10 อันดับธุรกิจไทยที่ลงทุนในต่างประเทศมากที่สุด
Outward Foreign Direct Investment หรือ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ คือ การที่นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ ทั้งการเปิดสาขาและออกไปซื้อกิจการในต่างประเทศ การออกไปลงทุนในต่างประเทศจะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถเติบโตได้อีกช่องทางหนึ่ง
TerraBKK Research ได้รวบรวมข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศของไทยว่าเงินทุนส่วนใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอะไรบ้างโดยการลงทุนของไทยในต่างประเทศสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) แบ่งกลุ่มธุรกิจได้ ดังนี้
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
จากกราฟเราจะเห็นว่า ส่วนใหญ่แล้วเงินลงทุนต่างประเทศจะลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากกว่าภาคการเกษตร โดยสามารถจำแนกได้เป็น อุตสาหกรรมเหมืองแร่มีสัดส่วนถึง 23.7% รองลงมาเป็นภาคการผลิต 23.2% และกิจกรรมเกี่ยวกับการเงินและการประกันภัย 12.9% ส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนเพียงแค่ 1.8% ถ้าเรามองเจาะลึกลงไปเฉพาะในภาคการผลิต (ภาพด้านล่าง)สัดส่วนเงินลงทุนจะอยู่ในส่วนของการผลิตอาหารถึง 35% และการผลิตเคมีภัณฑ์15% ของภาคการผลิต ตามลำดับ
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)
คงมีหลายคนสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้เหตุใดถึงต้องออกไปลงทุนในต่างประเทศ ต่างประเทศมีอะไรดีและออกไปลงทุนเพื่ออะไร TerraBKK Research ได้รวบรวมเหตุผลไว้ ดังนี้
- ขยายขนาดตลาด (Market Seeking) การออกไปลงทุนในต่างประเทศจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถออกไปทำตลาดยังต่างประเทศได้และนักลงทุนสามารถใช้ต่างประเทศเป็นฐานผลิตเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มของการเติบโตสูงอยู่ได้ การออกไปยังต่างประเทศจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญสำหรับตลาดในประเทศที่ค่อนข้างอิ่มตัว เพราะทำให้ตลาดไม่ได้กระจุกอยู่ภายในประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ได้กระจายออกไปยังต่างประเทศด้วยซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่ามาก
- แสวงหาประสิทธิภาพ (Efficiency Seeking) คือ การที่ผู้ประกอบการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพ มีความสามารถ และมีความถนัดในการผลิตสินค้าประเภทนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ (Comparative Advantage)
- แสวงหาวัตถุดิบและแรงงานที่ถูก จากทรัพยาธรรมชาติภายในประเทศไทยที่ค่อนข้างจำกัด บางครั้งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาวทำให้การออกไปลงทุนในต่างประเทศเป็นทางออกที่ดีกว่า อีกทั้งการออกไปต่างประเทศก็เพื่อต้องสร้างฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนแรงงานราคาถูก เป็นการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้แก่ตัวเองด้วย
- กระจายความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพ จากที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันความไม่แน่นอนทั้งเรื่อง ภัยธรรมชาติ การเมือง และเศรษฐกิจของแต่ละประเทศค่อนข้างอ่อนไหวมาก ทำให้การกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยต่างก็ออกไปลงทุนสร้างฐานการผลิตยังต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งตัวตัวบริษัทเองและเป็นผลดีในทางอ้อมให้แก่ประเทศในการช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงถ้าหากประเทศเกิดวิกฤติขึ้น
- แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การเข้าไปลงทุนในต่างประเทศบริษัทไทยสามารถเรียนรู้งาน เทคนิค กระบวนการผลิต การบริหารงานจากต่างประเทศซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สิ่งที่จะได้กลับมาคือ ประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากภายในประเทศทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้พัฒนา ปรับปรุงการบริหารงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังนำความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาเผยแพร่ให้กับประเทศได้อีกด้วย - เทอร์ร่า บีเคเค
บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก