เดอะวิสดอมกสิกรไทย เจาะลึก 4 กลยุทธ์บริหารจัดการภาษีมรดกยุคใหม่ ต่อยอดการลงทุน ส่งต่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืน
เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดสัมมนา ‘THE WISDOM Wealth Decoded’ ครั้งที่ 4 เจาะลึกการบริหารจัดการด้านภาษียุคใหม่ โดย อาจารย์ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ Partner: One Law Office ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการสินทรัพย์และวางแผนภาษี และนางสาวอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านบริหารจัดการภาษีมรดกและการส่งต่อความมั่งคั่งจึงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจากการปรับเปลี่ยนทั้งมาตรการ ข้อกำหนด และกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเจาะลึก 4 กลยุทธ์ ‘Exit Strategy’ ในการบริหารจัดการภาษีมรดกและวางแผนส่งต่อมรดก ได้แก่ 1) บริษัทโฮลดิ้ง 2) ประกันชีวิต 3) พินัยกรรม และ 4) ธรรมนูญครอบครัว เพื่อให้การวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับคนรุ่นต่อไป
รับมือข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินระหว่างประเทศ - CRS ตรวจสอบภาษีข้ามพรมแดน
อาจารย์ชินภัทร กล่าวว่า ประเทศไทยได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-Operation and Development: OECD) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีข้ามพรมแดน โดยมีสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดกรอบการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติของ OECD ที่เรียกว่า Common Reporting Standard (CRS) กับประเทศคู่สัญญาตามความตกลงระหว่างประเทศ
กรมสรรพากรในแต่ละประเทศสมาชิกคู่สัญญากว่า 150 ประเทศจะมีการส่งข้อมูลทางการเงินของผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศไทย (Thai Tax Resident) ให้กับประเทศคู่สัญญา ขณะเดียวกัน คนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ กรมสรรพากรของประเทศนั้น ๆ ก็จะส่งข้อมูลทางการเงินอัตโนมัติกลับมาให้ประเทศไทย เช่น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มี “ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย” มีการออกไปลงทุนหรือตั้งบริษัทในต่างประเทศ และไม่ได้มีการนำรายได้กลับเข้ามาในประเทศ กลุ่มนี้อาจจะได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องวางแผนภาษีรองรับเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ยกตัวอย่างสิงคโปร์ ที่มีกฎหมายส่งเสริมให้จัดตั้ง Singapore Variable Capital Company (VCC) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกแบบเพื่อใช้ในธุรกิจการจัดการ Wealth ในสิงคโปร์ ซึ่ง VCC ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ CRS ในการรายงานข้อมูลทางการเงินของนักลงทุนต่างชาติให้กับหน่วยงานภาษีของสิงคโปร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาษีของประเทศต่างๆ
4 กลยุทธ์ ‘Exit Strategy’ วางแผนภาษีมรดก ส่งต่อความมั่งคั่งอย่างมั่นคง
อาจารย์ชินภัทร ให้คำแนะนำว่า การวางแผนภาษีมรดกเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเงินและการสืบทอดทรัพย์สิน เจ้าของทรัพย์สินและผู้ได้รับมรดกสามารถวางแผนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรัพย์สินมรดก แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร 2) หุ้นหรือหลักทรัพย์ รวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัล 3) เงินฝากในสถาบันการเงิน และ 4) ยานพาหนะที่จดทะเบียน ส่วนสินทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำประกันชีวิต ทองคำแท่ง ธนบัตร เครื่องเพชร ของสะสมต่างๆ เช่น ภาพเขียน นาฬิกา
การบริหารจัดการภาษีมรดกพร้อมส่งต่อความมั่งคั่ง สามารถทำได้ใน 4 รูปแบบ ซึ่งสามารถผสมผสานควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อให้แผนตอบโจทย์ความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับประโยชน์ โดย รูปแบบที่ 1 คือ การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสำหรับธุรกิจครอบครัว ด้วยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทในเครือ หรือถือครองทรัพย์สิน โดยมีรายได้คือเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ โดยรายได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเงินจำนวนนี้ได้มีการเสียภาษีมาแล้วในนามของบริษัทในเครือ ถ้ามีการเก็บภาษีอีกรอบ จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน
นางสาวอุมาพันธุ์ กล่าวต่อถึงการส่งต่อความมั่งคั่งรูปแบบที่ 2 คือ การทำประกันชีวิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนมรดก และที่สำคัญคือ การบริหารความเสี่ยง โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่ต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้ ซึ่งสินไหมมรณกรรมที่ได้จากประกันชีวิตจะได้รับยกเว้นภาษี นอกจากนี้ผู้รับประโยชน์ยังได้รับเงินอย่างรวดเร็วเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เพราะเงินประกันไม่ถูกรวมเข้ากับกองมรดก จึงสามารถจ่ายให้แก่ผู้รับมรดกได้เลยโดยไม่ต้องรอการจัดการมรดก
สิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มองข้ามคือ การใช้ประกันชีวิตในการวางแผนธุรกิจ ด้วยการทำประกันชีวิตให้กับผู้บริหารหลักของบริษัท โดยค่าเบี้ยประกันสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
คำแนะนำในการใช้ประกันชีวิตเพื่อบริหารจัดการภาษี ซึ่งสามารถทำได้ 4 รูปแบบ คือ
1) 11.การส่งต่อทรัพย์สินส่วนเกินที่ต้องเสียภาษี คือ การแบ่งเงินก้อนส่วนที่ต้องเสียภาษีมาอยู่ในรูปกรมธรรม์ประกันชีวิต และส่วนที่ไม่เกิน สามารถนำลงทุนอย่างอื่นได้ อาทิ การใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีสูงสุด เช่น มีทรัพย์สิน 200 ล้านบาท ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 5% สำหรับทรัพย์มรดก 100 ล้านบาท และอีก 100 ล้านบาท ให้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยมีทุนประกัน 100 ล้านบาท ถือว่าได้ให้มรดกกับผู้รับประโยชน์ 100 ล้านบาทแล้ว เพราะสินไหมจากการทำประกันไม่จัดเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกมีไว้ก่อนตาย จึงไม่ต้องนำไปรวมกับมรดก และไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
2.การทำทุนประกันชีวิตเพื่อชำระภาษีมรดก ภาษีที่ดินในอนาคต ซึ่งเหมาะกับคนที่มีที่ดินเยอะๆ
3) 3.การแบ่งมรดกเท่าเทียม คือ สร้างมรดกให้ทายาทคนที่ไม่ได้รับกิจการ โดยใช้ประกันสร้างมรดกชดเชยให้คนที่ได้สัดส่วนน้อยหรือไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของ
4) 4.สร้างมรดกก้อนใหญ่ ใช้เงินน้อย คือ การใช้ประกันสร้างมรดกให้บุตรหลานแต่ละคนเท่ากัน ด้วยการจ่ายค่าเบี้ยประกันซึ่งมีวงเงินไม่สูง และเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้จ่ายในชีวิต
สำหรับรูปแบบที่ 3 คือ การทำพินัยกรรม เพื่อจัดสรรปันส่วนทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตให้แก่บุคคลที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและต้องทำอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง การทำพินัยกรรมจะมีภาษีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือภาษีการรับมรดก ตามกฎหมายมรดกของประเทศไทยพินัยกรรมมีอยู่ 5 แบบ คือ 1) พินัยกรรมแบบธรรมดา 2) พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ 3) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง และ 4) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ 5) พินัยกรรมทำด้วยวาจา (แต่ไม่สามารถใช้ได้ในความเป็นจริงเพราะไม่มีสงคราม) ซึ่งสามารถทำพินัยกรรมให้กับใครก็ได้ที่เป็น “บุคคล” ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรรมในการรับมรดก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมเมื่อเวลาผ่านไป
รูปแบบที่ 4 คือ ธรรมนูญครอบครัว ควรต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำเพื่ออะไร และทำเพื่อใคร เพราะธรรมนูญครอบครัว เป็นการบริหารทรัพย์สินของกงสี ซึ่งเป็นเอกสารของครอบครัวที่ต้องวางหลักการ กฎ กติกา ของสมาชิกในครอบครัวให้ชัดเจน โดยธรรมนูญครอบครัวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ต้อง “เชื่อมโยง” กฎหมาย และ “สัมพันธ์” ภาษีให้ใช้งานได้จริง และสามารถกำหนดกระบวนการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัว และส่งผลทำให้ธุรกิจของครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคง
ทั้ง 4 กลุยทธ์นี้จึงเป็น Exit Plan ของการวางแผนบริหารจัดการมรดกและภาษีมรดกให้ได้ประโยชน์สูงสุดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อส่งต่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
สำหรับแบบประกันที่จะเป็นตัวช่วยในการวางแผนส่งมอบมรดก ตามรูปแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น เดอะวิส ดอม กสิกรไทย ขอแนะนำ ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ ที่จะช่วยส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่น...สู่รุ่น อย่างไม่สะดุด ช่วยให้คุณวางใจได้ว่า สามารถส่งมอบหลักประกันครอบครัวสู่คนที่รักอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนความมั่งคั่ง และคลายกังวลเรื่องภาษีมรดกที่อาจเกิดขึ้น ตอบโจทย์เรื่องการส่งต่อมรดกได้เป็นอย่างดี เพราะทุนประกันสูง เริ่มต้นตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป และสามารถทำทุนประกันได้สูงสุดถึง 500 ล้านบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ
· ให้ความคุ้มครองชีวิตสูง คุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่กรมธรรม์อนุมัติ ยาวนานถึงอายุ 99 ปี
· จ่ายเบี้ยสั้นหรือยาว เลือกเองได้ เลือกชำระเบี้ยครั้งเดียว 5 ปี 10 ปี หรือ จ่ายถึงครบอายุ 99 ปี
· ส่งมอบหลักประกันให้ครอบครัว ได้ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการ
· ช่วยบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินไหมมรณกรรมไม่ถือเป็นมรดก ไม่มีภาระทางภาษี
· ค่าเบี้ยลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
การส่งต่อความมั่งคั่งไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานหรือคนที่เรารักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรวางแผน เพื่อให้มั่นใจว่าหากเราไม่อยู่แล้ว คนที่เรารักจะสานต่อสิ่งที่เราได้สร้างไว้ให้หรือได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราตั้งใจมอบไว้ให้กับเขาอย่างแท้จริง
คำเตือน
- -ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- -เป็นกรณีกรมธรรม์ไม่ได้ระบุผู้รับประโยชน์หรือระบุไว้แต่เสียชีวิตก่อนหรือพร้อมกับผู้เอาประกันภัย ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะตกแก่กองมรดกของผู้เอาประกันภัย