แดน ไฟน์แมน, ศิริพร โสตถิกุล

 

ประเทศไทยมีข้อมูลประชากรศาสตร์ที่แตกต่างไปจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางอื่น ๆ  ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 7,600 เหรียญสหรัฐ ไม่มีประเทศใดนอกยุโรปตะวันออกที่อายุเฉลี่ยสูงกว่า 39 ปี มีรายได้ต่ำกว่า 28,000 เหรียญสหรัฐต่อหัว ประเทศที่พัฒนาแล้วในสหภาพยุโรปที่มีอายุเฉลี่ยใกล้เคียงกันนั้นมีรายได้สูงกว่าถึงสิบเท่า ประเทศไทยขณะนี้อยู่ในช่วงที่สองของภาวะเจริญพันธุ์ต่ำ (หมายถึงมีจำนวนมารดาน้อยลง) และจำนวนประชากรก็กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราการเกิดต่ำกว่า 700,000 คนต่อปี น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของตัวเลขอัตราการเกิดเมื่อ 50 ปีก่อน

การย้ายถิ่นจะช่วยให้การลดลงอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรดีขึ้นหรือไม่

ประชากรในวัยทำงานมีจำนวนสูงสุดในปี 2018 และจำนวนประชากรที่มีงานทำก็เริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2011 เนื่องจากประชากรสูงอายุมีมากขึ้น (รูปที่ 7) จำนวนประชากรโดยรวมลดลงตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 การวิเคราะห์ประเทศในเอเชียที่มีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่า อัตราการเกิดของประชากรจะไม่ฟื้นตัวในเร็ว ๆ นี้ อีกทั้งยังไม่มีการริเริ่มส่งเสริมการมีบุตร เช่น การจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

รูปที่ 7: อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานที่ลดลง

Chart, line chart, histogram

Description automatically generated

แหล่งข้อมูล: กรมการปกครอง, เครดิต สวิส

การอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดทำให้มีการปิดพรมแดนส่วนใหญ่ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์หลังการเลือกตั้งในปี 2554 ทำให้แรงงานเมียนมาร์ที่อพยพเข้าไทยมีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเมียนมาร์และลาวจทำให้มีการย้ายถิ่นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง (รูปที่ 8) แม้ว่าจะยังไม่มีแผนนำเข้า

แรงงานระดับล่าง แต่การปฏิรูปเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีทักษะนั้นกำลังดำเนินการอย่างเร่งรีบ ในเชิงทฤษฎีแล้ว ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตรของพื้นที่ทำกินนั้นยังต่ำที่สุดในเอเชียแปซิฟิกตามข้อมูลของ MSCI และการต่อต้านการย้ายถิ่นฐานนั้นยังถือว่าต่ำเทียบกับมาตรฐานโลก และประเทศเพื่อนบ้านก็มีรายได้ต่ำกว่ามาก ดังนั้นกลุ่มแรงงานที่มีศักยภาพในการอพยพจึงมีจำนวนมาก ประกอบกับวัฒนธรรมของไทยและเพื่อนบ้านมีความคล้ายคลึงกัน ผู้อพยพจากประเทศเหล่านี้จึงสามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างรวดเร็วจากภาพยนตร์ รายการทีวี และเพลงไทยที่ได้รับความนิยมในประเทศเหล่านั้น 

รูปที่ 8: อัตราการย้ายถิ่นฐานโดยรวมที่ช้าลง แต่ก็สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกครั้ง

Chart, histogram

Description automatically generated

แหล่งข้อมูล: UN Population Statistics, Credit Suisse

ทุนมนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แต่ยังต้องมีการดำเนินการมากกว่านี้

ระบบการศึกษาของไทยได้ขยายวงกว้างขึ้น แต่ก็มีจุดอ่อนที่น่าเป็นห่วง มีการเพิ่มจำนวนปีการศึกษาในโรงเรียนโดยเฉลี่ยอย่างต่อเนื่อง แต่การขยายอย่างรวดเร็วก็ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยลดลง และไม่สามารถลดช่องว่างด้านทักษะให้แคบลงได้ (รูปที่ 9) ปัจจัยทางสังคมที่การเกิดของเด็กราวหนึ่งในสี่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการวางแผน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นที่มีความสามารถจำกัดในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และนโยบายทางสังคมกำลังพยายามหาทางลดการเกิดที่ไม่ได้วางแผนไว้เหล่านี้

รูปที่ 9: จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

Chart, bar chart

Description automatically generated

แหล่งข้อมูล: Education Council, National Statistical Office, Credit Suisse

อีกทั้งระบบการศึกษาไทยยังผลิตบัณฑิตด้านธุรกิจออกมามากเกินไป ในขณะที่ผลิตบุคคลากรด้านทางวิชาชีพน้อยเกินไป

เพราะเหตุนี้ จึงส่งผลให้บัณฑิตจบใหม่มีอัตราการว่างงานสูงกว่าเยาวชนที่ไม่มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เยาวชนควรจะเรียนสายวิชาชีพระบบสองปีมากกว่าการเรียนมหาวิทยาลัยระบบสี่ปี งบประมาณด้านการศึกษาของไทยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค (รูปที่ 10) และการกระจายอย่างไม่ทั่วถึงของระบบการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไม่พ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

รูปที่ 10: งบประมาณทางการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็น % ของ GDP

งบประมาณด้านการศึกษาคิดเป็น % ของ GDPA black and white image of a person's face

Description automatically generated with low confidence

แหล่งข้อมูล: Refinitiv, Credit Suisse

 

 

 

จุดเด่นและจุดด้อยของระบบการเกษียณอายุ

ในด้านจุดด้อย ระบบบำเหน็จบำนาญโดยทั่วไปดูเหมือนจะไม่เพียงพอ  ข้าราชการได้รับทั้งเงินบำนาญและเงินสมทบซึ่งเพียงพอต่อการดำรงชีพหลังเกษียณ การอนุญาตให้เกษียณที่อายุ 55 ปีนั้นเป็นการให้ที่มากเกินไป ในขณะที่ภาคเอกชนนั้นไม่ได้รับการคุ้มครองที่ดีพอ พนักงานในบริษัทขนาดใหญ่ต้องเข้าร่วมในแผนสวัสดิการที่กำหนดไว้ โดยมีเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลที่แตกต่างกันไป และบริษัทก็สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับการยกเว้นภาษีเพิ่มเติมได้ ในทางกลับกัน คนงานนอกระบบบริษัทขนาดใหญ่ต้องเผชิญกับสภาวะที่ยากลำบากกว่ามาก ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาทต่อเดือนจากรัฐบาล ซึ่งน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนเงินสูงสุดสำหรับกลุ่มผู้ยากจนจะได้รับ แผนการออมสำหรับแรงงานนอกระบบที่เสนอเงินสมทบจากรัฐบาลยังไม่สามารถดึงดูดแรงงานจำนวนมากให้เข้าร่วมโครงการได้

ในด้านจุดเด่น ประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “ที่จำเป็น” และมีประสิทธิภาพ โดยคนไทยสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลเกือบทุกโรคได้อย่างเต็มรูปแบบในโรงพยาบาลของรัฐซึ่งแม้ว่าจะต้องรอนานและขาดการรักษาที่ล้ำสมัย แต่ทุกคนก็สามารถเข้าถึงการดูแลขั้นพื้นฐานที่มีราคาเข้าถึงได้ ในขณะที่ข้าราชการมีระบบที่ซับซ้อนมากกว่า เช่นเดียวกับพนักงานในระบบ อย่างไรก็ตาม ในส่วนคนไทยที่มีรายได้สูงมักจะเลือกใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชนที่มีคุณภาพสูง

ผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพของประเทศไทยนั้นสูงมาก โดยงบประมาณด้านสุขภาพเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP นั้นอยู่ในระดับต่ำที่สุดในภูมิภาค ในขณะที่อายุขัยเฉลี่ยและตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านสุขภาพอื่น ๆ ยังมีความแข็งแกร่ง (รูปที่ 11) นี้ การเสียชีวิตในอัตราที่ต่ำระหว่างการระบาดของโควิด-19 ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขในประเทศ นอกจากนี้ ระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยยังถือเป็นแบบอย่างในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกที่ใช้ไทยเป็นตัวอย่างในตำราการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศกำลังพัฒนาด้วย

รูปที่ 11: ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ

Chart, line chart

Description automatically generated