5 ปีย้อนหลัง ผลประกอบการประจำปี2557 "7บริษัทค้าปลีก"
หลังจากที่ผลประกอบการบริษัทหลักทรัพย์ เริ่มทยอยประกาศผลการดำเนินงานปี 2557 TerraBKK Research จึงขออัพเดทข้อมูลผลประกอบการบริษัทค้าปลีกที่ทาง TerraBKK Research ได้ติดตามอยู่ มีทั้งหมด 7 บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ จะเปรียบเทียบให้เห็นแนวโน้มการเจริญเติบโตของแต่ละบริษัท แล้วนำแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบเพื่อค้นหาบริษัทที่ Outperform มากที่สุดในตลาดในปี 2557 ที่ผ่านมาทาง TerraBKK Research จะนำเสนอเฉพาะด้านผลประกอบการเท่านั้น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
รายได้ (Revenue) ของปี 2557 บริษัทค้าปลีกทำรายได้ได้ดีกว่าปีทีแล้วและมีแนวโน้มการเติบโตของยอดขายเป็นขาขึ้นทุกปี ยอดขายอันดับ 1 ของค้าปลีกยังคงเป็น CPALL ยอดขายโตจากปี 2556 ถึง 30% รองลงมาเป็น Siam Makro โต 9% สามารถทำรายได้ขึ้นนำ BigC Supercenter ได้ จากเดิมที่ BigC อยู่อันดับสอง ปัจจุบันตกมาอยู่อันดับสาม อัตราการเติบโตช้าลงเหลือ 3% สำหรับ Robinson ยอดขายปีนี้เติบโตคงที่ บริษัทขายวัสดุก่อสร้างผู้นำยังคงเป็น Home Pro โตจากปีที่แล้ว 19% รองลงมา คือ GLOBAL ยอดขายเพียง 9%
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) หาได้จากรายได้หักด้วยต้นทุนขาย บริษัทค้าปลีกส่วนใหญ่จะมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ประมาณ 15% ขึ้นไป บริษัทที่สามารถทำอัตรากำไรขั้นต้นได้สูงที่สุด คือ บริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง Home Pro อัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 27% แต่ชะลอตัวลงจากปีที่แล้วรองลงมา คือ Robinson 24.45% ที่น่าสังเกตคือ CP ALL ปี 2557 เป็นปีที่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำที่สุด และลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 21.33% ที่น่าสนใจคือ บริษัทที่มีแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ BigC และ SiamMakro สำหรับ Siam Makro มีอัตราการเติบโตของกำไรขั้นต้นสูงขึ้นทุกปี
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) บริษัท CP ALL ปี2557 กำไรสุทธิต่ำสุดในรอบ 5 ปีเช่นกัน และต่ำที่สุดใน 7 บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ บริษัทที่สามารถทำ Net Profit Margin ได้สูงที่สุดคือ Robinson รองลงมา คือ Home Pro แต่ทั้ง 2 บริษัทมีแนวโน้มกำไรลดลงต่อเนื่อง สำหรับบริษัทที่มีแนวโน้มกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นทุกปีคือ สหพัฒน์, Siam Makro และ BigC ตามลำดับ จะเห็นว่า CPALL ยอดขายสูงก็จริง แต่ Performance ของบริษัทมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตราส่วนหนี้สิ้นต่อทุน (Debt/Equity Ratio) ยิ่งมีค่าต่ำยิ่งดี บริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนต่ำกว่า 1 คือ Siam Global House, สหพัฒน์, Robinson บริษัทที่มีแนวโน้มหนี้สินต่อทุนลดลงเรื่อยๆ คือ BigC (ต่อเนื่อง 4 ปี) และ สหพัฒน์ ส่วน CP ALL มีอัตราหนี้สินต่อทุนสูงที่สุด สูงถึง 9.46 และมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก ทำให้ CP ALL มีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นและอาจจะผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทให้ปรับตัวต่ำลงต่อเนื่องอีกด้วย
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share : EPS) บริษัทที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น โตตลอดเนื่องตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ BigC Supercenter และสหพัฒน์ ตามลำดับ สำหรับบริษัทที่กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว คือ Makro ส่วนบริษัทที่มีแนวโน้มกำไรต่อหุ้นลดลงคือ Robinson, CP ALL, Home Pro และ SiamGlobal House
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Asset & Return on Equity) สำหรับปี 2557 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท SiamMakro นำมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยอัตราการเติบโตของ ROE อย่างโดดเด่นตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับบริษัทค้าปลีกที่มีแนวโน้มของ ROA และ ROE เพิ่มขึ้น คือ สหพัฒน์ และบริษัทที่มีแนวโน้ม ROA และ ROE ลดลง คือ Robinson, CP ALL, Home Pro, BigC, Siam Global House
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (Average Sale period) ระยะเวลาการขายสินค้ามีแนวโน้มขายได้ช้าลงสังเกตได้จาก Average Sale period ของปี 2557 ทุกบริษัทเพิ่มขึ้นทั้งหมดเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว บริษัทที่สามารถขายสินค้าในสต๊อกของตนเองได้เร็วที่สุด คือ สหพัฒน์ สามารถขายสินค้าต่อรอบเพียง 13 วันเท่านั้น รองลงมาคือ CP ALL และ Siam Makro ตามลำดับ บริษัทที่ขายได้ช้าสุดจะเป็นบริษัทวัสดุก่อสร้างซึ่ง Siam Global House ขายได้ช้ากว่า Home pro ถึง 2.5 เท่า - เทอร์ร่า บีเคเค
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
อัตรากำไรสุทธิ จะแสดงถึง ความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท เป็นการวัดความสามารถของบริษัทในการควบคุมรายจ่ายทุกประการทั้งดอกเบี้ยและภาษีเมื่อเทียบกับยอดขาย หากอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนยอดขายให้เป็นกำไรสุทธิได้มาก
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) แสดงถึง สัดส่วนของเงินทุนจากการกู้ยืมต่อเงินทุนจากเจ้าของธุรกิจถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าบริษัทมีการกู้ยืมเงินในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินทุนจากผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset∶ROA) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท เป็นการวัดความสามารถในการนำสินทรัพย์ทั้งหมดของธุรกิจใช่ในการสร้างยอดขายและควบคุมค่าใช่จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดสุทธิจากภาษีแต่ก่อนต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิจากภาษีที่ประหยัดได้) อัตราส่วนที่สูงแสดงว่าบริษัทมีความสามารถสูงในการนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรจากการดำเนินงาน
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity∶ROE) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น จากเจ้าของบริษัท เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรให้แก่เงินทุนของผู้ถือหุ้น หากค่าที่ได้จากการคำนวณแสดงว่าผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับเงินปันผลและผลตอบแทนที่สูง
บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก