สศม. ขอรายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ วันที่ 2 ก.ย. 65
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล
ดัชนี MPIในเดือน ก.ค. 65 มีอุตสาหกรรมสาคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 23.4 12.7 และ 23.2 ต่อปี ตามลาดับ* ขณะที่อุตสาหกรรมสาคัญที่หดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น หดตัวร้อยละ -29.4 -13.3 และ -7.6 ต่อปี ตามลาดับ* (*เรียงตามสัดส่วนใน MPI)
ปริมาณการจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -8.6เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล
ปริมาณการจาหน่ายเหล็กในประเทศเดือน ก.ค. 65 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 โดยมีปัจจัยสาคัญมาจากการจาหน่ายเหล็กที่ใช้ในภาคการก่อสร้างที่หดตัว อาทิ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -33.99-30.62และ -28.59 ตามลาดับ เนื่องจาก ความกังวลจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ส่งผลทาให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 67.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 8.3
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่าในปีก่อนที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ส่งผลให้มี ผู้ติดเชื้อเป็นจานวนมาก และยังเป็นเดือนที่มีปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ต่าที่สุดของปี 64 ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ประกอบด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลาย การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกขึ้น ราคาน้ามันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลง รายได้ของเกษตรกรที่ปรับตัว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของค่ายรถต่าง ๆ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 65 มีจานวนทั้งสิ้น 10,246,199 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 60.75 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 41,894ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 84.86ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.33ของยอดหนี้สาธารณะ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 65ขาดดุลดุลที่ -4,067.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่ -1,873.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเดือน ก.ค. 65 ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ –3,666.86ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)ขาดดุลที่ -400.72ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7เดือนแรกของปี 65ขาดดุลรวม -14,903.32ล้านดอลลาร์สหรัฐ