ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยร่วมฤดีจำนวน 24 คน ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตปทุมวัน ข้อหาบริหารราชการท้องถิ่น และเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ต่อศาลปกครองกลาง
โดยออกเอกสารรับรองความกว้างของซอยร่วมฤดีเกินกว่าความเป็นจริงและปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารสูงใหญ่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่พักอาศัยในซอยร่วมฤดี รวมถึงปัญหาอัคคีภัยและการจราจรที่แออัด จนทำให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ทั้งนี้ ศาลได้พิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานแล้วเห็นว่า ซอยร่วมฤดีเป็นทางสาธารณประโยชน์ และเป็นสถานที่ตั้งอาคารที่พิพาทมีความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนวจริงตามข้อมูลการรังวัดของกรมที่ดิน จึงขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ.2535 ข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่ห้ามมิให้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ขณะที่นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าคดีนี้เป็นบทเรียนให้แก่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนจะอนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคารใหญ่ในพื้นที่ซอยแคบ โดยศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตปุทมวัน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง โดย กทม.ต้องดำเนินการให้เจ้าของอาคาร ปรับปรุงอาคาร หรือ แก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลสั่งรื้อ 2 ตึกเอทัส ซ.ร่วมฤดี 18 และ 24 ชั้น สร้างสูงผิดกฎหมายสั่งรื้อโรงแรมใน60วัน

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

ชาวซอยร่วมฤดีเฮลั่น ศาลปกครองสูงสุดยืนคำสั่งศาลปกครองกลางให้ กทม. ออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการรื้อถอน หรือแก้ไขโรงแรม-คอนโดฯ สูง 18 และ 24 ชั้น ภายใน 60 วัน เนื่องจากถนนซอยร่วมฤดี กว้างไม่ถึง 10 เมตร ห้ามสร้างอาคารขนาดใหญ่ โดยให้ลดความสูงเหลือไม่เกิน 8 ชั้น จบการต่อสู้ยาวนานกว่า 6 ปี ชี้คดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานของชุมชนเมือง

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีที่ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กทม. จำนวน 24 คน ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตปทุมวัน ข้อหาบริหารราชการท้องถิ่น และเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี 2522 ต่อศาลปกครองกลาง โดยออกเอกสารรับรองความกว้างของถนนซอยร่วมฤดีเกินกว่าความเป็นจริง และปล่อยให้ก่อสร้างอาคารสูงกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่พักอาศัยในซอยร่วมฤดี รวมถึงปัญหาอัคคีภัยและการจราจรแออัด จนทำให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

ศาลสั่งรื้อ 2 ตึกเอทัส ซ.ร่วมฤดี

ทั้งนี้ศาลได้พิเคราะห์หลักฐานแล้วเห็นว่า ซอยร่วมฤดีซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์และเป็นสถานที่ตั้งอาคารที่พิพาทมีความกว้างไม่ถึง 10 เมตรตลอดแนวจริง ตามข้อมูลการรังวัดของกรมที่ดิน ซึ่งได้ทำการรังวัดสอบเขตทางตามคำสั่งของศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 จึงเป็นการขัดกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ในข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ และได้มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตปทุมวัน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร 40, 41, 42 และ 43 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง โดยกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการให้เจ้าของอาคาร ปรับปรุงอาคาร หรือแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย

นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์หลวง อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คดีนี้ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่เป็นบรรทัดฐานให้กับเจ้าหน้าที่ กทม. ปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้มีการสร้างอาคารสูงในซอยสาธารณะแล้วให้ความกว้างของซอยแคบลงเช่นนี้ ผลกระทบจะเกิดกับประชาชนที่อาจประสบกับเหตุการณ์อัคคีภัย ทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้

ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ ทาง กทม. และสำนักงานเขตปทุมวัน จะต้องใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 60 วัน หากไม่มีการรื้อถอนตามคำสั่ง สำนักงานเขตฯ มีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังบุคคลซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งได้ และดำเนินการหรือจัดให้มีการรื้อถอนอาคารดังกล่าวได้เอง โดยที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร ผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณอาคาร ผู้ควบคุมและผู้ดำเนินการ จะต้องร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมด

สำหรับคดีนี้ กทม. โดยเขตปทุมวัน ได้ออกเอกสารรับรองความกว้างของถนนซอยร่วมฤดีเกินกว่าความเป็นจริง และปล่อยให้เอกชนคือ บริษัท ลาภประทาน จำกัด กับ บริษัท ทับทิมทร จำกัด ผู้ประกอบการโรงแรมและคอนโดดิเอทัส ก่อสร้างอาคารสูงใหญ่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ส่งผลกระทบต่อชุมชน จึงมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีคือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตปทุมวัน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ทั้งนี้ภายในซอยร่วมฤดี กฎหมายอนุญาตให้สร้างอาคารได้สูงไม่เกิน 8 ชั้น ขณะที่โรงแรมดิเอทัสมีความสูง 24 ชั้น

ที่มา ไทยโพส (3 ธันวาคม 2557)