สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ วันที่ 18 มี.ค. 65 ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.พ. 65 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล

โดยในเดือน ก.พ. 65 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และชะลอลงเล็กน้อยจาก เดือนก่อนหลังหักผลของฤดูกาล ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย หลังจำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาสูงขึ้นแม้อาการป่วยจะน้อยกว่าช่วงก่อนก็ตาม ประกอบกับต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างหลายชนิดปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอ การลงทุนออกไปก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐ

  • ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ เดือนก่อนหน้าหดตัวร้อยละ -5.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาลแล้ว) เป็นผลจากยอดสร้างบ้านใหม่ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในบ้านทุกประเภท
  • ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.พ. 65 ที่หดตัวร้อยละ -1.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 เป็นผลจากยอด ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยวที่หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูง ที่สุดในรอบ 8 เดือน
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราเงิน เฟ้อที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ยอดค้าปลีกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 0.25-0.50 ต่อปี ซึ่ง เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61 และส่งสัญญาณจะปรับลดขนาดงบดุล โดยอาจ เกิดขึ้นในการประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 3-4 พ.ค. 65
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (6-12 มี.ค. 65) อยู่ที่ระดับ 2.14 แสน ราย ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.29 แสนราย ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 10 สัปดาห์ สอดคล้องกับจานวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน ระยะเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (4 week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.23 แสนราย

จีน

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค.-ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ธ.ค. 64 ที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูง ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 64 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
  • ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค.-ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือน ธ.ค. 64 ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ เดือน ส.ค. 64 โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคที่แข็งแกร่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน
  • อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 5.3 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สอดคล้องกับเป้าหมายอัตราการว่างงานปี 65 ที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ที่ร้อยละ 5.5 ของ กำลังแรงงานรวม

ยูโรโซน

  • ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 65 หดตัวร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดย กลับมาหดตัวหลังจากท่ีขยายตัวเมื่อเดือน ธ.ค. 64 ที่ร้อยละ 2.0 และหดตัวมากกว่าที่ตลาด คาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -0.5

ออสเตรเลีย

  • อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ม.ค. 65 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกาลังแรงงานรวม เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลียได้มีการผ่อน คลายมาตรการควบคุมโควิด-19 มากขึ้น

ฮ่องกง

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผล จากการผลิตท่ีลดลงสาหรับโลหะ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และออปติคัล และ อุปกรณ์เครื่องจักร เป็นสาคัญ เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบ ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5 เดือน
  • ธนาคารกลางฮ่องกงมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.5 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี เพ่ือรักษาเสถียรภาพในระบบการเงิน และเป็นการปรับเพิ่มตามธนาคารกลางสหรัฐฯ เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกงผูกติดกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

อินเดีย

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.07 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.01 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 64 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.93

เกาหลีใต้ 

  • อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 3.6 ของกาลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับต่าสุดนับต้ังแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลมา ขณะที่อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นท่ีร้อยละ 1.037 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบรายปี โดยมีสาเหตุหลัก จากปัจจัยฐานต่าและการใช้จ่ายด้านการคลังของรัฐบาล เป็นสำคัญ

ไต้หวัน

  • ธนาคารกลางไต้หวันมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 1.375 ต่อปี จากร้อยละ 1.125 ต่อปี ในการประชุมรอบเดือน มี.ค. 65 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดกเบี้ยถึง 25 bps เป็น ครั้งแรกในรอบ 10 ปี

สิงคโปร์

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 28.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.พ. 65 เกินดุลที่ 8.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุล 5.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 4 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากไตรมาส ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ของกำลังแรงงานรวม

ฟิลิปปินส์

  • อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.6 ของกำลังแรงงานรวม

มาเลเซีย

  • ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายเชื้อเพลิงรถยนต์เป็นสำคัญ
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าท่ีร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.พ. 65 เกินดุลท่ี 19.8 พันล้านริงกิตมาเลเซีย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุล 18.6 พันล้านริงกิตมาเลเซีย

เกาหลีใต้

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 34.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.พ. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 36.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.พ. 65 เกินดุลที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุล 960 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี

สหราชอาณาจักร

  • อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ธ.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าท่ีสุดในรอบสองปี
  • ธนาคารกลางอังกฤษมีมติข้ึนอัตราดอกเบ้ียนโยบายเป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี จากร้อยละ 0.50 ต่อปี จากการประชุมในเดือน มี.ค. 65 โดยมีจุดประสงค์เพ่ือรับมือกับอัตราเงินเฟ้อท่ีเพิ่มสูงข้ึน

เครื่องชี้ตลาดเงิน อัตราแลกเปลี่ยน 

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) STI (สิงคโปร์) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันท่ี 17 มี.ค. 65 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,681.76 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉล่ียระหว่างวันท่ี 14-17 มี.ค. 65 อยู่ที่ 80,913.29 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็น ผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14-17 มี.ค. 65 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 13,382.56 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 7 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.15 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14-17 ม.ี ค. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาด พันธบัตรสุทธิ -8,460.76 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันท่ี 17 มี.ค. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 47,011.86 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 17 มี.ค. 65 เงินบาท ปิดที่ 33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.54 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอ่ืน ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุล เยน ยูโร ริงกิต วอน และหยวน ท่ีปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลดอลลาร์สิงคโปร์ปรับตัวแข็ง ค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า เม่ือเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าในระดับที่ใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators

Global Economic Indicators

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259