ้าและแก๊ส เป็นสำคัญ
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ออสเตรเลีย

  • อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3/64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลง จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อยว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

สิงคโปร์

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากราคาอาหารเป็นสำคัญ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจาก ผลผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมเป็นสาคัญ
  • อัตราว่างงาน ไตรมาส 3 ปี 64 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจาก ไตรสมา สก ่อนห น้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของ ก า ลัง แรงงานรวม

มาเลเซีย

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

เกาหลีใต้

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นการขยายตัวที่ ร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นผลมาจากการบริโภค และ การลงทุนในประเทศที่หดตัว เนื่องจากการใช้มาตรการป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวดและผลกระทบ จากคลื่นความร้อน รวมถึงราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ เดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ เดือน พ.ย. 63
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 106.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ระดับ 103.8 จุด ซึ่งสูงที่สุนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 64 ประชาชนมองโลกในแง่ดีมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะ ทางเศรษฐกิจ
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 เกินดุลที่ 26.1 พันล้านริงกิตมาเลเซีย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 21.4 พันล้านริงกิตมาเลเซีย

ไต้หวัน

 

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.43 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.26 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิง อุปกรณ์ข้อมูลและการสื่อสาร และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสาคัญ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 64 อยู่ระดับ 74.26 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ระดับ 74.39 จุด

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น HSI (ฮ่องกง) CSI300 (เซี่ยงไฮ้) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,624.31 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉล่ีย ระหว่างวันท่ี 25-28 ต.ค. 64 อยู่ที่ 72,001.50 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อ สุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25-28 ต.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -3,818.22 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -14 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11 และ 51 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.62 และ 1.47 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25-28 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนัก ลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,049.79 ล้านบาท และ หากนับจากต้นปีจนถึงวันท่ี 28 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุน ต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 75,255.55 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 28 ต.ค. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.28 จากสัปดาห์ ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ริงกิต และวอน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น จากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ท้ังน้ี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลัก อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.29 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators

Global Economic Indicators

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259