คัมภีร์เจ้าของกิจการ
การก้าวสู่การเป็น “ผู้ประกอบการ” นั่นคือ การเป็นผู้ยอมรับ ‘ความเสี่ยง’ โนโลกของธุรกิจการเงิน ความเสี่ยงที่ว่านั้นมีความเป็นไปได้ทั้ง ‘กำไร’ และ ‘ขาดทุน’ ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเสี่ยงนั้นก็คือ ‘เวลาและเงินออม‘ เพราะเมื่อกิจการไม่ดี ทั้งเวลาและเงินออมที่เก็บหอมรอมริบมาอย่างยากลำบากก็จะต้องสูญเสียไป แต่ในทางกลับกันหากกิจการเป็นไปด้วยดี ผู้ประกอบการก็จะได้รับผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ เพื่อการเข้าสู่ความพร้อมในการเป็น “ผู้ประกอบการ” มี 5 เรื่องหลักที่คุณต้องตรวจสอบและที่คุณต้องเตรียมตัว หรือต้องรู้ มาแนะนำดังนี้ 1. วินิจฉัยตัวเอง คุณมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบการแล้วหรือไม่? ตอบคำถามเหล่านี้
คุณตั้งใจที่บรรลุความสำเร็จให้ได้มากกว่าที่คาดหวังไว้หรือไม่?
คุณยินดีทำงานมากกว่าวันละ 10-12 ชั่วโมงติดต่อกันแล้วหรือไม่?
คุณพร้อมจะเอาเงินทุนของตัวเองมาเสี่ยงแล้วหรือไม่?
คุณมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในการสร้างธุรกิจ ด้วยการเผชิญงานหนัก แม้โอกาสของความสำเร็จจะมีไม่มากนักได้หรือไม่?
คุณพร้อมที่จะเผชิญศัตรูที่มีอำนาจมากกว่าหรือไม่?
2. การสร้างตัวแบบทางธุรกิจและกลยุทธ์ คือ การตัดสินใจทางธุรกิจของแหล่งที่มาของรายได้ ต้นทุนของกิจการ และปัจจัยแห่งความสำเร็จ
แหล่งที่มาของรายได้เงินจำนวนนี้ได้มาจากอะไรบ้าง ยอดขาย ค่าบริการ ค่าโฆษณา อื่นๆ
สิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุนอะไรคือต้นทุน? ค่าแรง วัตถุดิบที่ซื้อมาเก็บไว้ เชื้อเพลิง
ขนาดของการลงทุน คือการลงทุนที่ใช้เพื่อตั้งธุรกิจเป็นจำนวนเท่าไหร่? รวมทั้ง เงินทุนหมุนเวียน ที่ทำให้ธุรกิจดำเนินงานต่อไปได้ด้วย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ อาทิ ความสามารถในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหญ่ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. การเติบโตของกิจการ โดยคุณต้องถาม 3 คำถามนี้กับตัวเอง
กลยุทธ์ที่ใช้มีความยั่งยืนหรือไม่? มีสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจจนทำให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งวัดผลจาก “การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของรายได้” นั่นเอง
มีความได้เปรียบที่เป็นเอกลักษณ์ อันนำไปสู่ความสำเร็จที่จะขยายเข้าไปสู่ตลาดอื่นได้หรือไม่? โดยตลาดอื่นนั้นอาจจะเป็นภูมิภาคอื่นที่คุณยังไม่ได้ไปจัดจำหน่าย หรือปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้มีความละเอียดหรือสามารถแยกประเภทผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น อาทิ รส กลิ่น สี เป็นต้น
การขยายขนาดของธุรกิจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่?โดยการสร้างการเติบโตของยอดขาย เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะธุรกิจบริการ คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจ้างคนที่มีคุณสมบัติ หรือ “จ้างคนเก่ง” เข้ามาเรื่อยๆถ้าหวังที่จะเติบโต 4. ทำความเข้าใจงบการเงิน เพราะเป็นเอกสารสำคัญสำหรับธุรกิจ ด้านฝ่าย "ทีมบริหาร" ก็จะเอามาใช้ประเมิณผลปฏิบัติงาน ส่วน "ผู้ถือหุ้น" จะติดตามดูว่าเงินลงทุนของตนได้รับการบริหารดีเพียงใด และสำหรับ ‘ผู้ลงทุนภายนอก” ก็จะใช้ดูว่ามีโอกาสหรือมีความเหมาะสมที่ควรจะเข้าไปลงทุนด้วยหรือไม่ ทั้ง งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด นอกจากนั้น ควรทำความเข้าใจ “อัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของคุณด้วย”
งบดุล ทำไมต้องดุล ? เรื่องราวงบการเงินที่เคยได้ยินได้ฟังกันเป็นมาบ้างนั้น มักมี 3 ประเภทหลัก คือ งบดุล, งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด ซึ่งงบการเงินแต่ละประเภท ก็มีรูปแบบเฉพาะตัว แสดงหน้าที่ต่างกัน สำหรับงบดุลนั้น มักเป็นที่จดจำกันว่า
5. เวลาแห่งการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะการจะเติบโตต่อไปจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนเพิ่มเติม เพื่อกระจายความมั่งคั่ง เพื่อนำพาธุรกิจให้ขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น หรือเพื่อลองทำสิ่งใหม่ๆ โดยมี 2 วิธีการ คือ การขายกิจการ โดยเสนอขายหุ้นแก่สาธารณชน (IPO) และ การควบรวมและซื้อกิจการ (Acquisitions) เพื่อมุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจหลัก เพื่อประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงขึ้น และทำให้การดำเนินงานมั่นคง
มาทำความรู้จักหุ้น IPO กันเถอะ ถ้ากองทัพต้องเดินด้วยท้องเช่นเดียวกันธุรกิจที่ต้องเดินด้วยเงินทุนถ้าธุรกิจขาดเงินทุนขาดสภาพคล่องก็เท่ากับว่าธุรกิจไม่สามารถเดินต่อไปได้ เงินทุนจึงสำคัญ แล้วจะทำอย่างไรให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ และสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น
การเริ่มทำธุรกิจด้วยตัวคุณเองนั้น มีทั้ง "โอกาส" มี "ความก้าวหน้า" และ "ความเสี่ยงต่อความล้มเหลว" ควบคู่กันไป ดังนั้น ทุกกิจกรรมและทุกๆการตัดสินใจที่คุณทำเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง คุณพึงต้องมีทั้ง "ความรู้รอบด้าน" และ "ความมีสติที่ต้องเผชิญกับปัญหาด้วย"
5 ธุรกิจร่วมทุนสู่ยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตและยิ่งใหญ่ สำหรับการดำเนินธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ และความเปลี่ยนแปลงด้านความคาดหวังของผู้บริโภค แทบทุกองค์กรที่ต้องการก้าวไปยืนแถวหน้าทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก มักเลือกใช้ กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Venture)
อ้างอิงข้อมูลจาก Harvard Business Essentials บทความโดย เทอร์ร่า บีเคเค