ภาษีมรดก
นักวิชาการชี้ช่องรีดภาษีมรดก3แสนล. นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยผู้จัดการ บล.ภัทร กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ “ภาษีที่ดินและมรดกใครมี ใครจ่าย ใครได้ประโยชน์” จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งภาษีมรดก แต่ควรพิจารณารายได้และต้นทุนในการจัดเก็บ เพราะหากต้นทุนในการจัดเก็บสูง อาจไม่ได้ช่วยเพิ่มฐานรายได้ให้รัฐ และควร
ประการที่สอง ถึงแม้กลุ่มเป้าหมายหลักที่พึงต้องเสียภาษีมรดก คือ ทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท แต่รัฐบาลก็เกรงว่าจะมีการทยอยโอนทรัพย์สินให้ทายาทก่อนเสียชีวิต ดังนั้น รัฐบาลจึงเสนอให้มีการแก้ประมวลรัษฎากรโอนทรัพย์สินให้บุตรในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท โดยให้ต้องเสียภาษีการให้อีกร้อยละ 5 ด้วยการเก็บภาษีในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทเพิ่มมาด้วยนี้คงช่วยป้องกันการโอนมรดกให้ทายาทก่อนเสียชีวิตได้บ้าง แต่ผลกระทบก็คือครอบครัวที่มีทรัพย์สินเกิน 10 ล้านบาท แต่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งมิได้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่พึงเสียภาษีมรดกกลับต้องมาแบกรับภาระเสียภาษีด้วย หากมีการให้มรดกกันก่อนเสียชีวิต ดังนั้น สิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นคือ ครอบครัวที่มีมรดกเกิน 10 ล้านบาท แต่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จะโอนมรดกให้ทายาทหลังที่ตนเสียชีวิตแล้วเพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีมรดก ส่วนครอบครัวที่มีทรัพย์สินมากกว่า 50 ล้านบาท จะทยอยโอนมรดกให้ทายาทก่อนเสียชีวิตเพื่อลดภาระภาษี แต่ที่แน่ๆ คือ ครอบครัวจำนวนมากจะเริ่มทยอยโอนทรัพย์สินให้ทายาททุกๆ ปีๆ ละ 9.99 ล้านบาท เพราะจะได้ไม่ต้องเสียภาษีอะไรเลย หรือไม่ก็จะออมด้วยการซื้อทรัพย์สินต่างๆ แต่ใส่ชื่อลูกๆ แทน หรือไม่ก็ทำสัญญาเงินกู้กันระหว่างพ่อกับลูก ประการที่สาม ภาษีมรดกที่กระทรวงการคลังเสนอให้สภานิติบัญญัติพิจารณาจะเรียกเก็บ ไม่เฉพาะทรัพย์สินที่จดทะเบียนเท่านั้น เช่น บ้าน ที่ดิน หุ้น รถยนต์ หรือเงินในบัญชี แต่จะเก็บจากทรัพย์สินทุกประเภทที่เจ้าพนักงานทราบ รวมทั้งแก้ว แหวน เงิน ทอง นาฬีกา ภาพวาด หรือพระเครื่อง การเก็บภาษีมรดกในลักษณะนี้คงจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะเจ้าพนักงานสรรพากรคงต้องเหน็ดเหนื่อยในการรวบรวมทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกทั้งหลายและทำการประเมินมูลค่า แค่ทรัพย์สมบัติของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ คนเดียวก็ทำบัญชีรายการประเมินมูลค่ากันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว ดังนั้น หากต้องประเมินมูลค่าทรัพย์สินของทุกคน ก็คงจะเป็นภารกิจที่ยุ่งยากพอควรสำหรับกระทรวงการคลัง แต่ที่สำคัญคือ การเก็บภาษีมรดกทุกรายการ อาจนำไปสู่การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการพิจารณาว่า จะตรวจทรัพย์สมบัติของทายาทผู้รับมรดกแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกันอย่างไร จริงอยู่ที่ว่า มีหลายประเทศที่เก็บภาษีมรดก แต่ก็มีหลายประเทศเช่นกันที่ไม่เก็บภาษีมรดก และยังมีหลายประเทศที่ในอดีตเคยเก็บภาษีมรดกแต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว สถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้รวบรวมข้อมูลรายประเทศทั้งที่มี และไม่มีการเก็บภาษีมรดกพบว่า มีเพียง 13 ประเทศ จาก 45 ประเทศที่ทำการสำรวจมีการเก็บภาษีมรดก และส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเอเชียมีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่เก็บภาษีมรดก คือ ญี่ปุ่น จีน-ไต้หวัน และฟิลิปปินส์นานาทรรศนะ “ภาษีมรดก” คนอสังหาฯมีทั้งแบ่งรับ-แบ่งสู้ กำลังเป็นประเด็นฮอตของทุกวงการ รวมถึงนักธุรกิจแวดวงอสังหาริมทรัพย์ เมื่อ “คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” มีคำสั่งให้ยกร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้ หรือ “ภาษีมรดก” ที่เรียกเก็บจากที่ดิน เงินฝาก หุ้น หลักทรัพย์
