5 ธุรกิจร่วมทุนสู่ยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตและยิ่งใหญ่
สำหรับการดำเนินธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงด้านความคาดหวังของผู้บริโภค แทบทุกองค์กรที่ต้องการก้าวไปยืนแถวหน้าทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก มักเลือกใช้ กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Venture) เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่จุดหมายดังกล่าว กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Venture) คือ การสร้างความร่วมมือส่งเสริมความแข็งแกร่งยั่งยืนของธุรกิจรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยการจัดตั้ง "พันธมิตรร่วมทุน" คือกระบวนการที่กิจการตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปร่วมมือกันจัดตั้งกิจการหรือบริษัทใหม่ขึ้นมา แยกตัวออกจากกิจการเดิมเพื่อดำเนินธุรกิจในขอบเขตเฉพาะด้าน โดยตกลง"ทำสัญญา" ระหว่างกันไว้ มีพันธกิจหลักร่วมกันลงทุนและผสมผสานทรัพยากรต่างๆ ทั้งทางด้านเงินทุน บุคลากร เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และระบบการดำเนินงานต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงทั้ง "วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินการ" รวมทั้ง "สัดส่วนการถือหุ้น" "หน้าที่ความรับผิดชอบและสิทธิ" และ "การจัดสรรผลประโยชน์" อันเกิดจากการดำเนินการนั้น สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่นั้นมีเหตุผลใดบ้างถึงยอมแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันจัดตั้ง ธุรกิจร่วมทุน" ??
การร่วมทุนเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร: “บมจ.แสนสิริ” กับ “บมจ.บีทีเอส” ในปี 2558
แนวคิด : ความร่วมมือทางธุรกิจในการเป็น Exclusive Partner เพื่อร่วมกัน พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความเป็นมา“แสนสิริ”- เป็นผู้นำระดับบิ๊ก 5 ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยที่มีความหลากหลายในการพัฒนาทั้งโครงการแนวราบ-แนวสูง ในทุกเซ็กเมนต์ ได้ร่วมกันจัดตั้งธุรกิจร่วมทุน กับ
- ผู้นำธุรกิจระบบขนส่งมวลชนให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที รวมทั้งธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน (out-of-home media) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จดทะเบียนโดยใช้ชื่อ
- โดยทั้งสองบริษัท ร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 : 50 จุดมุ่งหมายหลักเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่แข็งแกร่งของ ทั้งคู่ในการพัฒนาคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าทั้งสายปัจจุบันและในอนาคต
- ลดต้นทุน และแบ่งปันทรัพยากรภายใน :ด้วยกลุ่มบีทีเอสในฐานะที่เป็นผู้เดินรถไฟฟ้า BTS ตั้งแต่ปี 2542 มีการสะสมที่ดินแลนด์แบงค์มาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสำหรับรถไฟฟ้าหลากสีที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใน 5 ปีนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทางกลุ่มบริษัทร่วมทุนนี้ จะสามารถช่วงชิงทำเลหรือ รู้ทำเลที่ดีที่สุด ก่อนใคร
- เพิ่มส่วนต่างกำไร :บมจ.แสนสิริ มี ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งในบริษัทที่สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าคู่แข่งในทำเลเดียวกัน เมื่อสามารถมองหาที่ดินได้ก่อนคนอื่นต้นทุนการพัฒนาย่อมต่ำลง และศักยภาพของตราสินค้าที่สูงกว่าคู่แข่งขันจึงสามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าคู่แข่งขันรายอื่น ผลประกอบการด้านกำไรจึงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นไปตามลำดับ
- เพิ่มศักยภาพทางการตลาด : กลุ่มบีทีเอส และ แสนสิริ นั้นมีการดำเนินธุรกิจอื่นที่ซ้อนทับกัน อาทิ ร้านอาหาร สนามกอล์ฟ อาคารสำนักงาน แต่เมื่อเกิดการรวมตัวกันทั้งสองบริษัท ก็มีแนวโน้มที่จะ แบ่งปันข้อมูลลูกค้าหรือขยายฐานลูกค้า ของกันและกันได้อย่างครบวงจร ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
การร่วมทุนเพื่อขยายช่องทางการตลาด : อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ & อิออน กรุ๊ป(มาเลเซีย)ในปี 2556
แนวคิด : การร่วมทุนเป็นกลยุทธ์การทำธุรกิจ เมื่อต้องการรุกตลาดต่างประเทศ ขยายช่องทางการตลาด ความเป็นมา
- เมื่อปี 56
บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด
- ได้ร่วมทุนกับ
บริษัท อิออน คอมพานี มาเลเซีย เบอร์ฮาด
- จัดตั้งบริษัทร่วมทุน
อิออน อินเด็กซ์ ลิฟวิ่ง (AEON INDEX LIVELING SDN. BHD.)
