งานสัมมนา Pathways to a Sustainable Urban Future เส้นทางสู่อนาคตเมืองที่ยั่งยืน เริ่มที่ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ⭐ ความยั่งยืน คงเป็นการที่เราไม่เอาทรัพยากรในอนาคตมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้มีความหมาย แค่เพียงเรื่อวก๊าซเรือนกระจก แต่ยังมีหมายถึงในทุกๆ ด้าน  งบประมาณ โอกาส ในหลายๆ มิติ  หากเรานำมาใช้โดยไม่คิดถึงอนาคต สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเหลือ สำหรับคนรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นไปได้ว่า รุ่นเรา จะตายเพราะแก่ แต่เด็กรุ่นใหม่ๆจะตายเพราะ climate Change


✈️ กรุงเทพฯ มี 2 ตัวเลข คือ เบอร์ 1 กับเบอร์ 98 (2023) เบอร์ 1 คือ เมืองที่มีคนมาเที่ยวมากที่สุดในโลก ปีที่แล้ว 23 ล้านคน ส่วนเบอร์ 98 คือเราเป็นเมืองที่ไม่ค่อยน่าอยู่ จาก 140 ประเทศ สิงคโปร์อันดับที่ 33 ฮ่องกงอันดับที่ 94  แล้วความน่าอยู่กับความยั่งยืนเกี่ยวข้องกัน อย่างไร กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน โดยกรุงเทพมหานคร จึงมี 9 นโยบายเพื่อเป็นเมืองน่าอยู่ ที่สอดคล้องกับ ESG ของ UN ทั้ง 17 ด้าน ซึ่งครอบคลุม 17 ด้านของ ESG ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ความน่าอยู่กับความยั่งยืนเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าเมืองไม่น่าอยู่ ก็คงไม่ยั่งยืน จาก 9 นโยบายแตกเป็น 226 แผน เป็น Action Plan  หัวใจของความยั่งยืนคือ Action Plan นี่แหละ เพราะ Action Plan ย่อยๆจะนำไปสู่เป้าหมายในท้ายที่สุดได้ เราต้องทำแพลนให้มันละเอียด เพื่อขยับจากอันดับที่ 98 ขึ้นไปสู่อันดับที่ 50 ให้ได้ ความน่าอยู่ของเมืองไม่ใช่แค่ Mega Project เท่านั้น แต่ปัญหาของเมืองที่ผ่านมา คือ เรามัวแต่ไปโฟกัสที่เมกะโปรเจคพันล้านหมื่นล้าน จนลืมโครงการเล็กๆ ที่ประชาชนสัมผัสได้


ดังนั้น เมืองน่าอยู่ คือ ความสอดคล้องกับความยั่งยืน ปัจจัยของเมือง ปัญหาของเมือง ต้องมองทั้ง โครงการย่อยๆ ด้วย ไม่ใช่มองแต่ mega project ตัวอย่าง ระยะทางรถไฟฟ้า อีกนิดเดียวก็ 400 กิโลเมตรแล้ว แต่ถามว่ายั่งยืนไหม? คงต้องบอกว่า ยังไม่ยั่งยืน ถ้าหากฟุตบาท ทางเท้ายังเดินไม่ได้ ยังต้องรอคิวมอเตอร์ไซค์วิน 15 นาที สุดท้ายคนก็ใช้รถยนต์ส่วนตัวเหมือนเดิม กทม. จึงเริ่ม ปรับปรุงทางเท้า ฟุตบาท ด้วยการทาสี ให้เป็นทางสำหรับคนเดิม รวมถึง ฝาท่อ พื้นทางเดิน เพราะมองว่า โครงการขนาดเล็กเหล่านี้ ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่า Mega Project ขนาดใหญ่ ในปัจจุบันทางกทม. จัดทำทางจักรยาน ทำ Bike Sharing  ซึ่งนี่ก็คือ ความ sustainable ที่ไม่ได้ลงทุนมาก การทำ Cover Walkway กันแดดกันฝน ให้คนเดินได้ ตัวอย่างเช่นในสิงคโปร์ ทำ EV ทำรถ shutter bus วิ่ง มี move me เรือต่างๆ และนี่คือโครงการเล็กๆ ที่เกิดขึ้น 

อย่างสวนเบญจกิตติ มีพื้นที่มากถึง 300 ไร่ แต่คนส่วนใหญ่มาไม่ถึง เพราะอยู่ไกลบ้าน จะยั่งยืนได้ มิใช่เพียงมีสวนใหญ่ แต่หากต้องมีสวนเล็กๆ ใกล้บ้านในระยะเดินเพียง 15 นาที เป้าหมายคือมี 500 สวน ทั่วกรุงเทพฯ ตอนนี้ทำไปแล้ว 120 สวน แบบนี้จึงมีประโยชน์ ผู้ใหญ่ คนสูงอายุ เดินจากบ้านมาได้ออกกำลังกาย ได้ เด็กมีสนามให้วิ่งเล่น แทนที่จะมาสวนใหญ่ๆ วันธรรมดา ก็อยู่สวนใกล้บ้าน ที่สามารถไปได้ทุกวัน 

แม้กระทั่งระบบการจัดเก็บขยะ ใช้วิธีการแยกขยะแทนการเทรวม การใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าไปรับขยะ ปีที่แล้วลดค่าเก็บขยะไป 141 ล้านบาท เพียงการแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล หรือ ขยะเศษอาหารแยกได้ 7 ตันต่อวันเพื่อนำไปทำปุ๋ย 

ด้านน้ำท่วม กรุงเทพฯ มีอุโมงค์ที่ลงทุนไปหลายหมื่นล้านบาท อุโมงค์ในกรุงเทพฯมีอยู่ประมาณ 20 กิโลเมตร แต่ท่อระบายน้ำเรามี 6,000 กิโลเมตร แต่หากอุโมงค์ใหญ่ดี แต่ถ้าท่อระบายน้ำหน้าบ้านตัน ก็ไม่ทำงาน ที่ผ่านมากทม. ลอกท่อไป 4,000 กม. ปรับปรุงจุดเสี่ยงไป 737 จุด .

เมื่อคืนวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมากรุงเทพฯ ฝนตกหนัก แตะ 50 มิลลิเมตร ถือว่าปริมาณน้ำเยอะมาก แต่น้ำไม่ท่วม ไม่ใช่แค่เพียงอุโมงค์ดี แต่ระบบท่อระบายน้ำดี ทำให้น้ำระบายเร็วขึ้น สิ่งนี้ไม่ได้ทำยาก แต่ต้องใส่ใจ

ความยั่งยืนต้องมีเป้าหมายที่ชัด และต้องเป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรา ต้องมีรายละเอียดที่ชัด แล้วเขาจะทำได้ อันนี้จึงเป็นความยั่งยืนที่มาจากแผนเล็กแผนน้อย .

ความยั่งยืนต้องมาจากทั้ง 4 เกลียว

 1. คือภาครัฐ ต้องเป็นเกลียวหลักเพราะคือผู้ออกกฎหมาย และถืองบประมาณ 

 2. คือภาคการศึกษาก็สำคัญ 

 3. คือภาคเอกชน ที่ต้องมาร่วมกัน

 4. คือภาคประชาชน 

ปัจจุบันผู้ว่าชัชชาติ เปรียบเสมือนท่านทูต เพราะคอยเชื่อมโยงคนเก่งๆ จากนอกประเทศ ขอเขามาช่วยกัน ผ่านโครงการและความร่วมมือต่างๆ 

อย่างการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้นภายในระยะเวลา 4 ปีที่เป็นผู้ว่าราชการ กรุงเทพฯ คนก็ไม่เชื่อว่าจะทำได้หรือ? จึงเกิดการร้องขอกับสถานทูต กับภาคเอกชน ไทยเบฟก็ช่วยปลูก ปัจจุบันระยะเวลา 2 ปี 4 เดือนที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ สามารถปลูกต้นไม้ไปได้แล้ว เกือบ 1 ล้าน 2 แสนต้น โดยที่ต้นไม้แต่ละต้น มีแอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อ โดยความร่วมมือจากภาคเอกชนร่วมกันปลูก

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจคือ Bangkok Food Bank คนมักคิดว่ากรุงเทพฯ คือเมืองที่เจริญไม่ลำบาก แต่มีคนขอทานเยอะมาก มีคนไข้ติดเตียงตามชุมชนต่างๆ โครงการนี้เป็นเหมือนซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ภาคเอกชนบริจาคมา แล้วให้เป็นแต้มเดือนละ 300 แต้ม สำหรับกลุ่มเปราะบาง สามารถมาเลือกซื้อสินค้าที่ตัวเองต้องการได้ ในสินค้าอุปโภคบริโภค อย่างมีศักดิ์ศรี ตอนนี้ทางกรุงเทพฯ เปิดโครงการนี้ได้ 30 เขตแล้ว ซึ่งของที่นำมาจำหน่ายไม่ใช่ของเสีย เป็นของที่ทานได้ จากอาหารที่ยังไม่หมดอายุแต่ขายไม่ได้ อันนี้เองก็เกิดจากความร่วมมือ

รวมถึงศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ จากความร่วมมือของเพราะเอกชน มีหลากหลายกิจกรรม



✨ ด้าน นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 

สำหรับมุมมองด้านสาธารณสุขไทย ที่มีต่อความยั่งยืน
ประการที่ 1 ความยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้มาจากการปรับตัว และสร้างนวัตกรรม 

ประการที่ 2 “เมือง” คนมักจะนึกถึง ตึก บ้านช่อง ถนน ทางรถไฟฟ้า แต่จริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญของเมืองก็คือ “คน” 
เมืองต้องประกอบด้วย พื้นที่ คน สิ่งแวดล้อมสิ่งหนึ่งที่ทำให้เมืองจะยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืนนั้นก็คือ “คน” แล้วคนแบบไหนที่จะทำให้เมืองยังยืน?
นั่นก็คือ คนที่สุขภาพดี ทัศนคติที่ดี มีการดำรงชีวิตที่เอื้อให้เมืองยั่งยืน ถึงแม้เราจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน แต่หากคนที่อยู่ไม่ทำให้มันยั่งยืนมันก็ไม่ยั่งยืน 

ดังนั้นในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มองเรื่อง “คน” เป็นหัวใจสำคัญ บางคนมักจะคิดว่ากระทรวงสาธารณสุขจะดูแต่สุขภาพ ร่างกาย อันนี้แน่นอน เป็นประการที่ 1 คงต้องดูเรื่องสุขภาพ 

 “คนยั่งยืน” นิยามคืออะไร

ประการที่ 1 คือ การมีชีวิตยืนยาว ดังนั้นระบบสุขภาพที่ผ่านมาจึงพัฒนาเพื่อให้คนมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ที่ผ่านมาคนอายุ 60 มักเกษียณอายุ แต่ปัจจุบันคนอายุ 60 ยังแข็งแรง ด้วยระบบสาธารณสุขที่ทำให้คนมีชีวิตที่ยาวขึ้น แต่เมืองขนาดใหญ่มักพบว่า ชีวิต มักมีหลายๆปัจจัย อย่างปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในปัจจุบัน อย่างของเดิม คนมักจะเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ อาทิ วัณโรค อหิวาตกโรค แต่ปัจจุบันการเสียชีวิตโดยเฉพาะคนไทย มาจากปัจจัยหลัก 3 อย่างคือ
1. อุบัติเหตุ

2. คือโรคมะเร็ง

3. คือโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคไม่ติดต่อ
พบว่าสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของคน โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ ทั้งในด้านของอากาศ น้ำ มลพิษทางด้านจิตใจ ความเครียด 

ทำอย่างไรให้เมืองมีสิ่งแวดล้อมที่ดี  จึงเป็นหน้าที่ของทั้งภาครัฐและเอกชน

ประการที่ 2 คือ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่ดี คนก็จะมีสุขภาพดี คนที่สุขภาพดีก็จะทำให้เกิดเมืองที่ยั่งยืนต่อไป และ ชีวิตคนเราจะมีสุขภาพดี ก็จากตัวของเรามีพฤติกรรมที่ดี 
ต่อมาคือ 4อ ได้แก่ อาหาร - อารมณ์  - อากาศ - ออกกำลังกาย ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ซื้ออาหารทาน มากกว่าทำอาหารเอง ทั้ง Street food  ทั้ง Fast food  ที่นี้ทำอย่างไรให้อาหารเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดหวานมันเค็ม พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะความอร่อย ทำอย่างไรให้คนเมืองมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอร่อย 

ทำอย่างไร? ให้เกิดการส่งเสริมให้คนออกกำลังกายมากขึ้น อาทิ การลดภาษีสำหรับคนออกกำลังกาย มีอะไรที่ช่วยกระตุ้นให้คนอย่าออกกำลังกายแล้วเป็นส่วนลดภาษี 

กระทรวงสาธารณสุขกำลังคิดถึงกฎหมาย ที่ส่งเสริมให้คนมีสุขภาพดีจากการออกกำลังกาย แล้วมีค่าตอบแทน อาทิการลดน้ำหนัก ได้ส่วนลดภาษีก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ หรือการแยกขยะลด Food waste  แล้วได้ intensive  เพราะการมีสุขภาพดีช่วยลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลให้ลดลง เพราะโรคไม่ติดต่อ ในปัจจุบันทำให้สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมากถึง 1.6 ล้านล้านบาท
.
สิ่งที่ทุกคนทำได้ เริ่มจากตัวเรา
1. ต้องมีความรู้ก่อนสุขภาพที่ดี จะเป็นอย่างไร
2. วิธีที่จะทำให้คนได้ตรวจสุขภาพ
3. สุขภาพกายดีแล้วสุขภาพจิตก็ต้องดีด้วย
ปัจจุบันพบว่า คนไทยเครียดมากขึ้น เพราะการเสพโซเชียลมีเดียที่มากเกินไปจากการเสพข้อมูลที่มากเกินไป ปัญหาใหญ่ก็คือ Miss information  ทำอย่างไร? ให้เรามีวิจารณญาณในการรับข้อมูล
ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาเมือง คือ สุขภาพดี โดยกระทรวงสาธารณสุข เมืองจะดี คนก็ต้องดี ทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ รวมถึงการปรับตัว และใช้นวัตกรรมด้วยเพื่อพัฒนาเมือง

ด้าน คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด 
มองถึงความสำคัญ ของภาคเอกชนเอง ที่ก็ต้องเชื่อมโยงกับชุมชน โดยมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการให้ส่งผลดีต่อชุมชน ซึ่งเวลาที่เอกชนคิดตรงกับภาครัฐ เราก็เชื่อว่า เราได้สร้างโอกาสการพัฒนาเมืองให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สร้างให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการลงทุนด้วย 

เรามองปัญหาเป็นบริบทรวมในภาพกว้างว่า สิ่งที่เราออกแบบ เราต้องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดการมองจุดด้อยของเมือง และเรากำลังเติมจุดด้อยของเมืองเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ หรือปริมาณรถที่เยอะขึ้น รวมถึงความเครียดปัญหาของคนทั่วโลกปัญหา 

สำหรับนโยบายที่ท่านผู้ว่ากรุงเทพมหานครวางไว้ปี 2024 นั้น Ranking ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 78 แล้ว แสดงถึงผลงานการบริหารงานของท่านผู้ว่าฯ ที่ร่วมมือกับภาคเอกชนจริงๆ เป็นนโยบายความร่วมมือกับภาคเอกชนที่ชัดเจน

กรุงเทพมหานคร ถูกจัดอันดับด้านการจราจรติดขัด เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ก็เพราะเราสร้างเมืองให้รถ แต่เรายังไม่ได้สร้างเมืองให้คน ปัจจุบันมีรถอยู่ในกรุงเทพฯ ที่ 12.5 ล้านคัน เมื่อเทียบกับความหนาแน่นแล้ว เรายังมีโอกาสที่จะช่วยลดการสัญจรด้วยรถส่วนตัว ผ่านการสนับสนุนให้คน ใช้รถไฟฟ้าที่มีการลงทุนไปแล้วมากถึง 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ตัวอย่าง ประเทศสิงคโปร์ มี cost of Living  เพียง 3% ต่อปีของค่าครองชีพ ของค่าครองชีพ ส่วนกรุงเทพฯ มี cost  of Living มากถึง 11% จึงเป็นเหตุผลให้คนใช้บริการ ในโครงสร้างพื้นฐานน้อยลง เพราะว่าค่าเดินทางมีต้นทุนที่สูงเกิน รวมถึงการเชื่อมต่อที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้คนจึงยังใช้รถยนต์ส่วนตัว 

ข้อมูลเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการคิด ว่าเราจะร่วมสร้างให้กรุงเทพฯ ดีขึ้นได้อย่างไร อาทิ เพิ่มพื้นที่ทางเดินให้มากขึ้น สร้างความสะดวกให้กับคนมากขึ้น รวมถึงสร้างพื้นที่สีเขียว ให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 7.8 ตารางเมตรต่อคน เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวมากถึง 66 ตารางเมตรต่อคน เป็น 7 เท่าของกรุงเทพฯ ถ้าเทียบกับเมืองที่หนาแน่นมากๆอย่างโตเกียว ก็มีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 38 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งจริงๆแล้วอ่ะในกรุงเทพฯพื้นที่สีเขียวที่เป็น Public Park ที่คนมาใช้ประโยชน์ได้มีเพียง 1.63 ตารางเมตรต่อคน 


ดังนั้นนโยบาย 9ดี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จึงเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบโครงการ  One Bangkok ที่ต่อยอด และเชื่อมโยงกับนโยบายของเมือง ดังนั้นสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบจะไม่ใช่เพียงหินปูน แต่ต้องรวมถึงการออกแบบคุณภาพชีวิตคน จึงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาโครงการของเรา การออกแบบควรจะเป็น Mix-used Development  การออกแบบพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการลดต้นทุนการบริหารความเสี่ยงต่างๆเพื่อจะทำให้เมืองมีชีวิตที่ดีขึ้น จากการมองคนเป็นตัวตั้งเป็นจุดหลัก อันนี้ทำให้เราเป็นตัวอย่างในโลก ที่เราพัฒนาแล้ว เป็นบทพิสูจน์ที่เรานำการออกแบบการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับชุมชน รวมถึงการออกแบบผังภายในโครงการ ทั้งในส่วนของออฟฟิศ ส่วนของโรงแรม ส่วนของพื้นที่ค้าปลีก ที่เชื่อมโยงกับสาธารณูปโภคของรัฐ ทำอย่างไรให้อยู่ภายใน 15 นาที จึงเป็นการออกแบบที่คิดถึงเส้นทางของผู้ใช้งาน รวมถึงความปลอดภัย 

เริ่มต้นจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จนไปถึงสามย่านมิตรทาวน์ เป็นเป้าหมายที่เราคิดว่าโครงการเหล่านี้จะเสริมกับเมืองอย่างไร แล้วทุกๆ จุดก็เชื่อมต่อกับสาธารณูปโภคของรัฐ ที่ทำให้คนเข้าถึงได้ง่าย จึงช่วยลดปัญหาจราจร เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของคน ซึ่งอนาคตท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ มีเป้าหมาย ให้กลางเมืองเดินได้ด้วยเท้า เชื่อมโยงทุกอย่าง ด้วยระยะเวลาเพียง 15 นาที 
One Bangkok ก็เป็นโครงการขนาดใหญ่แล้วจะทำให้คนเข้าถึงได้อย่างไร เราจึงสร้างเส้นทางพื้นที่สีเขียว ที่เปิดโล่ง ให้ทั้งคน ทั้งสัตว์เลี้ยง รวมถึงการสร้าง Art loop ทั้งนี้โครงการ One Bangkok มีพื้นที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร และมีพื้นที่ใช้สอย 1.2 ล้านตารางเมตร เพื่อทำให้คนเข้าใจ และเข้าถึงการได้ใช้พื้นที่จึงสร้าง Art loop ซึ่งปีนี้เราเข้าร่วม และเป็นหนึ่งใน Location ของบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 เพื่อให้คนเข้ามาใช้พื้นที่และเสพย์ศิลปะได้ โดย Art Loop มีระยะทางถึง 2 กิโลเมตร ผลงานจากการร่วมมือทั้งศิลปินต่างชาติและศิลปินไทย

One Bangkok ตั้งแต่เริ่มต้นมา มีผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างผู้ที่อยู่ในไซต์งานมากกว่า 10,000 คนต่อวัน เมื่ออาคารสำนักงานได้เปิดใช้แล้ว จะมีคนมาใช้งานมากถึง 50,000 คนต่อวัน สำหรับพื้นที่รีเทล ผู้เช่าร้านค้า พนักงาน เมื่อรวมกันแล้ว จะมีมากถึง 2,800 คนต่อวันที่เข้ามาทำงาน รวมถึงในส่วนของโรงแรม จะมีพนักงานมากถึง 1,500 คนต่อวัน 
ตัวอาคารเอง มีระยะร่น  40-45 เมตร จากริมถนนพระราม 4 ทำให้เกิดพื้นที่สีเขียวริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวอาคาร เป็นเหมือนสวนลุมพินีขยายออกมา พื้นที่เปิดโลก 10,000 ตารางเมตร จะเป็นพื้นที่ที่คนเข้าถึงได้ในทุกระดับ และได้ประสบการณ์ที่เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก อย่างสมดุลและลงตัว

สำหรับงาน SX2024 เป็นงานที่เราตั้งใจที่จะกระจายความคิดสู่แต่ละบุคคล โดยเฉพาะเยาวชน ผ่านการมีส่วนร่วม โดย SX2024 ได้สะท้อนจุดยืนของเฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ที่เชื่อว่า โครงสร้างความยั่งยืน บุคลากรที่สำคัญที่สุดของเราก็คือเยาวชน 

ฝากถึงทุกท่าน ในการคิดสร้างเมือง อย่าลืมนึกถึงบริการด้านสุขภาพ ในอนาคตเราอาจจะต้องการบริการด้านสุขภาพที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงแบบ 7-11 ทั้งเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การให้คำแนะนำในการใช้ในการใช้ชีวิตต่างๆ ที่จะทำให้เมืองมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อสุดท้ายก็จะทำให้เมืองน่าอยู่
One Bangkok เอง ตั้งใจเป็นพื้นที่กลางที่ให้คนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ให้เข้าถึงการรักษา เราจึงมีพื้นที่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการรักษา เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเพื่อให้ชุมชนที่อยู่ในโครงการเอง เข้าถึงการตรวจสุขภาพประจำปี โดยมิจำเป็นต้องไปถึงโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 

ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เอง สามารถวางโครงสร้างให้กลุ่มคนเข้าถึงได้ โดยผ่านการเก็บข้อมูล จากการเป็น Smart City  ดังนั้น ข้อมูลจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการช่วยบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พื้นที่ที่ได้มีการออกแบบให้เตรียมพร้อมเพื่อส่งเสริมการบริการเหล่านั้น จึงเป็นโอกาสในการลดต้นทุนของทุกภาคส่วน และนำประโยชน์มาสู่ประชาชนโดยตรง

ดังนั้น ความเป็น Smart City ของ One Bangkok เอง เรามองความเข้าใจในการเก็บข้อมูล เพราะถ้าข้อมูลนั้นถูกเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคิดมาตั้งแต่วันแรก ตั้งแต่เริ่มโครงการ ทำเรื่องของเส้นทางการใช้ประโยชน์ของคน เพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุด รวมถึงการมองคุณภาพชีวิตและสุขภาพ ตลอดจนการทำงานกับบริษัทใหญ่ อาทิ Hitachi หรือ Huawei ที่นำเอาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมาใช้ อย่างการเก็บข้อมูลในรูปแบบวีดีโอ

ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์มากๆ ที่เราจะนำเทคโนโลยี และการเป็น early adopter นำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสาน กับการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ในพื้นที่ของเรา

✨ ????ด้านคุณเข็มอัปสร สิริสุขะ นักแสดงและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม????สำหรับความท้าทายในฐานะคนที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองไปพร้อมๆ กับการรักสิ่งแวดล้อม
เรื่องของความท้าทายประการแรก ก็คือ ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ที่มักจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมกับความยั่งยืน เพราะในการใช้ชีวิตของเรา เราจะเลือกแบบไหน อาทิ อาหารการกิน เราจะเลือกอาหาร Fast Food ที่สะดวกสบาย หรือเราจะเลือกอาหารปรุงเองทานที่บ้าน ที่สามารถลดขยะได้ตั้งแต่ต้นทาง แต่ก็ไม่ได้สะดวกสบายนัก

ประการที่ 2 คือ การใช้ของแบบ Single Use อาทิ ทุกวันนี้ คนดื่มกาแฟเยอะมาก สร้างขยะจำนวนมาก เมื่อเทียบกับการต้องพกกระบอกน้ำ ซึ่งไม่สะดวกสบาย การปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแรกๆ ไม่ชินเลย ซึ่งก็ลืมบ่อยมาก 

ทั้งนี้ ในอนาคตเรามีสวนสาธารณะที่ใกล้บ้านมากๆที่เราสามารถใช้บริการได้เลยโดยไม่ต้องขับรถ หรือ การช้อปปิ้งออนไลน์ คนซึ้อง่าย ตัดสินใจเร็ว ก็สร้างขยะในขั้นตอนการแพ็คสินค้าจำนวนมาก

ทั้งนี้ การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ หรือของที่ดีต่อสุขภาพ ของที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม หรือสินค้าที่มาจากท้องถิ่น ซึ่งมันหายาก และมีราคาแพง เพราะขาดช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 

ตลอดจน การปรับตัวใช้ชีวิตให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม และทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งจริงๆ แล้ว เราเปลี่ยนแปลงโลก ด้วยตัวเราคนเดียวไม่ได้ โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมือง มักมีข้อจำกัดในด้านของขนาดพื้นที่ในการใช้ชีวิต  เพราะที่พัก อาจจะเป็นเพียงคอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ การที่จะให้มีพื้นที่สีเขียว หรือการปลูกผักสวนครัว เพื่อบริโภคเอง ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ในปัจจุบัน มีสวนครัวแนวตั้ง ก็สามารถปลูกผักทานเองได้ หรือแม้กระทั่งการแยกขยะ ถ้าเราจะแยกแบบละเอียดมากๆ อย่างชาวญี่ปุ่น เราอาจจะไม่มีพื้นที่มากพอในการแยกขยะออกเป็น 32 ประเภทขนาดนั้น 

สุดท้าย ก็คือ ความท้าทายของความต่อเนื่องในระบบที่จะมา support เราในการที่จะทำสิ่งนี้ อย่างเช่น การที่เราจะใช้ขนส่งโดยสารสาธารณะให้มากขึ้น แต่หากเราอยู่ไกลมากๆ รถไฟฟ้าก็ยังอาจจะยังไม่เชื่อมต่อ ตลอดจนฟุตบาท ทางเท้า ทางเดิน ที่อาจไม่เอื้ออำนวย หรือกระทั่งทางจักรยานต่างๆ อาจจะยังไม่ปลอดภัย สำหรับการใช้งานจริงๆ 

ข้อดี ของการปรับตัวเพื่อความยั่งยืนนั้น อย่าง
การเลือกอาหารออร์แกนิค ก็ส่งผลดีกับสุขภาพของเราโดยตรง หรือ การที่เราทำกับข้าวรับประทานเองที่บ้าน เราจะรู้ว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เราใช้มาจากที่ใด เราปรุงแบบไหนที่ปลอดภัย ตลอดจนความสะอาด ซึ่งก็เป็นเรื่องของสุขภาพของเราโดยตรง ในขณะเดียวกัน ก็สามารถประหยัด หากเราใช้สิ่งที่ต้องใช้ อาทิเช่นกัน เสียบปลั๊ก เมื่อเลิกใช้แล้วเราควรดึงปลั๊กออก 

ในด้านของ well be-ing สำหรับความสวยงามของสิ่งแวดล้อม ก็ส่งผลต่อจิตใจ เมื่อเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ก็ทำให้เรามีจิตใจที่ดี ใจเย็นลง ความเครียดน้อยลง หากเรามัวนึกถึงวัตถุนิยมต่างๆ เราก็จะไม่รู้จักพอ เพราะมัวแต่แสวงหาวัตถุเหล่านั้น 

ที่สำคัญมากๆ เลยในการเลือกสิ่งต่างๆ ของเรา มันสามารถสนับสนุนสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนความร่วมมือของทุกๆ ภาคส่วนต้องไปพร้อมๆ กัน ส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำเพียงส่วนเดียวไม่ได้