ส่วนประเทศที่ไม่มีการเก็บภาษีมรดก ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา โคลอมเบีย จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ และสวีเดน นอกจากนั้น พบว่ามี 5 ประเทศ ที่เคยมีการเก็บภาษีมรดกแต่ยกเลิกไปแล้ว ได้แก่ จีน-ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย แคนนาดา และนอร์เวย์ ซึ่งสาเหตุที่ประเทศเหล่านี้ยกเลิกการเก็บภาษีมรดก เป็นเพราะต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ภาษีมรดกสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย และเป็นภาษีที่สร้างรายได้ให้รัฐได้น้อย อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการเก็บภาษีมรดกของประเทศไทยครั้งนี้ คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะเก็บภาษีได้เงินเข้ารัฐเท่าไหร่ หรือรายรับภาษีที่เก็บได้จะคุ้มต่อต้นทุนการจัดเก็บหรือไม่ แต่คำถามสำคัญในการตราพระราชบัญญัติภาษีมรดกครั้งนี้ คือ การตอบโจทย์สำคัญของประเทศว่า “ภาษีมรดกจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้หรือไม่” ด้วยเหตุนี้ หากรัฐต้องการเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย รัฐบาลควรเริ่มที่ต้นตอของปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมีสาเหตุหลัก 8 ประการ ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา คุณภาพของโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยที่มีความแตกต่างกันมาก ทำให้นักเรียนแต่ละคนมีระดับทุนมนุษย์ และความสามารถในการประกอบอาชีพแตกต่างกัน ปัญหานี้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย เมื่อรัฐบาลจ่ายเงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เพราะเงินสนับสนุนนี้กลับไปตกกับลูกคนรวยที่มีเงินเรียนกวดวิชาสารพัดจนสามารถสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐได้ และยังจ่ายค่าหน่วยกิตในอัตราที่ต่ำด้วย ในขณะที่ลูกคนที่มีรายได้น้อยแทบจะไม่ได้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐเลย เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินจ่ายค่ากวดวิชาเพื่อให้สามารถสอบแข่งขันจนเข้าเรียนได้ ความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯกับต่างจังหวัด ยังเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับการแก้ไขทำให้เกิดความแตกต่างทางโอกาสในหลายๆ ด้าน เช่น โอกาสทางการศึกษาเมื่อคนต่างจังหวัดจำนวนมากมีภาระส่งลูกหลานมาเรียนในกรุงเทพฯ พ่อแม่เองก็ต้องเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ ความแตกต่างนี้ยังพบเห็นในการให้บริการอื่นๆ ของรัฐที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น คุณภาพของการรักษาพยาบาล ด้านบริการด้านสาธารณูปโภค ระดับการพัฒนาของจังหวัดต่างๆ และโอกาสในการทำธุรกิจ การผูกขาดทางธุรกิจการค้าและการแข่งขันน้อยรายเป็นปัญหาที่สังคมไทยละเลยมานาน จนทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของผลตอบแทนทางธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง ผู้ประกอบการในธุรกิจบางประเภทมีอำนาจตลาดจากการมีคู่แข่งน้อยรายนี้ นำไปสู่การกอบโกยกำไรจำนวนมากจนสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเกินกว่าจะเยียวยาได้ ดังจะพบเห็นได้ในธุรกิจอาหารสัตว์ เคเบิลทีวี โทรคมนาคม ดาวเทียม พลังงาน ไฟฟ้า และธนาคารพาณิชย์ ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงพาณิชย์ แต่กฎหมายดังกล่าวก็ขาดการบังคับใช้ และยังมีข้อยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจสามารถผูกขาดทางการค้าได้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการผูกขาดตลาด และการมีอำนาจตลาดนอกจากจะสร้างความกระจุกตัวของรายได้แล้ว ยังนำไปสู่การกระจุกตัวของการครอบครองที่ดินในกลุ่มคนรวยซึ่งเป็นปัญหาตามมาอีกด้วยอสังหาวิพากษ์ภาษีมรดก กฎหมายนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ประเด็นร้อนที่สุดในวงการอสังหาฯตอนนี้คงไม่พ้นเรื่อง “ร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดก” และ “พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หยิบมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบธุรกิจอสังหาฯ
การคอร์รัปชันในแวดวงการเมือง และระบบราชการ เป็นกลไกที่นำไปสู่ความแตกต่างทางเศรษฐกิจในสังคมไทย การคอร์รัปชันทางการเมือง ทำให้นักธุรกิจจำนวนมากหันเข้าสู่วงการการเมือง ไม่ใช่เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน แต่เพื่อแสวงช่องทางในการคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ "เหตุการณ์ค่าโง่ทางด่วน หรือค่าโง่คลองด่านเป็นตัวอย่างการคอร์รัปชันที่มีให้เห็นทั่วไป นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเงินทอนจากการประมูลงานในโครงการต่างๆ ของรัฐ การคอร์รัปชันในรูปการจ่ายเงินซื้อตำแหน่งทางราชการยังเป็นปัญหาที่บั่นทอนประสิทธิภาพกลไกภาครัฐอีกด้วย ท้ายสุดที่เป็นข่าวให้ได้เห็นเป็นประจำคือ การรีดไถเก็บส่วยโดยผู้มีอิทธิพลและเจ้าพนักงานของรัฐจากการดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อน การเปิดบ่อนการพนัน หรือการลักลอบตัดไม้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นตอของความเหลื่อมล้ำในสังคมทั้งนั้น การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวผู้มีอันจะกินสามารถกอบโกยทรัพย์สินของชาติเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ในขณะที่ผู้ยากไร้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติได้ ตัวอย่างที่พบเห็น ได้แก่ กลุ่มทุนรายใหญ่มักจะมีโอกาสมากกว่าในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำ การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจของกลุ่มทุน การทำเหมืองแร่ หรือการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อนุรักษ์ เป็นต้น สิ่งที่พบเห็นเสมอคือ เมื่อประเทศประสบปัญหาภัยแล้ง เกษตรกรจะเป็นคนกลุ่มแรกที่รัฐบาลจะประกาศงดการจ่ายน้ำเพื่อทำนาปลัง ในขณะที่รัฐบาลไม่เคยปฏิเสธการจัดสรรน้ำให้นิคมอุตสาหกรรม โรงแรม หรือภาคบริการ การเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่นำมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ตัวอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรับทราบข้อมูลการลดค่าเงินบาทก่อนคนอื่นได้ทำให้บางคนสามารถตักตวงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลจากการแปลงสภาพหนี้จากหนี้ในรูปเงินดอลลาร์เป็นเงินบาท นอกจากนั้น การทราบข้อมูลการด้านคมนาคม เช่น การตัดถนนสายต่างๆ การทราบเส้นทางรถไฟฟ้า ข้อมูลการประมูลของรัฐ หรือข้อมูลการเปิดขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ได้รับข้อมูลก่อนสามารถตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล ในขณะที่ประชาชนคนธรรมดาไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจเหล่านี้ได้ร่าง กม.ภาษีมรดก หลังจากเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาตลอดช่วง 3 เดือน ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ก็ได้ผ่านความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. … พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่…) (การรับให้กรณีผู้ให้ยังมีชีวิต)
ความยุติธรรมสองมาตรฐาน การอธิบายกลไกการทำงานของระบบความยุติธรรมในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากเพราะเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่การจับกุม การไต่สวน การส่งฟ้อง และการดำเนินคดี ถึงแม้บางกลไกในกระบวนการยุติธรรมยังเป็นที่พึ่งของสังคมได้อยู่ แต่บางกลไกคงต้องมีการยกเครื่องขนานใหญ่มิฉะนั้นคงไม่เกิดปัญหาสองมาตรฐานในระบบความยุติธรรม และเป็นบ่อเกิดของความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ สังคมยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมแม่ลูกที่นำแผ่นซีดีเก่ามาขายเพียงไม่กี่แผ่นต้องรับโทษติดคุก 2 ปี ในขณะที่ลูกคนรวยขับรถด้วยความประมาทชนคนตายกลับถูกลงโทษเพียงบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เอาไม้กอล์ฟตีหัวภรรยาจนตายก็ไม่ต้องติดคุก หรือแม้แต่ลูกผู้มีอิทธิพลที่ยิงคนคนตายกลางผับท่ามกลางสายตาของคนจำนวนมาก กระบวนการยุติธรรมก็ไม่สามารถเอาผิดได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรม และเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่และการพัฒนาประเทศ เป็นอีกหนึ่งกลไกที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ทิศทาง และรูปแบบการพัฒนาประเทศส่วนมากมักถูกกำหนดโดยข้าราชการระดับสูง นักวิชาการและการชี้นำโดยองค์กรระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การกำหนดโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่ จ.สงขลา เป็นโครงการที่ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคใต้ไม่ต้องการเลย แต่เป็นโครงการที่รัฐบาลส่วนกลาง และกลุ่มธุรกิจต่างๆ อยากได้ และพยายามผลักดันให้มีการลงทุนในโครงการนี้ ดังนั้น หากโครงการในลักษณะเช่นนี้ได้รับการอนุมัติผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ในขณะที่ประชาชนในพื้นที่จะไม่ได้รับอะไรเลยนอกจากปัญหามลพิษที่จะเกิดขึ้น หากประชาชนทั่วไปไม่มีโอกาสในการกำหนดทิศทาง และรูปแบบการพัฒนาประเทศที่ตนเองต้องการประชาชนเหล่านี้ก็จะไม่ได้รับอะไรจากการพัฒนาความแตกต่างรายได้เฉลี่ยคนไทย 77 จังหวัด TerraBKK Research ได้ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ"รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของคนไทย การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ " ทั้งระดับภาคและจังหวัด ซึ่งระดับภาคจะแบ่งเป็น 5 ภาคหลัก โดยภาคที่มี รายได้เฉลี่ยเดือนต่อครัวเรือนปี 56 สูงสุด คือ พื้นที่ตอนพิเศษ 43,058 บาท/เดือน รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้
โดยสรุป การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะที่ผ่านมา ความร่ำรวยของบางครอบครัวได้ทำลายประเทศชาติเป็นอย่างมาก ความเหลื่อมล้ำนำไปสู่การซื้อนักการเมือง ซื้อ ส.ส. ทำลายกลไกการบริหารราชการที่ดี รวมทั้งทำลายระบบความยุติธรรมต่างๆ ของประเทศด้วย ปัญหาความเหลื่อมล้ำจึงเป็นต้นทุนทางสังคมที่สูงมากสำหรับประเทศไทย ความตั้งใจแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นก้าวสำคัญที่ควรได้รับการดูแลที่ต้นตอปัญหาอย่างแท้จริง การนำภาษีมรดกมาใช้เป็นการแสดงถึงเจตนาที่ดีของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ควรมีแผนงานด้านความเหลื่อมล้ำที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นตออย่างจริงจังด้วย มิฉะนั้นการตราภาษีมรดกเพียงอย่างเดียวก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงการฉุดการพัฒนาประเทศให้ก้าวถอยหลังกลับไปปี 2476 เท่านั้นเอง รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยส่อง “พร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์” ลด “เหลื่อมล้ำ” มากกว่า “ภาษีมรดก” ใน บรรดากฎหมายที่ “รัฐบาลประยุทธ์” กำลังผลักดัน ไม่ว่าร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือพร็อพเพอร์ตี้แท็กซ์และภาษีการรับมรดก หรือภาษีมรดก เป็นกฎหมายไฮไลต์ที่ได้รับความสนใจไม่น้อย