- เพื่อขยายช่องทางการตลาดค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านในประเทศมาเลเซีย โดยสัดส่วนหุ้นการถือครอง อินเด็กซ์ฯ 30% อิออน 70% โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือการ
สร้างแบรนด์ Index Living Mall สู่การเป็น Regional Brand เต็มรูปแบบ
- เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ผสมจุดเด่นกลายเป็นจุดแข็ง : AEON มีฐานการเงินที่แข็งแกร่ง และเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกที่มีสาขาครอบคลุมอันดับ 1 ทั่วประเทศมาเลเซีย จึงมีความเข้าใจความต้องการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคชาวมาเลเซียได้อย่างดี ขณะที่ Index มีจุดแข็งด้านความสามารถในการผลิต และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศอย่างยาวนาน
- สร้างโอกาสในการขยายตลาด : โอกาสการลงทุนในตลาดค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ในมาเลเซียประสบความสำเร็จมีอยู่สูงเนื่องจาก คู่แข่งยังมีน้อย รวมถึงอัตราการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในมาเลเซีย จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้การลงทุนอุตสาหกรรมนี้มีความน่าสนใจ
- เพิ่มศักยภาพการผลิต : เพิ่ม ความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนต่อหน่วย (Economies of Scale) /สร้างผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น (Profit Advantage) ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้ง 2 ฝ่าย
สำหรับสาขาแรก ขนาดพื้นที่ 6,800 ตารางเมตร (ตร.ม.) ณ ไอโอไอ ซิตี้ มอลล์ เมืองปุตราจายา ศูนย์กลางการบริหารราชการแห่งใหม่ของมาเลเซีย ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี จากปัจจัยสำคัญการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ ตั้งเป้ายอดขายสาขาแรกไว้ที่ 350 ล้านบาทนอกจากนี้ ได้ เตรียมเปิดสาขาที่ 2 ที่เมืองชาอารับ รัฐสลังงอร์ บนพื้นที่ 5,000 ตร.ม.คาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาส 2 ของปี 58
การร่วมทุนเพื่อขยายฐานลูกค้าต่างประเทศ : อิชิตันกรุ๊ป & อิพีที อาทรี่ แปซิฟิค(อินโดนีเซีย) ในปี 2557
แนวคิด : ธุรกิจเติบโตได้ ต้องมีการขยายฐานลูกค้า โดยการเปิดตลาดใหม่ในต่างประเทศด้วยการร่วมทุนกับธุรกิจสัญชาตินั้นๆ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ธุรกิจเลือกใช้ ความเป็นมา
- ปี 2557
บริษัท อิชิตันกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- ร่วมทุนกับ
บริษัท พีที อาทรี่ แปซิฟิค จำกัด
- หรือ PT Atri Pasifik (เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่าง บจ. พีที ซิกมันทรา อัลฟินโด้ ประเทศอินโดนีเซีย และ บจ. มิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่ น) จัดตั้งบริษัทร่วมทุน
บริษัท อิชิตัน อินโดนีเซีย จำกัด
- สัดส่วนถือหุ้น 50:50 วัตถุประสงค์เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มชาพร้อมดื่มแบรนด์ “อิชิตัน” ในประเทศอินโดนีเซีย
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เพิ่มศักยภาพธุรกิจจากจุดเด่นบริษัทร่วมทุน :“พีที อาทรี่” ธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายรายใหญ่ มีร้านคอนวีเนียนสโตร์มากกว่า 10,000 สาขาแล้ว และอีก 6 ปีจะเพิ่มเป็น 20,000 แห่ง จึงสามารถนำ “อิชิตัน” เข้าสู่ช่องทางตลาดได้ทั้งโมเดิร์นเทรด, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านย่อยทั่วไปได้อย่างไม่ยาก
- สินค้าตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า : ประเทศอินโดนีเซียมีข้อสนับสนุนการขยายธุรกิจชาพร้อมดื่มหลายข้อตามปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เอื้อประโยชน์ แก่ธุรกิจ เช่น ประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรอากาศร้อนตลอดทั้งปี และมีวัฒนธรรมดื่มชาเป็นประจำคู่มื้ออาหารและกิจกรรมอื่น เป็นต้น
ภายในไตรมาส 2/2558 เครื่องดื่มอิชิตันมีกำหนดวางจำหน่ายสินค้าเครื่องดื่มอิชิตันสู่ตลาดประเทศอินโดนิเซีย ผ่านช่องทางการจำหน่ายของร้านค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อของพันธมิตร ภายใต้แบรนด์ Alfamart และ Lawson ซึ่งปัจจุบันมีถึง 10,000 สาขา ทั่วประเทศอินโดนีเซีย โดยตั้ง เป้าหมายยอดขายปีนี้ 1,000 ล้านบาท
การร่วมทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ : Jaguar Land Rover & Chery Automobiles ในปี 2555
แนวคิด : การร่วมทุนเป็นการนำเอาทรัพยากร ,ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ มาแลกเปลี่ยนระหว่างกันเพื่อพัฒนาศักยภาพสินค้า เพื่อตอบสนองกลุ่มตลาดใหม่ สร้างโอกาสทางธุรกิจ ความเป็นมาJaguar Land Rover(JRL)- ผู้ผลิตรถยนต์หรูสัญชาติอังกฤษร่วมทุนกับ บริษัท
- สัญชาติจีนถือสัดส่วนเท่ากัน 50 : 50 จัดตั้งบริษัทร่วมทุน
- เพื่อประกอบธุรกิจยานยนต์ในรูปแบบใหม่ระดับ premiumที่ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าชาวจีนเป็นสำคัญ มีการก่อสร้างโรงงานใหม่ใน Changshu ประเทศจีน พร้อมเริ่มทำการผลิตในปี 2557
- แลกเปลี่ยนทรัพยากรและประสบการณ์ร่วมกัน : Chery Automobiles เชี่ยวชาญและเข้าใจสินค้าตอบโจทย์ตลาดในจีนอย่างดี ขณะที่ Jaguar Land Rover ผู้ผลิตรถยนต์มาตรฐานยอดเยี่ยม ย่อมก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ดีและได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด
- Chery Automobiles :เริ่มเข้าสู่วงการรถยนต์ในประเทศจีนตั้งแต่ 2542 ก้าวมาอยู่ระดับแนวหน้าในประเทศจีนได้ในปี 2544 พัฒนาสู่การเป็นผู้ส่งออกรถยนต์ปี 2546 เป็นต้นมา ปัจจุบันส่งออกกว่า 15 ประเทศทั่วโลก
- Jaguar Land Rover : เริ่มเข้าตลาดประเทศจีนในปี 2553 หลังจากนั้น 2 ปี ได้ก้าวกระโดดครองส่วนแบ่งการตลาดได้อย่างรวดเร็ว ราว 73 หมื่นคัน เพิ่มกว่า 74%ใน ปี 2555
การร่วมทุนเพื่อเพิ่มอำนาจการผลิต : Siemens AG &Nokia Corp ในปี 2549
แนวคิด : บริษัท Nokia และ Siemens เป็นผู้ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ทั้งคู่ มีจุดมุ่งหมายหลักที่จะร่วมมือกันเพื่อเพิ่มอำนาจการผลิต (Economy of Scale) เป็นหลัก ความเป็นมา
- ปี 2549
Siemens AG
- ประเทศเยอรมัน ร่วมทุนกับ
Nokia Corp
- ประเทศฟินแลนด์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน
Nokia Siemens NetworksU.S. (NSN)
- สำนักงานใหญ่อยู่ที่ Greater Helsinki, Finland มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและการแข่งขันกับผู้ผลิตต้นทุนต่ำอย่างผู้ผลิตจีน (Huawei) บริษัท NSN.เริ่มดำเนินงานอย่างเต็มตัว เดือนเมษายน 2550 และได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่นั้นมาใน150 ประเทศ บริษัท NSN เคยได้รับการจัดอันดับติด 1 ใน 4 ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุด รองจาก Ericsson, Huawei และ Alcatel Lucent
ประโยชน์ที่ได้รับ การร่วมทุนครั้งนี้ทำให้ Siemens AG & Nokia Corp มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถจัดหาทรัพยากรที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ
- ปี 2551 : NSN. ได้ครอบครอง บริษัท Israeli company Atrica ที่ผลิต carrier-class Ethernet ผู้ให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับระบบขนส่งรถไฟใต้ดิน และบริษัท Apertio ที่ดูแลด้าน UK-based mobile network ทั้งหมดนี้ ทำให้NSN. ได้ฐานลูกค้าที่อยู่ในเครือข่ายOrange, T-Mobile, O2, Vodafone และ Hutchison 3G
- ปี 2552 : Siemens ส่อแววฐานะการเงินภายในอ่อนแอ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนเริ่มไม่มีอำนาจควบคุมการเงินใน NSN จนท้ายที่สุดก็ต้องถอนตัวออกจากการร่วมทุนครั้งนี้ไป
- ปี 2553 : NSN. ได้ครอบครองส่วนของอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายรวมทั้งบุคคลากรราว 6,900 คน ของบริษัท Motorola
- ตั้งแต่ปี 2554 - 56 : NSN. ประกาศปรับโครงสร้างทางธุรกิจ และปลดพนักงานกว่า 17,000 คน เพื่อลดรายจ่ายบริษัทและพยุงให้บริษัทสามารถครองตัวอยู่ได้ และเริ่มปรับตัวดีขึ้นในเวลาต่อมา
ปี 2556 Nokia ได้ถือครองสัดส่วนครบ 100% จาก Siemens AG อย่างเต็มตัวพร้อม Rebranding เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Nokia Networks ในปี 2557 และท้ายที่สุดในเดือนเมษายน ปี 2557 ก็ได้ควบรวมกิจการอีกครั้งกับทาง Microsoft
ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การร่วมทุนที่ประสบความสำเร็จ มักมาจาก 2 ธุรกิจที่มี ความแข็งแกร่งเท่าเทียมกันทั้งเงินทุนและทรัพยากรภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันเพื่อการขยายการเติบโตทางธุรกิจให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ซึ่งกรอบเวลาบางครั้งก็ยาวนานจนถึง 10 ปี ดังนั้นหากในระหว่างทางผู้ร่วมทุนรายใดประสบปัญหาภายใน หรือเริ่มอ่อนแอลงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพ และความสามารถในการเติบโตของกิจการร่วมทุนนั้นๆ จนอาจถึงขึ้นภาวะล่มสลายทางธุรกิจได้
บทสรุปความสำเร็จของ “การร่วมทุน”
- การเติบโตอย่างรวดเร็วยากที่จะปฎิเสธการหาคู่พันธมิตร
- เลือกผู้ร่วมทุน ที่มีศักยภาพทางธุรกิจทัดเทียมกัน
- ชัดเจน เรื่องข้อตกลงผลประโยชน์ทางการเงิน
- เคารพในจุดแข็งและจิตวิญญาณของกันและกัน
- แลกเปลี่ยนทรัพยากรเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
บทความกรณีศึกษาทางธุรกิจ Case Study โดย ทีมงาน เทอร์ร่า บีเคเค