“การได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของคนต่างชาติโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการได้มาแต่ละประเภทก็จะมีกฎหมายแต่ละฉบับวางหลักเกณฑ์ไว้ อาทิ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497, พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทราบไว้ รวมทั้งคนไทยที่มีคู่สมรมเป็นชาวต่างชาติ การได้มาการได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดก็มีกฎหมายวางหลักเกณฑ์ไว้เช่นกัน”

1. กรณีคนต่างชาติขอได้มาซึ่งที่ดิน ปัจจุบันคนต่างชาติสามารถที่จะขอได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทยได้ใน 3 กรณี คือ
  • โดยการขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้ว (หรือยังไม่เคยมี) ต้องไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ เช่น ที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่
  • คนต่างชาติที่ได้นำเงินมาลงทุน ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท อาจขอให้ได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ โดยในการขอได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
  • คนต่างชาติอาจขอได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ติดต่อได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โทร. 0-2537-8111 หรือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ติดต่อได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร. 0-2253-0561 หรือ ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
2. กรณีคนต่างชาติขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
คนต่างชาติหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในประเทศไทยได้ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ หากขาดหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่อาจที่จะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ กล่าวคือ

1) ต้องเป็นคนต่างชาติหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างชาติตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด

  • เป็นคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยแสดงหลักฐานหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างชาติ และใบสำคัญถิ่น ที่อยู่ (แบบ ตม.๑๑, ตม.๑๕ หรือ ตม.๑๗ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ คนต่างชาติที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างชาติ ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานขอได้มาซึ่ง กรรมสิทธิ์ในห้องชุดในกรณีนี้ได้ โดยไม่ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงอีก
  • เป็นคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมการลงทุนโดย แสดงหลักฐานหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างชาติ และหนังสือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รับรองว่าเป็นคนต่างชาติ ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  • เป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างชาติ ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
  • เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างชาติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยแสดงหลักฐานหนังสือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • คนต่างชาติหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็น คนต่างชาติซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร หรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ

2) การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างชาติและนิติบุคคล เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น ยกเว้น

  • ก. สำหรับอาคารชุดใดที่จะมีคนต่างด้าวและหรือ นิติบุคคลตามที่ระบุไว้ข้างต้น ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เกินกว่าอัตราร้อยละสี่สิบเก้า อาคารชุดนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล หรือเขตเมืองพัทยา มีที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้ หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมทั้งหมดไม่เกินห้าไร่ มีห้องชุดไม่น้อยกว่าสี่สิบห้องชุด ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่จะขอให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินร้อยละสี่สิบเก้า และอาคารชุดนั้นต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่า ด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
  • ข. เมื่อครบกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ (วันที่ 28 เมษายน 2542) กฎหมายบัญญัติให้ยกเลิกความในข้อ ก. และให้คนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ได้ห้องชุดมาตามข้อ ก.หรือคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ระบุไว้ใน ๒.๑ ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดต่อเนื่องจากคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าว
3. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นบุตรผู้เยาว์ของคนต่างชาติ ขอได้มาซึ่งที่ดิน

กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ แต่ได้หย่าขาดจากกัน หรือเลิกร้างกันแล้ว หรือบุตรผู้เยาว์ของคนต่างชาติที่มีสัญชาติไทยขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไป

4. กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นบุตรผู้เยาว์ของคนต่างชาติขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด

  • หากได้หย่าขาดจากกันหรือเลิกร้างกันแล้ว กรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างชาติที่มีสัญชาติไทยขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไป
  • กรณีนำเงินที่เป็นสินสมรส หรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน มาขอซื้อห้องชุดไม่ว่าจะใช้ชื่อบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือใช้ชื่อร่วมกับคู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติ ต้องพิจารณาตัวบุคคลต่างชาติเป็นสำคัญ โดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างชาตินั้นต้องเป็นคนต่างชาติตามที่กฎหมายกำหนด ข้อที่ 1 และ 2 คู่สมรสที่เป็นคนไทยจึงมีสิทธิขอซื้อห้องชุดได้
  • กรณีขอรับให้กรรมสิทธิ์ในห้องชุด ในฐานะเป็นสินสมรส หรือทำให้คนต่างชาติมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วย คนต่างชาตินั้น ต้องเป็นคนต่างชาติตามที่กฎหมายกำหนด ข้อที่ 1 และ 2 เท่านั้น

การขอได้มาซึ่งที่ดินของหญิงไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ หลักเกณฑ์การขอได้มาซึ่งที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติ คนไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ มีสิทธิรับโอนที่ดินในฐานะที่เป็น“สินส่วนตัว” (กรณีมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ) และในฐานะที่เป็น “ทรัพย์ส่วนตัว” (กรณีมี คู่สมรสที่มิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างชาติ) ได้โดยไม่จำกัดจำนวนเนื้อที่ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

ชาวต่างชาติกับมรดกที่ดิน ชาวต่างชาติหลายคนแต่งงานกับคนไทยและมาตั้งรกรากที่นี่ โดยลงทุนซื้อที่อยู่อาศัยไว้ร่วมกันสำหรับสร้างครอบครัว ภายใต้ชื่อคู่สมรสชาวไทย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ชาวต่างชาติไม่สามารถครอบครองที่ดินบนผืนแผ่นดินไทยได้ หากคู่สมรสที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านเสียชีวิตไป จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับบ้านที่สร้างมาร่วมกัน

ที่มา เอกสารชุด "การได้มาซึ่งที่ดิน และคำแนะนำการใช้หนังสือเดินทาง ๒ เล่ม" โดย สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด www.humanrights.ago.go.th บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้ TerraBkk ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก