ปัจจัยแวดล้อมตลาดที่อยู่อาศัย
เศรษฐกิจไทยและทิศทางดอกเบี้ย ปี 2565
ณ ปัจจุบัน (สิงหาคม 2565) ทั่วโลกมีการติดเชื้อโควิดสะสมแล้วประมาณ 586 ล้านราย อัตราการ เสียชีวิตประมาณ 6.5 ล้านราย ส่วนในประเทศไทยมีการติดเชื้อสะสมแล้วประมาณ 4.6 ล้านราย อัตราการ เสียชีวิตประมาณ 31.800 ราย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสายพันธุ์ใหม่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในสัดส่วนที่ น้อยลง ประกอบกับความจําเป็นที่ต้องมีการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทําให้รัฐบาลทั่วโลกรวมทั้งรัฐบาลไทยผ่อนปรน มาตรการการเดินทางและให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเปิดให้บริการได้มากขึ้น จึงเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ ณ ต้นปี 2565 ว่า GDP จะเติบโตได้ ประมาณ 3.5-4.5% อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สภาพัฒน์ฯ ได้ปรับตัวเลขทั้งปีลงเหลือ 2.7-3.2% เป็นผลกระทบ ต่อเนื่องจากกรณีสงครามรัสเซียบุกยูเครน
ทั้งนี้ ในไตรมาส 2/2565 เศรษฐกิจขยายตัว 2.5% ต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2565 ที่ขยายตัว 2.3% และเทียบกับปี 2564 ทั้งปีซึ่ง GDP เติบโต 1.6% จากปี 2563 เป็นผลจากจากการที่รัฐบาลเริ่มนโยบายเปิด ประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และในหลายประเทศได้เปิดให้มีการเดินทางเสรีมากขึ้น การท่องเที่ยว การขนส่ง สินค้า การเกษตร การส่งออก ต่างปรับตัวดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ในภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจจึง ถือว่าได้พลิกฟื้นกลับมาบ้างจากการหดตัวมากถึง 6.1% ในปีก่อนหน้า (ใกล้เคียงแต่ยังไม่ถึงระดับเดิมของปี 2562)
แต่ในขณะเดียวกัน สงครามรัสเซียบุกยูเครนและผลต่อเนื่องทําให้เกิดภาวะราคาน้ํามันและพลังงาน เพิ่มสูง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจากภาวะสงคราม ทําให้สินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูง เกิดภาวะเงิน เฟ้อรุนแรงขึ้นทั่วโลก โดยสําหรับประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Leadline Inflation) ในเดือนกรกฎาคม 2565 เพิ่มขึ้น 7.61% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ปัจจัยหลักที่ทําให้เงินเฟ้อสูงขึ้นคือราคาพลังงานที่ เพิ่มขึ้น 33.82% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน (เทียบกับเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 39.97%) ก่อนหน้านี้ในเดือน มิถุนายน 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นสูง 7.66% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2564 เป็นสถิติสูงสุดในรอบ
13 ปี กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 ขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5.5-6.5% (จากก คาดการณ์เดิม 4-5%) ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ที่หักราคาอาหารสดและราคาพลังงานที่มีความผันผวนด้าน ราคาออก เพิ่มขึ้น 2.99% ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่สูงมากจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้น 2.51% เนื่องจากกระทรวง พาณิชย์มีการตรึงราคาสินค้า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐรวดเดียว 75 basis points ขึ้นสู่ระดับ 1.50-1.75% หลังจากปรากฏตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.6% ในเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นการเพิ่มขึ้น สูงสุดในรอบ 10 ปี และแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังไม่มีท่าที่จะยุติทําให้มีการคาดหมายว่าดอกเบี้ยนโยบายในสหรัฐ อาจปรับขึ้นไปได้ถึง 3.25-3.50% ณ สิ้นปี 2555
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของไทยในการประชุมเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 จากเดิมที่ 0.50% ขึ้นอีก 25 basis points และมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นอีก 25-50 basis points ภายในปีนี้ ดอกเบี้ยนโยบายที่จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจะกระทบดอกเบี้ยอ้างอิงทั้ง MOR,MLR, MRR และส่งผล ต่อไปยังดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่จะปรับเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ สถาบันการเงินต่างๆระบุว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ย เงินกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยไว้ที่ระดับเดิมจนถึงสิ้นปี 2565 (ก่อนหน้านี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากระดับ 1.25% เมื่อปลายปี 2562 จนเหลืออัตรา 0.50% เมื่อช่วงปลายปี 2563 และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวไว้ที่ 0.50% ตลอดมาจนถึงการปรับขึ้นในการประชุมครั้งล่าสุด) หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นปี 2564 หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับ 90.1% ของ GDP และ ครัวเรือนมีระดับการออมลดลงสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR) โดยเฉลี่ยของ ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับใกล้เคียง 30% มาตั้งแต่ปี 2562 และเพิ่มขึ้นเกิน 30% ภายหลังเกิดการระบาดของ COVID เนื่องจากครัวเรือนมีการกู้ยืมเพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป อย่างไรก็ตาม หากแยกประเภทหนี้โดยละเอียด พบว่า เป็นหนี้เพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ประมาณ 34.5% เป็นหนี้เพื่อซื้อยานยนต์ 12.4% เป็นหนี้เพื่อการประกอบธุรกิจ 18.8% เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล 27.8% และเป็นหนี้สินเชื่ออื่นๆ 6.4%
หนี้เพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นหนี้ที่มีหลักประกัน และหนี้เพื่อการประกอบธุรกิจเป็นหนี้ที่เกิดจาก ความพยายามหารายได้ในอนาคตของผู้กู้ (ซึ่งจะทําให้มีความสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น) หนี้ทั้งสอง ประเภทรวมกันคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 53.3% ดังนั้น ด้านนโยบายการเงินจึงควรสนับสนุนให้มีการให้ สินเชื่อทั้งสองประเภทนี้มากขึ้นและลดสัดส่วนการให้สินเชื่อประเภทอื่น จึงจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและ สังคม
สินเชื่อที่อยู่อาศัย ปี 2565
สินเชื่อที่อยู่อาศัยจากภาคธนาคารของรัฐยังเป็นจักรกลหลักในการขับเคลื่อนตลาดที่อยู่อาศัย เนื่องจากธนาคารของรัฐมีพันธกิจในการสนองนโยบายการสนับสนุนโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้ น้อยและปานกลาง เช่น โครงการบ้านล้านหลังผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งมีการออกโครงการระยะที่ 2 มาตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2564 และกําหนดสิ้นสุดระยะเวลาทํานิติกรรมในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ให้กู้ใน วงเงินสูงสุด 1,200,000 บาท ระยะเวลาผ่อนไม่น้อยกว่า 7 ปีและไม่เกิน 40 ปี
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 สถาบันการเงินทุกแห่งรวมกันได้ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยไปแล้ว ประมาณ 311,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% จากยอดรวมประมาณ 295,000 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกันของ ปี 2564 (ยอดรวม 2564 ทั้งปีประมาณ 612,000 ล้านบาท ปี 2563 ประมาณ 612,000 ล้านบาทเท่ากัน ปี 2562 ประมาณ 640,000 ล้านบาท และปี 2561 ประมาณ 702,000 ล้านบาทซึ่งเป็นสถิติสูงสุด)
โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ประมาณ 43% ของทั้งตลาดใน ครึ่งปีแรก รายงานว่าได้ปล่อยสินเชื่อไปแล้วประมาณ 135,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2564 และคาดว่าทั้งปี 2565 จะปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ถึง 280,000 ล้านบาท สูงที่สุดกว่าทุกปีที่ ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระดับราคาต่ําถึงปานกลางยังเป็นที่ต้องการของตลาดและมีการ ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ปัจจัยบวกอีกประการหนึ่งคือการขยายกรอบระดับราคาโครงการบ้านล้านหลัง เฟสที่ 2 จากเดิมไม่เกินราคา 1.2 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 1.5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรก 1.99% ต่อปี เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสคนซื้อที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น
สําหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส 2/2565 มีมูลค่าประมาณ 4,596,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากสิ้นไตรมาส 2/2564 และเทียบกับ ณ สิ้นปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 4,501,500 ล้านบาท และ ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งมียอดคงค้างประมาณ 4,255,000 ล้านบาท การที่ในครึ่งปีแรกปีนี้ อัตราความเติบโตของยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ (5.6%) สูงกว่าอัตราความ เติบโตของยอดสินเชื่อคงค้าง (5%) นับเป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งชี้ว่าตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยและตลาดที่อยู่ อาศัยได้กลับมามีความเติบโตที่ดี นโยบายภาครัฐเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ปี 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยอัตราส่วนสินเชื่อต่อ มูลค่าหลักประกัน (LTV) มีผลตั้งแต่ตุลาคม 2564 ไปจนถึงสิ้นปี 2565 โดยกําหนดให้ LTV Ratio เท่ากับ 100% สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อได้สูงสุดเต็มตามมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักประกันโดย ครอบคลุมทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง คณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ ออกประกาศเมื่อพฤศจิกายน 2564 ให้ เริ่มใช้บัญชีราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2566 โดยใน ระหว่างนี้ให้ใช้บัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ รอบบัญชี พ.ศ. 2559-2562 ไปพลางก่อน ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์เคยประกาศเลื่อนการใช้ราคาที่ดินประเมินใหม่จากเดิมต้นปี 2563 มาแล้วหลายครั้ง ทั้งในปี 2563 ปี 2564 และปี 2565 จนถึงต้นปี 2566 (หรือสิ้นปี 2565) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อธันวาคม 2560 เห็นชอบให้คงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามมาตรา 94 ไปอีก 2 ปีคือในปี 2565 และปี 2566 อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวมีผลเป็นเพียงการลดอัตราการจัดเก็บใน ระดับชั้นเดียว คือลดจากอัตราเพดานตามมาตรา 37 ลงมาแต่ไม่ได้ลดลงอีก 90% ตามมาตรา 55 คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อธันวาคม 2564 เห็นชอบการต่ออายุมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน และจดจํานอง จากเดิมครบกําหนดในสิ้นปี 2564 ไปอีกจนถึงสิ้นปี 2565 แต่ครั้งนี้ให้ครอบคลุมถึงบ้านมือสอง ด้วย โดยลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์จากล้านละ 20,000 บาทเหลือล้านละ 100 บาท และลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดจํานองที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันจากล้านละ 10,000 บาทเหลือล้านละ 100 บาทเช่นกันสําหรับการซื้อขายอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคาร พาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด โดยราคาซื้อขายและราคาประเมินทุน ทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจํานองไม่เกิน 3 ล้านบาท
โครงการขนส่งมวลชน ปี 2565
การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสําคัญซึ่งล่าช้า โดยเฉพาะสายชมพู สายสีเหลือง และ สายสีส้ม ทําให้เสียโอกาสต่อการปลุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเส้นทางดังกล่าวในปี 2565 แต่เมื่อมีการเปิด ให้บริการสายชมพู และสายสีเหลือง ได้ในปี 2566 ในขณะที่สายสีส้มมีความคืบหน้ามากขึ้น ย่อมทําให้การ เดินทางสะดวกขึ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางดังกล่าวมีโอกาสเติบโตเพิ่มได้อีกมีรายงานข่าวว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ กําหนดเริ่มการ ก่อสร้าง (หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ก่อสร้างมาตั้งแต่ 25 กรกฎาคม 2560 หรือเมื่อ 5 ปีมาแล้ว) โดยเริ่มที่บริเวณถนนสามเสน หน้าหอสมุดแห่งชาติ และคงจะใช้เวลาก่อสร้างไปอีกอย่างน้อย 3-4 ปี ราคา
ที่ดินที่เป็นของเอกชนตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายนี้จึงจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกตามพัฒนาการของการ ก่อสร้าง แม้จะมีการปรับเพิ่มมาแล้วในช่วงก่อนหน้านี้
ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565
ในปี 2565 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่จะเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯ-ปริมณฑลจํานวนมากขึ้นกว่าปี 2564 เนื่องจากปริมาณการเปิดขายใหม่ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างต่ํา โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่มียอดการ เปิดตัวทั้ง 2 ปีรวมกัน (2563 รวมกับ 2564) เพียงประมาณ 51,300 หน่วยจากปกติปีละประมาณ 60,000 หน่วย โดยคาดว่าจะมีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่มากกว่า 45,000-50,000 หน่วยในปี 2565 และมีบ้านจัดสรร เปิดขายใหม่ประมาณ 35,000-40,000 หน่วย โดยโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่ชั้นนอกของกรุงเทพฯ รวมทั้ง จังหวัดปริมณฑลยังคงได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮาส์ ตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวได้ชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหลายรายมียอดขายที่ ดีขึ้น และตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ภายใต้ปัจจัยที่เอื้ออํานวยมากขึ้น
ทั้งนี้ เฉพาะในไตรมาส 1/2565 ไตรมาสเดียว มีหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวมประมาณ 31,500 หน่วย เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นหน่วย คอนโดมิเนียมประมาณ 20,500 หน่วย และบ้านจัดสรรประมาณ 11,000 หน่วย และเมื่อรวมกับไตรมาส 2/2565 มีหน่วยเปิดขายรวมแล้วมากกว่า 50,000 หน่วย โดย 60% เป็นหน่วยคอนโดมิเนียม จํานวนหน่วย และมูลค่าโครงการรวมในรอบครึ่งปีแรกปี 2565 ใกล้เคียงกับยอดรวมของปี 2564 ทั้งปี (ซึ่งเป็นปีที่มียอดเปิด ขายใหม่ต่ำสุดในรอบเกินกว่าหนึ่งทศวรรษ ทั้งนี้ ก่อนเกิดการระบาดของ COVID มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ เฉลี่ยปีละประมาณ 60,000 หน่วย)
โดยเชิงเปรียบเทียบ ในปี 2563 มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ 29,800 หน่วย มีบ้านจัดสรรเปิดขาย ใหม่ประมาณ 36,500 หน่วย รวมกันเป็นประมาณ 66,300 หน่วย และในปี 2564 มีคอนโดมิเนียมเปิดขาย ใหม่ 21,500 หน่วย มีบ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ประมาณ 25,100 หน่วย รวมกันเป็นประมาณ 46,600 หน่วย สรุปว่าในปี 2564 จํานวนหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ลดลงประมาณ 30% โดยมีมูลค่าโครงการทั้งสิ้น ประมาณ 191,200 ล้านบาท ลดลง 43% จากปี 2563ยอดเปิดขายใหม่สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและ Sentiment ของตลาดที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น โดยรวม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการนั้นต้นทุนของในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยได้ปรับเพิ่มขึ้น มาแล้วประมาณ 15-20% ทั้งจากราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าขนส่ง ค่าที่ดิน และอัตราค่าจ้างแรงงานที่กําลังจะ เพิ่มขึ้นอีก
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้น แต่ระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคส่วน ใหญ่มีกําลังซื้อยังต่ําอยู่ตามศักยภาพ สําหรับห้องชุดคอนโดมิเนียมระดับราคาไม่เกิน 85,000 บาทต่อตาราง เมตรยังเป็นระดับราคาที่พอรับได้ มีอุปสงค์และอุปทานอยู่ค่อนข้างมาก ส่วนบ้านจัดสรรนั้นผู้ประกอบการให้ ความสนใจทําโครงการในรัศมีห่างจากสถานีรถไฟฟ้าประมาณ 2.3 กิโลเมตร โดยเฉพาะโครงการทาวน์เฮ้าส์ ราคา 3-5 ล้านบาท
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นจากกิจกรรมการค้าขายที่กลับมาเกือบเป็นปกติ ทั้งนี้ แม้อัตรา ดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มขึ้น แต่สถาบันการเงินยังพร้อมใจไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีนี้ (แต่คงค่อยๆปรับขึ้นในปีหน้า) เนื่องจากสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินยังค่อนข้างล้น เพียงแต่ภาครัฐ ต้องระมัดระวังในการสร้างปัจจัยที่ไม่เป็นคุณ เช่น การออกข่าวภาษีลาภลอยที่จะเรียกเก็บจากภาค อสังหาริมทรัพย์
การเมืองไทยกําลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อซึ่งอาจก่อให้เกิดการเลือกตั้งทั่วไปได้เร็วขึ้นก่อนอายุของ รัฐบาลซึ่งจะครบกําหนดในเดือนพฤษภาคมปี 2566 การเลือกตั้งทั่วไปโดยปกติจะทําให้เศรษฐกิจเดินสะพัด ได้มากขึ้น เนื่องจากการออกมาตรการสนับสนุนปากท้องของประชาชนเพื่อหาเสียงของรัฐบาลและการใช้จ่าย เพื่อการรณรงค์หาเสียงของทุกพรรคการเมือง มาตรการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เอื้ออํานวยต่อประชาชน เป็น คุณต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการจึงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และชะลอการออกกฎหมายหรือ มาตรการที่อาจทําให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยม