ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโต เพื่อสร้างเม็ดเงินให้หมุนเวียนภายในประเทศนั้น คือธุรกิจโรงแรมและที่พัก ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นการแข่งขันกันภายในธุรกิจโรงแรม จำนวนห้องพักของโรงแรมเริ่มล้นตลาด ดังที่จะเห็นได้ว่าเศรษฐีระดับพันล้านหลายคน นิยมซื้อเชนโรงแรมหรูในต่างประเทศมาบริหาร หรือแม้แต่เชนโรงแรมชื่อดังของไทยอย่าง “ดุสิตธานี” ได้ขยายตลาดออกไปต่างประเทศมากขึ้น เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการลงทุนในกิจการโรงแรมเริ่มเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน จากการไล่ซื้อหรือเข้า Take Over กิจการถูกเปลี่ยนมาเป็นการรับจ้างบริหารโรงแรมด้วยเชนหรือเครือโรงแรมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโรงแรม ซึ่งเครือหรือ Chain นี้หมายถึง กลุ่มบริษัทที่เข้ามาบริหารโรงแรม ซึ่งภายใต้เชนหรือเครือเหล่านี้จะประกอบด้วยแบรนด์หลายๆแบรนด์ ที่มีตั้งแต่แบรนด์ Luxury หรือระดับ 5 ดาวไปจนถึงแบรนด์ Economy เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป

ทุกวันนี้ธุรกิจโรงแรมของโลกถูกครองตลาดด้วยเชนโรงแรมขนาดยักษ์ประมาณ 10 แห่ง ส่วนนักลงทุนธุรกิจโรงแรมรายใหญ่ของไทย คือ กลุ่มเอราวัณกรุ๊ป, เซ็นทารา และ ดุสิตธานี ที่มีทั้งการไปซื้อเชนมาบริหาร และทั้งเป็นผู้บริหารโรงแรมเอง และภายใต้เชนเหล่านี้ยังแตกออกมาเป็นแบรนด์ต่างๆมากมายเพื่อครอบคลุมผู้บริโภคทุก Segment วันนี้ TerraBKK Research จึงได้รวบรวม Top 10 เชนโรงแรมอินเตอร์ดังนี้

InterContinental Hotels Group (IHG) จากประเทศอังกฤษ

InterContinental

มีโรงแรมในเครือมากกว่า 4,700 แห่งทั่วโลก และจำนวนห้องพักรวมกันมากกว่า 674,000 ห้อง ในแต่ละแบรนด์ของเชน InterContinental Hotels Group นี้เจาะกลุ่มลูกค้าต่างกันออกไป อย่าง Intercontinental และ Crowne Plaza ก็มุ่งตลาดบนและนักธุรกิจระดับสูง แต่ Holiday Inn มุ่งนักท่องเที่ยวระดับกลางและนักธุรกิจทั่วไป ในขณะที่ Express by Holiday Inn เจาะตลาดนักท่องเที่ยวที่ต้องการห้องพักราคาประหยัด

Hilton Hotels Corporation จากประเทศอังกฤษ

Hilton

มีโรงแรมในเครือมากกว่า 3,900 แห่ง ใน 90 ประเทศ และจำนวนห้องพักรวมกันมากกว่า 650,000 ห้อง มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ย่านเบเวอร์ลี่ฮิลล์ในสหรัฐฯ เดิมธุรกิจโรงแรมฮิลตันแบ่งเป็น 2 กลุ่มแยกจากกันโดดเด็ดขาด แต่เมื่อปลายปี 2548 บริษัท Hilton Hotels Corporation ของสหรัฐฯ ได้ซื้อกิจการโรงแรมของบริษัท Hilton Group ของสหราชอาณาจักร ทำให้เป็นเจ้าของแบรนด์โรงแรม Hilton ทั่วโลกแต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้กลายเป็นเชนโรงแรมซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ประกอบด้วยแบรนด์ Hilton hotels & resorts, Waldorf astoria hotels & resorts, Conrad hotels & resorts, Canopy, Curio, Doubletree, Embassy suites hotels, Hilton garden inn, Hampton inn, Homewood suites, Home2 suites, Hilton grand vacations

Marriott International จากประเทศสหรัฐอเมริกา

Marriott

มีโรงแรมในเครือ 3,700 แห่งใน 74 ทั่วโลก ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ เช่น Marriott, Ritz-Carlton, Renaissance, Residence Inn, Fairfield Inn, New World, Courtyard ซึ่งแต่ละแบรนด์เจาะกลุ่มลูกค้าต่างกันดังนี้ Marriott, Ritz-Carlton เป็นโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว เน้นกลุ่มลูกค้าระดับบน ขณะที่ Courtyard เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว ส่วน Fairfield Inn เป็นโรงแรมเจาะลูกค้าตลาดล่างระดับ 1 - 2 ดาว สำหรับ Renaissance

Wyndham Hotel Group จากประเทศสหรัฐอเมริกา

Wyndham

มีโรงแรมในเครือกว่า 6,400 แห่ง และจำนวนห้องพักกว่า 521,000 ห้อง เน้นลูกค้าตลาดกลางและตลาดล่าง ไม่เน้นโรงแรมระดับหรูหราแต่อย่างใด ทำให้เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในสหรัฐฯ ในด้านของโรงแรมราคาประหยัด (Economy) ปัจจุบันประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ เป็นต้นว่า Days Inn, Ramada, Howard Johnson, Wingate Inn, Super 8, Microtel, Hawthorn, Travelodge,Baymont และ Knights Inn

Accor จากประเทศฝรั่งเศส

Accor

มีโรงแรมในเครือมากกว่า 4,000 แห่ง 140 ประเทศทั่วโลก และจำนวนห้องรวมกันกว่า 500,000 ห้อง ภายใต้เชนมีแบรนด์ต่างๆสำหรับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ Sofitel, Pullman เป็นแบรนด์สำหรับลูกค้าระดับ 5 ดาว ที่เน้นความทันสมัย กับแบรนด์ระดับ 5 ดาวที่เพิ่งเปิดตัวใหม่อย่าง M Gallery ขณะที่ Grand Mercure ระดับ 4 ดาวครึ่ง เป็นแบรนด์ระดับหรูที่มีทำเลที่ตั้งในย่านธุรกิจหรือที่พักตากอากาศหลักๆทั่วทุกเมือง แบรนด์ Mercure ระดับ 3 ครึ่ง แบรนด์ All Seasons เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาวในรูปแบบสไตล์รีสอร์ต รองลงมาอีก คือ Ibis ระดับ 3 ดาวในรูปแบบโรงแรมในตัวเมือง และล่างสุด คือ แบรนด์ Motel 6 ระดับ 1 ดาว

Choice Hotels จากประเทศสหรัฐอเมริกา

Choice

มีโรงแรมในเครือกว่า 6,200 แห่งใน 30 ประเทศทั่วโลก จำนวนห้องพักมากกว่า 500,000 ห้อง ปัจจุบันเป็นเจ้าของแบรนด์ต่างๆ กว่า 11 แบรนด์ เช่น Comfort Inn, Clarion, Quality, Econo Lodge, Sleep Inn, Clarion, Cambria Suites, Main Stay และ Suburban เน้นลูกค้าตลาดระดับกลาง โดยปัจจุบันครองตลาดสูงที่สุดในสหรัฐฯ

Best Western จากประเทศสหรัฐอเมริกา

BestWestern

มีโรงแรมในเครือกว่า 4,000 แห่งใน 88 ประเทศ จำนวนห้องพักกว่า 320,000 ห้อง เน้นตลาดโรงแรมระดับราคาปานกลางเป็นหลัก โดยครองตลาดสูงที่สุดในสหรัฐฯ ในส่วนตลาดโรงแรมระดับราคาปานกลาง (Midscale) ที่มีภัตตาคารตั้งอยู่ภายในโรงแรม เปิดโรงแรม 5 ดาวแห่งแรกขึ้นที่กรุงปราก ปัจจุบันมีแบรนด์ภายในเครือต่างๆดังนี้ ประกอบด้วยแบรนด์ Best Western Premier สำหรับโรงแรมระดับ 4 ดาว และแบรนด์ Best Western Plus สำหรับโรงแรมระดับ 3 ดาว

Starwood Hotels and Resorts จากประเทศสหรัฐอเมริกา

Starwood

มีโรงแรมในเครือกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก สำหรับโรงแรมในกลุ่มนี้ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันออกไป อย่างแบรนด์ Sheraton ที่นับเป็นแบรนด์หลักของเครือนี้ เน้นโรงแรมระดับ 5 ดาว ขณะที่แบรนด์ 4 Points เน้นเป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว สำหรับลูกค้าเป้าหมายเป็นคนวัยหนุ่มสาวที่ต้องการความสนุกสนาน และแบรนด์ W Hotels and Resorts เป็นแบรนด์ระดับหรูหราและบูติก เน้นลูกค้าที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว โดยใช้การตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์แบบมินิมอลลิสม์ และทันสมัย Aloft Hotels เป็นแบรนด์ระดับกลาง เน้นความเป็นโมเดิร์น และทันสมัย และนอกจากนี้ยังมีแบรนด์อื่นๆอีกเช่น Westin Hotels and Resorts, The Luxury Collection, St. Regis, Le Méridien, Element by Westin

Hyatt จากประเทศสหรัฐอเมริกา

Hyatt

มีโรงแรมในเครือกว่า 490 แห่งทั่วโลก เป็นเชนโรงแรมที่เน้นแต่โรงแรมระดับหรูเท่านั้น ไม่เน้นตลาดกลาง - ล่าง โดยประกอบไปด้วยแบรนด์ต่างๆดังนี้ แบรนด์ระดับหรูอย่าง Park Hyatt เป็นโรงแรมระดับกลางที่มักตั้งอยู่ในเมือง สำหรับ Andaz เป็นแบรนด์ระดับบน มีสไตล์แบบบูทีคโฮเทล และ Grand Hyatt ที่มักจะตั้งอยู่ในหัวเมืองท่องเที่ยว ขณะที่ Hyatt Regency ที่เหมาะสำหรับนักธุรกิจ แบรนด์ Hyatt Place ที่เหมาะกับครอบครัวและนักธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ Hyatt House, Hyatt Resort และ Hyatt Vacation

Carlson Hotels Worldwide จากประเทศเดนมาร์ก

carlson

มีโรงแรมในเครือกว่า 1,300 แห่งทั่วโลกและร้านอาหารอีก 900 แห่ง เดิมรู้จักกันในชื่อ rezidor SAS ปัจจุบันมีแบรนด์ภายใต้เครือนี้ อาทิเช่นแบรนด์ Regent เป็นแบรนด์ระดับบนสุด รองลงมา คือ Park Hotel และ Radisson นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมราคาประหยัด คือ Country Inn

รวมจำนวนโรงแรมในไทย และจังหวัดไหนรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติประเทศไทยของเรานั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวดึงดูดชาวต่างชาติอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวจากเพื่อนบ้านเอเชียเรา หรือนักท่องเที่ยวแถบยุโรป และยังมีแนวโน้มว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลจากการท่องเที่ยวนั้นทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น และมีการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดในการท่องเที่ยวก็คือ “โรงแรมและที่พัก”

10 เรื่องแปลก ที่ต่างชาติอาจไม่รู้เกี่ยวกับเมืองไทย 1. เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่เคยเสียเอกราช ก็ไม่รู้ว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสียกันแน่ ในสมัยที่จักรวรรดิยุโรปรุกรานเอเชีย โดยเราเป็นประเทศเดียวเท่านั้นที่ไม่ถูกฝรั่งเศสและอังกฤษที่ขนาบข้างมา ยึดรอบประเทศรอบข้างไปหมด แต่สุดท้ายกลับเสียดินแดนในเหตุการณ์ ร.ศ.112